Risk/Reward Ratio คืออะไร เปรียบเทียบความคุ้มค่าของเงินลงทุนด้วย RR

 

Risk/Reward Ratio คืออะไร เปรียบเทียบความคุ้มค่าของเงินลงทุนด้วย R/R Ratio

เทรดเดอร์หลาย ๆ ท่านคงจะเคยได้ยินมาแล้วไม่มากก็น้อยกับคำว่า “Risk/Reward Ratio” ซึ่งบางครั้งคนเรียก Reward to Risk Ratio ก็มี แล้วมันคืออะไร บทความนี้เรามาทำความรู้จักกับมันไปพร้อม ๆ กันครับ

Risk/Reward Ratio คืออะไร

Risk/Reward Ratio (R/R Ratio) หรือ อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน คือ หนึ่งจากหลาย ๆ แนวคิดที่มุ่งเน้นในการบริหารความเสี่ยงของการซื้อขายครับ R/R Ratio จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถประเมินผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขาย คำนึกถึงผลลัพธ์ในกรณีที่เทรดเสียนั่นเอง

นอกจากการคำนวณ Lot size ที่เหมาะสมแล้ว R/R Ratio เป็นเทคนิคลดความเสี่ยงที่ดีตัวหนึ่งในฐานะขององค์ประกอบของกลยุทธ์การเทรด และมันยังเป็นดั่งตัวชี้วัดความสำเร็จในการเทรดระยะยาวของเทรดเดอร์อีกด้วย

หากใครยังไม่ค่อยเข้าใจ Ratio หรือ อัตราส่วนตรงนี้ ให้ลองนึกถึงระยะ Stop Loss (SL) และ Take Profit (TP) ดูครับ สำหรับเทรดเดอร์แล้ว กลยุทธ์ที่กำหนด SL, TP ที่ชัดเจนสามารถรู้ R/R Ratio ได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • TP = 1,000 points
  • SL = 500 points

สัดส่วนระหว่าง TP กับ SL มีค่าเท่ากับ 2 1 ใช่ไหมครับ ซึ่งค่านี้ก็หมายถึงค่า R/R Ratio เช่นกัน เพราะนัยยะของ R/R Ratio เป็นการสื่อความหมายว่า หากเราเทรด 1 ครั้งมีความเป็นไปได้ว่า ถ้าเราชนะเราจะมีกำไร 2 หน่วย ในขณะที่ถ้าเราแพ้เราจะขาดทุน 1 หน่วยนั่นเองครับ

หากยังไม่ค่อย Get ผมจะลองยกมาให้ดูกันอีก 1 ตัวอย่างครับ -> หากคุณกำหนดว่า กลยุทธ์การเทรดของคุณควรจะมีกำไรเป็น 3 เท่าของความเสี่ยง นั่นหมายความว่า Reward = 3 ใรขณะที่ Risk = 1 ดังนั้น R/R Ratio จึงน่าจะเป็น 3 1 แล้ว TP, SL ความเป็นเท่าไหร่นะ ลองเดากันดูครับ… ถูกต้องครับมันควรจะเป็น

  • TP = 1,500 points
  • SL = 500 points

วิธีคำนวณ R/R Ratio

จากเนื้อความข้างต้นหากคุณเข้าใจแล้ว คุณคงจะเดาวิธีการคำนวณกันได้ไม่ยากใช่ไหมครับ สมการของมันจริง ๆ แล้วจะมีดังนี้ครับ

R/R Ratio = ศักยภาพที่จะทำกำไร / ศักยภาพที่จะขาดทุน (สมการที่ 1)

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเข้าเทรด อาจจะคาดหวังว่ากำไรที่จะได้ควรเป็น $1,500 และถ้าขาดทุนเราก็ยอมรับได้ที่ $500 ดังนั้น R/R Ratio ก็ควรจะเป็น $1,500 / $500 = 3 1 นั่นเองครับ

รูปที่ 1 ตัวอย่างการคำนวณ Risk/Reward Ratio

WinRate คืออะไร

WinRate หรือ อัตราการชนะ คือ อัตราในหน่วยเปอร์เซ็นต์ที่บ่งชี้ว่าการเทรดที่ชนะจากการเทรดทั้งหมดเป็นเท่าไหร่ WinRate นี้เองสามารถบอกได้ถึงความน่าจะเป็นที่เราจะสามารถทำกำไรในตลาด หรือ ขาดทุนจากเทรดในตลาด forex ครับ ซึ่งเราสามารถคำนวณได้ตามสมการที่ 2 ได้เลยครับ

WinRate = (จำนวนไม้เทรดที่ชนะ / จำนวนไม้เทรดทั้งหมด) x 100 (สมการที่ 2)

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเทรดไปทั้งหมด 100 ไม้ แล้วคุณเทรดชน TP ไป 75 ไม้ นั่นหมายความว่า WinRate ของคุณจะเท่ากับ (75/100) x 100 => 75%

ความสัมพันธ์ระหว่าง R/R Ratio กับ Winrate

แล้ว R/R Ratio กับ Winrate เกี่ยวข้องกันยังไงล่ะ? ปกติแล้วเรานิยมจับเจ้าสองตัวนี้มาพิจารณาร่วมกันครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าระบบเทรดของคุณมี R/R Ratio อยู่ที่ 3 1 นั่นคือคุณตั้งระยะ TP มากกว่า SL ประมาณ 3 เท่า แล้วมี WinRate อยู่ที่ 50% มาดูกันครับว่า ถ้าเทรด 10 ครั้ง คุณจะกำไรหรือขาดทุน

ครั้งที่เทรด แพ้ ชนะ
1 $1,000
2 $3,000
3 $1,000
4 $3,000
5 $1,000
6 $3,000
7 $1,000
8 $3,000
9 $1,000
10 $3,000
รวม $5,000 $15,000

จากตัวอย่างข้างต้นเราจะเห็นได้เลยครับว่า แม้ว่าเราจะมี WinRate แค่ 50% แต่เราก็กำไรได้ไม่ยากเลย เพราะระยะรวมของ TP มันเยอะกว่า SL ตั้ง 3 เท่า

รูปที่ 2 แสดงกราฟ R/R Ratio VS WinRate ที่บ่งบอกได้ว่า เมื่อ R/R Ratio เพิ่มขึ้น อัตราการชนะจะลดลง สมการเส้นแนวโน้มและค่า R2 ช่วยยืนยันความสัมพันธ์นี้และแสดงให้เห็นถึงความแม่นยำของเส้นแนวโน้มในการทำนายข้อมูล

เทรดเดอร์บางท่านบอกว่ายิ่งเยอะยิ่งดีใช่ไหมครับ ผมต้องบอกว่าไม่เสมอไปครับ เพราะถ้าคุณมี R/R Ratio ที่ต่ำ ๆ หรือ มีระยะ TP ที่สั้นกว่า SL มาก ๆ แล้วล่ะก็ขาดทุนแน่ครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมี WinRate 70% และมี R/R Ratio อยู่ที่ 1 3 มันก็จะออกมาประมาณนี้ครับ

ครั้งที่เทรด แพ้ ชนะ
1 $1,000
2 $3,000
3 $1,000
4 $1,000
5 $1,000
6 $3,000
7 $1,000
8 $1,000
9 $1,000
10 $3,000
รวม $9,000 $8,000

จากตารางด้านบน เราจะเห็นว่า ขนาดเทรดชนะมากถึง 7 ครั้งแต่แพ้แค่ 3 ครั้งกลับทำให้ขาดทุนไปตั้ง $1,000

ยกตัวอย่างอีกซักหน่อยครับ รอบนี้เราจะลองมาใช้คณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกหน่อย โจทย์แรกคือ หากใช้กลยุทธ์ที่มี R/R Ratio = 3 1 และมี WinRate = 30% เทรดเป็นจำนวน 100 ครั้ง เราก็จะได้ประมาณนี้ครับ

  • ชนะ 30 ครั้ง * กำไร 3 หน่วย = 90 หน่วย
  • แพ้ 70 ครั้ง * ขาดทุน 1 หน่วย = 70 หน่วย
  • กำไรรวม = 90 หน่วย – 70 หน่วย = 20 หน่วย

อีกหนึ่งตัวอย่างนะครับ โจทย์ต่อมา หากใช้กลยุทธ์ที่มี R/R Ratio = 3 1 และมี WinRate = 70% เทรดเป็นจำนวน 100 ครั้ง เราก็จะได้ประมาณนี้ครับ

  • ชนะ 70 ครั้ง * กำไร 3 หน่วย = 210 หน่วย
  • แพ้ 30 ครั้ง * ขาดทุน 1 หน่วย = 30 หน่วย
  • กำไรรวม = 210 หน่วย – 30 หน่วย = 130 หน่วย

สรุปสมการดังกล่าวก็คงจะประมาณนี้ครับ


(WinRate*Reward) – (LossRate*Risk) = Profit/Loss (สมการที่ 4)

รูปที่ 3 แสดงกราฟ Joint Distribution of Win Rate and Risk-Reward Ratio บ่งชี้ได้ว่า ชุดข้อมูลนี้มีแนวโน้มที่จะได้อัตราการชนะปานกลางพร้อมกับอัตราส่วนความเสี่ยง-ผลตอบแทนที่ค่อนข้างต่ำ การมีอัตราการชนะสูงพร้อมกับอัตราส่วนความเสี่ยง-ผลตอบแทนสูงนั้นหาได้ยาก ซึ่งบ่งบอกว่าการปรับสมดุลระหว่างสองปัจจัยนี้เป็นเรื่องท้าทายในทางปฏิบัติ

นอกจากนี้ ผมจะมีอีกหนึ่งทางเลือกที่จะนำมาใช้กันได้ครับ การจะคำนวณผ่าน Survivor rate แบบนี้ครับ (สมการนี้ไม่มีเผยแพร่ที่ไหนนะครับ ดังนั้นมันพรีเมียมมากๆ)

Survivor rate = [(TP*Winrate) – (SL*(100% – winrate))]/100 (สมการที่ 5)

เมื่อ Survivor rate มากกว่า 0.1 จึงจะมีโอกาสรอด ยิ่งมีค่านี้มากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสที่จะชนะตลาด forex ได้มากขึ้นเท่านั้น

ส่วนใหญ่แล้ว การที่จะหากลยุทธ์ที่ WinRate ที่สูง ๆ มาพร้อมกับ R/R Ratio สูง ๆ เป็นสิ่งที่ยากมาก ๆ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

ตัวอย่างการใช้ R/R Ratio มาคำนวณ Martingale multiplier

Martingale คือ ทฤษฎีการบริหารเงินบนหน้าตักของเราอีกหนึ่งรูปแบบ ซึ่งเขาจะอาศัยหลักการ “ความน่าจะเป็น” ในกลุ่มนักพนันจะเรียกว่า “การแทงทบ” นั่นหมายความว่า หากเราเทรดแพ้ในครั้งที่ 1 เราจะต้องเพิ่ม Lot size ในการเทรดครั้งต่อไป

การใช้ Martingale มักมีเส้นบาง ๆ กั้นเอาไว้ระหว่างการลงทุน / การเทรด / การพนัน เสมอ ซึ่งตีความได้ง่าย ๆ ดังนี้

การลงทุน

  • ลงเงินเพื่อหวังจะได้กำไรกลับมา
  • Focus กำไรระยะยาว
  • วิเคราะห์ตลาดด้วยข้อมูลต่าง ๆ

การเทรด

  • เข้า Buy / Sell อย่างระมัดระวัง
  • Focus ที่กำไรระยะกลาง
  • ตัดสินใจทำอะไรบนพื้นฐานของสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาด และองค์ความรู้ในการเทรด

การพนัน

  • หวังรวยชั่วข้ามคืน
  • เข้าซื้อขายไว และไร้หลักการ
  • หวังพึ่งดวง และลาภลอย

ย้อนกลับมาที่หลัก Martingale ครับ อย่างผมได้บอกไปเบื้องต้นว่า หากเทรดครั้งที่ 1 แพ้ ในการเทรดครั้งต่อไปเราจะต้องเพิ่ม Lot size ใช่ไหมครับ ซึ่งเราจะเพิ่มเท่าไหร่ล่ะ? คูณ 2, คูณ 3, คูณ 4 ไปเลยดีไหม?

ส่วนตัวคิดว่าไม่ดีแน่ครับ เพราะถ้าต้นทุนเราไม่สูงพอ การเพิ่ม Lot size แบบมีสิทธิ์ทำให้เราพอร์ตแตกได้ง่าย ๆ เลย ดังนั้นเราดูสมการที่น่าสนใจกันครับ

ตัวคูณ martingale = (Risk / Reward ) + 1 (สมการที่ 6)

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมี R/R Ratio = 1.4 1 นั่นหมายความว่าคุณมี Risk 1 และมี Reward 1.2 เมื่อจับตัวแปรต่าง ๆ แทนค่าลงไปในสมการประมาณนี้ครับ; ตัวคูณ martingale = (1 / 1.4 ) + 1 => 1.7 -> เพียงเท่านี้คุณก็สามารถบริหารเงินบนหน้าตักของคุณว่าเทคนิค Martingale แบบนักลงทุน นักเทรด ได้แล้วครับ

รูปที่ 4 การใช้ Martingale แบบนักลงทุน และ นักเทรด คือ การคำนวณหาค่า martingale multiplier ก่อนแล้วจึงทำการคำนวณหาความเป็นไปได้ในการเทรด ซึ่งผมเองเป็นคนที่ขี้เกียจทำ Backtesting ด้วยมือ จึงเขียน EA ด้วยกลยุทธ์ของตัวเองแล้วทำการ Backtesting EA อีกทีนึง เพราะวิธีนี้ประหยัดเวลาได้มากครับ

สรุป

Risk/Reward Ratio คือ อัตราส่วนระหว่างความเสี่ยงต่อผลกำไรที่คาดหวัง ซึ่งเรานิยมจับมันมาพิจารณาร่วมกับ WinRate เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของกลยุทธ์เทรดที่จะโอกาสชนะในตลาด Forex หรือไม่ นอกจากนี้เรายังให้สมการที่พรีเมี่ยมในการปรับค่าตัวคูณ Martingale แบบนักลงทุนมืออาชีพอีกด้วย

อ้างอิง