มัธยมศึกษา Pivot  Point

Pivot Point

ชีวิตมัธยมช่างสั้นนัก นี่ก็เป็นบทสุดท้ายของช่วงมัธยมศึกษากันแล้ว ครับ เดี๋ยวเราปิดเทอมกันครับ หมายถึงเรียนซัมเมอร์นะครับ ฮ่า ก็วันนี้เป็นวันสุดท้ายอขงมัธยมเอาเครื่องมือลับที่เทรดเดอร์ชอบใช้ แต่ว่าไม่มีอยู่ใน Indicator ฟรีของ MT4 มันคือ Pivot Point มันคืออะไร ใช้อย่างไรเดี๋ยวเรามาดูกันครับ

 

ประโยชน์ของ Pivot Point

เทรดเดอร์มืออาชีพในตลาดใช้ Pivot Point ในการวิเคราะห์แนวรับแนวต้าน ซึ่งการใส่ Pivot Point เข้าไปจะปรากฏพื้นที่และการเคลื่อนไหว โดยมากแล้ว Pivot Point จะเปลี่ยนไปในแต่ละวัน ไม่เหมือนกัน  Pivot Point นั้นได้รับความนิยมพอสมควร ย้ำว่าพอสมควร เพราะว่ามันจับต้องได้ง่าย ถ้าหากเราจะบอกว่า Pivot Point จะคล้ายคลึงกับอะไร ผมขอแนะนำ Fibonacci Level

เพราะว่า คนหลายคนกำลังมองหาระดับราคาที่ช่วยในการวิเคราะห์ อ้าวแล้วอย่างนี้มันจะต่างอะไรกับ Fibonacci กันหล่ะ  ความต่างของ Pivot Point กับ Fibonacci คือ มีแนวทางการใช้เรื่องของการวัด Swing High และ Swing Low ในการคำนวณ ทำให้การคำนวณ Pivot Point นั้นไม่ว่าเทรดเดอร์คนไหนที่เป็นคนคำนวณก็จะได้ผลที่ไม่แตกต่างกัน

ขณะที่ Fibonacci ไม่ต้องพูดถึงเพราะว่า มันจะขึ้นอยู่กับหลักการและวิธีการ การเห็นรูปแบบราคาของเทรดเดอร์ทำให้ ระดับของ Fibonacci นั้นแตกต่างไปตามทัศนคติของเทรดเดอร์ การใช้ pivot Point ทำให้เทรดเดอร์จด ๆ จ้อง ๆ กับระดับราคา ซึ่งทำหน้าที่เหมือนแนวรับและแนวต้านเทรดเดอร์สามารถเลือกเทรดได้ 2 แบบ ได้แก่ การเทรดที่แกว่งอยู่ในกรอบราคาของ Pivot และการเทรดโดยใช้ Break Out ออกจากจุดของ Pivot Point

Pivot Point

ภาพที่ 1 แสดงตัวอย่าง Pivot Point

แล้ว Pivot Point คำนวณอย่างไร?

เมื่อทำความรู้จัก Pivot Point แล้วก็มาทำการคำนวณ Pivot Point ซะหน่อยเพราะว่า การใช้อะไรโดยที่ไม่เข้าใจที่มาก็จะทำให้เราพลาดอะไรไปสักอย่างหนึ่ง การคำนวณ Pivot Point นั้นไม่ได้มีความยุ่งยากซับซ้อน โดยเราสามารถคำนวณได้ดังต่อไปนี้

Pivot Point (PP) =  (High + Low + Close) / 3

เราก็จะได้ Pivot Point หรือราคา ณ จุดกึ่งกลางมา หลังจากนั้น เราก็ทำการคำนวณแนวรับและแนวต้านของราคาที่แต่ละจุด ซึ่งจะทำหน้าที่เหมือนแนวรับแนวต้านของราคา ดังนี้ แนวรับและแนวต้านแรกคำนวณได้ดังนี้

R1 = (2xPP)- LowS1 = (2xPP) – High

สำหรับแนวรับและแนวต้านที่ 2 คำนวณจาก

R2 = PP + (High – Low)S2 = PP – (High – Low)

สำหรับแนวรับและแนวต้านที่ 3 คำนวณจาก

R3 = High + 2 (PP – Low)S3 = Low – 2(High – PP)

เป็นต้น โดยที่บางครั้งเราก็จะเห็นมีถึงแนวรับ 4 ก็มี

จะเห็นว่า เราทราบจุดต่าง ๆ ทำให้การใช้งาน Pivot Point นั้นสามารถคำนวณกี่ครั้ง ๆ ก็เอาค่าเดิมออกมาได้อยู่ดีที่แตกต่างกับ Fibnoacci Level ที่มีระดับแตกต่างกัน แล้วเราจะใช้งานมันยังไง

การใช้งาน Pivot Point

การใช้งาน Pivot Point นั้นก็เหมือนกับ การใช้งาน Fibonacci Level โดยระดับต่าง ๆ ก็จะทำหน้าที่เหมือนแนวรับแนวต้าน โดยจะขออธิบายในรูปภาพต่อไปนี้

ระดับต่าง ๆ ของ pivot

ภาพที่ 2 แสดงระดับต่าง ๆ ของ pivot

สำหรับ Pivot point ที่แสดงเป็น Daily Pivot Point ซึ่งต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ระดับของ Pivot Point นั้นจะเปลี่ยนไปทุกวันครับ เพราะว่ามันมีการคำนวณใหม่ อย่างไรก็ตาม ในตัวอย่างนี้ผมก็ยึดเอาซะว่า เอาวันสุดท้ายในการสร้างระดับ ถ้าหากว่าเราใส่กราฟลงในกราฟ Daily มันจะไม่เห็นนะครับ เราต้องซูมลงมา Time Frame ต่ำ ๆ เช่น 1H เป็นต้น

ในกราฟเป็นกราฟค่าเงิน EURUSD ซึ่งเมื่อเราซูมเข้ามา เราจะเห็นว่า เส้นสีเหลืองทึบตรงกลางก็คือ Pivot Point นั่งเอง ขณะที่เส้นที่อยู่ต่ำลงไปก็คือ เส้น แนวรับที่ 1 ที่ 2 และแนวรับที่ 3 ตามลำดับ บางรายก็อาจจะมีถึง 5 แนวรับก็แตกต่างกันไป ขณะที่เส้นที่สูงกว่า Pivot Point ก็คือแนวต้านครับ ซึ่งก็มีอีก 3 ระดับเช่นกัน การใช้งาน เราสามารถประยุกต์ใช้ หลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้เป็นจุดกลับตัว

โดยเราจะต้องกำหนดช่วง เช่น ว่า ใช้ ระดับราคา S2 และ R2 ทำกรอบและให้ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ เมื่อราคามันต่ำจนถึงระดับ S2 ก็ให้ส่งคำสั่ง Buy และส่ง Stop loss ไว้ใกล้ ๆ กับ ระดับ S3 ขณะที่การส่งคำสั่ง Sell ก็สามารถส่งคำสั่ง Sell ไว้ที่ระดับ R2 แล้วส่ง Stop loss ไว้ใกล้จุด R3 ก็เหมือนกับการกำหนดกรอบราคาให้มันวิ่งนั่นแหละครับ

อย่างไรก็ตาม เราก็อาจจะใช้จุด S1 และ R1 ในการเทรด Break Out ก็ได้นะครับ ไม่ผิดกฏอะไร การเทรดรูปแบบไหนก็ตามก็ควรจะตัง stop loss เพราะว่าจะทำให้พอร์ทลงทุนของเราปลอดภัยมากขึ้น

ซึ่งเดี๋ยวผมอธิบายวิธีการประกอบในวีดีโอครับ ส่วน Indicator ผมได้แถมลิงค์ซึ่งมาจากนักพัฒนาของ Metacorp ผู้พัฒนา MT4 เชื่อใจได้แน่นอนครับ

ลิงคดาวน์โหลด คลิ๊ก