Pip คืออะไร บทเรียนเตรียมอนุบาล

Pip คืออะไร

คราวก่อนเราพูดถึง การคำนวณ Margin ไปแล้ว คราวนี้สิ่งที่เราต้องพูดถึงคือ Pip สำหรับมือใหม่แล้ว (ตอนผมเข้าตลาดมาใหม่ ๆ ก็เป็น)  Pip มันคืออะไรเป็นอะไรที่ต้องมานั่งถามแล้วมันทำงานยังไง จริง ๆ แล้วหลายคนไม่ให้ความสำคัญ มันก็แค่จุดทศนิยมอะไรทำนองนั้น แต่มันมีความสำคัญนะครับ สำหรับคนที่เข้าใจแรกเริ่ม แต่ว่า เดี๋ยวคุณอยู่ในตลาดไปนาน ๆ คุณก็รู้เองว่ามันคืออะไร เอาเป็นว่าบทความนี้เป็นบทความสำหรับมือใหม่ ฉะนั้นสิ่งที่เรียกว่า Pip นี่สำคัญแน่นอน

Pip คืออะไร

คนที่เข้ามาในวงการ Forex ใหม่ ๆ จะต้องเผชิญกับคำว่า Pip แล้วมาถามว่า Pip คืออะไร ทำกำไรได้ 10 pip หมายความว่าอย่างไร ความหมายของ Pip ก็คือ หน่วยของการเคลื่อนไหวของคู่เงิน ซึ่งจะมี 2 หน่วยสำหรับค่าเงิน คือ Pip และ Point โดย 1 Pip จะมีค่าเท่ากับ 10 Point โดยที่ Pip มีค่าที่ใหญ่กว่า Point นั่นเอง

ความคล้ายคลึงกันของ pip ก็เหมือนกับการที่เราซื้อข้าวสาร เช่น กิโลกรัมละ 30 บาท เมื่อราคามันเคลื่อนไหวขึ้นทีละ 1 บาท ก็เรียกว่า หน่วยนี้หละครับ เรียกว่าหน่วยเป็นบาท ถ้าสมมุติในตลาดหุ้น ราคาหุ้น N-Park เคลื่อนไหวจาก 0.03 บาท เป็น 0.04 บาท หรือ 1 สตางค์ นั่นเท่ากับหน่วยงของมัน ในตลาด Forex เช่นเดียวกัน การเคลื่อนไหวนี่ก็เรียกว่า Pip ครับ เดี๋ยวเรามาดูตัวอย่างในโปรแกรมเทรดกันดีกว่า

หน่วยค่าเงิน

ภาพที่ 1 แสดงหน่วยค่าเงิน

จากภาพข้างต้นจะเห็นว่า ราคาคู่เงิน EURUSD เท่ากับ 1.10415 การนับ pip นั้นจะนับที่ทศนิยม 4 ตำแหน่งและตำแหน่งที่ 5 เรียกว่า Point ซึ่งจะมีค่าน้อยที่สุด ถ้าหากตามภาพ เราก็จะพบว่าการเคลื่อนไหว 1 pip นั้นจะส่งผลเปลี่ยนแปลงต่อค่าเงินนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม นี่มันทศนิยม 5 ตำแหน่ง แล้วค่าเงินที่มีทศนิยม 3 ตำแหน่งหล่ะ ค่าเงินที่ว่าก็มีตัวอย่างคือ ค่าเงิน USDJPY ค่าเงิน GBPJPY ซึ่งจะมีทศนิยม 3 ตำแหน่ง เราก็จะใช้ตำแหน่งสุดท้ายแทน Point และตำแหน่ง 2 ตำแหน่งแรกแทน Pip เช่นกัน ดังต่อไปนี้

pip ค่าเงิน USDJPY

ภาพที่ 2 แสดง pip ค่าเงิน USDJPY

จากภาพที่ 2 เป็นตัวอย่างของ Pip ในค่าเงิน USDJPY จะเห็นว่า การนับหน่วย pip นั้นก็ยังใช้หลักการเดิม ตัวค่าเงินที่เป็น point จะมีตัวยกขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อก่อนโบรคเกอร์ไม่ได้วางตำแหน่งเป็นทศนิยม 5 จุดนะครับ เมื่อก่อนเป็นทศนิยม 4 จุด สาเหตุที่มันมีการขยายทศนิยมเพราะว่า มันเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันด้านค่าธรรมเนียม เพื่อบอกว่าของใครค่าธรรมเนียมน้อยที่สุด ทำให้ หลังจากนั้นก็เปลี่ยนมาใช้ทศนิยม 5 จุดและ 3 จุดสำหรับการเทรดค่าเงินทั้งหมด

 

แล้วเราจะวัดได้อย่างไรว่าค่าเงินของเราเคลื่อนไหวกี่ Pip

การวัดการเคลื่อนไหวของค่าเงินสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการนำมันมาลบกัน ตัวอย่างดังต่อไปนี้

ราคาเข้าซื้อค่าเงิน  USDJPY เท่ากับ 108.769 ขณะที่ราคาปัจจุบันเท่ากับ 106.395 มันเคลื่อนไหวมากี่ pip แล้ว เราสามารถหาได้ง่าย ๆ โดยการนำมันมาลบกัน

ภาพที่ 3 แสดงการเคลื่อนไหว

ตัวอย่างในภาพคือราคาเข้าซื้อ คือเส้นสีแดง ขณะที่เส้นสีเท่าคือ ราคาปัจจุบัน การหาว่าราคาเคลื่อนไหวกี่ pip จึงหาได้จาก นำราคาเข้าซื้อลบด้วยราคาปัจจุบัน ดังต่อไปนี้

= 108.769 – 106.395

= 2.674 หรือเท่ากับ 267.4 pip นั่นเอง

นอกจากการวัดด้วยวิธีการลบกันตามตัวอย่างข้างต้นแล้ว การหาระยะทางของ pip ก็สามารถหาได้ด้วยการใช้เครื่องมือในโปรแกรม MT4 ด้วยเช่น กัน

ภาพที่ 4 การลากเส้นวัดระยะทาง

ในตัวอย่างถ้าหากเรากดปุ่ม Crosshair ดังภาพสี่เหลี่ยมซ้ายบนเล็ก ๆ แล้วนำมาลากเส้นในกรอบสี่เหลี่ยมก็จะปรากฏระยะทางเป็น point ให้ ซึ่งถ้าหากระยะทางที่ลากได้ เป็น 3000 ก็หมายความว่า ระยะทางที่ราคาเคลื่อนไหวเท่ากับ 300 pip หรือ 3 พัน point

การวัดระยะทางแบบนี้ทำให้เราใช้ประโยชน์จากมันได้หลายอย่าง แต่สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การใช้ในการวัดระยะจำนวน pip ที่เราเทรดได้ สำหรับคนที่ตั้ง Stop loss ก็จะไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์จากการวัดระยะทาง แต่คนที่ไม่ตั้ง Stop loss การเข้าเทรดของเขาพวกเขาต้องรู้เสียก่อนว่า ราคาจะไมม่มีโอกาสไปถึงตรงนั้น โดยการคำนวณเป็นตัวอย่าง จะแสดงดังตัวอย่างต่อไปนี้

สมมุติเรามีเงินลงทุน 100 USD และเทรดค่าเงิน EURUSD โดยใช้ Lot 1 นั่นเท่ากับกำไรต่อจุดคือ 0.1 เหรียญต่อ pip เราก็จะสามารถเปิดได้โดยรองรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ 1000 Pip หมายความว่า เราจะไม่ล้างพอร์ทภายใน 1 พัน pip ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดต่อมือใหม่เพราะว่า มือใหม่จะไม่คิดเรื่องพวกนี้ โดยเขาจะเปิด position รัว ๆ แถมยังไม่ได้ตั้ง Stop loss ทำให้บัญชีเทรดของพวกเขามีความเสี่ยงสูงมากที่จะถูกล้างพอร์ท การเทรด ของมือใหม่จะดูจาก Margin ที่ใช้ ถ้าคิดว่ามา Margin ที่ใช้ยังเหลือเยอะก็จะสามารถส่ง position ได้ โดยไม่ได้นึกถึง pip ที่สามารถรองรับได้แม้แต่น้อย ทำให้ต้องเผชิญกับภาวะการล้างพอร์ทบ่อยครั้ง เนื่องจากโบรคเกอร์ก็ออกแบบ Leverage มาให้ใช้จำนวนมาก ๆ เพื่อ Margin Used จะใช้น้อยลงและเปิด ออเดอร์ขนาดใหญ๋นั่นเอง

Block "9800" not found