หน่วยงานกำกับ Forex Broker MiFID

European

MiFID หรือชื่อเต็มว่า Markets in Financial Instruments Directive หรือเป็นที่รู้จักกันในนามของ “MiFID” เป็นหน่วยงานเกี่ยวกับกฏหมายของสหภาพยุโรปที่ให้การกำกับการให้บริการการลงทุนและผลิตภัณฑ์ทางการเงินในพื้นที่ภาคพื้นยุโรปจำนวน 31 ประเทศสมาชิก ซึ่งอยู่ในประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (ประกอบด้วย 28 EU member state รวมถึง Iceland  Norway และ Liechtenstein) วัตถุประสงค์ของตัวเนื้อหาของการกำกับนี้ คือ การพยายามที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและปกป้องนักลงทุนเกี่ยวกับบริการทางด้านการเงิน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2007 เป็นต้นไป ซึ่งมาแทนตัวเนื้อหา Investment Services Directive (ISD)

MiFID

ตัว MiFID เป็นหลักการสำคัญของแผน European Commission’s Financial Services Action Plan ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมความเป็นไปของการเปลี่ยนในตลาดการเงินยุโรปทั้งหมด MiFID เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในเนื้อหาภายใต้ Lamfalussy Procedure ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นการประยุกต์ใช้ข้อบังคับตลาดการเงิน โดยการแนะนำของ Committee of Wise Men โดย Baron Alexandre  Lamfalussy

นอกจากนี้ MiFID ยังคงเป็นหลักการของ EU passport ซึ่งแนะนำโดย Investment Service Directive (SI) แต่ว่ากล่าวถึงแนวคิดเรื่อง Maximum Harmonization ซึ่งเน้นย้ำไปในประเด็นเรื่อง วิสัยทัศน์ภายในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป โดยเนื้อหาของ MiFID ถูกแบ่งออกเป็น 2 Level ได้แก่ MiFID Level 1 และ MiFID Level 2

MiFID Level 1 Directive 2004/39/EC ได้มีการนำไปใช้ผ่าน Standard co-decision procedure of the Council of the European Union and the European Parliament ซึ่งเนื้อหาเป็นการกำหนดแนวทางของข้อบังคับ เนื้อหา 20 บทของข้อบังคับนี้จะถูกประยุกต์ใช้ใน Level 2 ซึ่ง การนำไปใช้นี้เป็นภาระหน้าที่ของ European Commission ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของ Committee of European Securities Regulators และ European Securities Committee อยู่ภายใต้การดูแลของ European Parliament หรือสมาชิกสภายุโรป

หลังจากได้มีการใช้งานข้อบังคับไปแล้ว MiFID นั้น ได้มีการนำข้อบังคับมาทบทวนอีกครั้ง โดยมีการอภิปรายอย่างเข้มข้น ในช่วงเดือนเมษายน 2014 ซึ่งภายหลังจากนั้นก็ได้มีการปรับเนื้อหาและออกข้อบังคับ MiFID II ออกมาก ซึ่งเป็นตัวอัพเดท ของ MiFID เวอร์ชั่นเก่า โดย MiFID II นั้นจะมีการบังคับใช้ร่วมกับ MiFIR โดยเนื้อหาของการ Updated นั้นได้พยายามขยายกรอบการบังคับใช้ของ MiFID เดิมให้ครอบคลุมกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริษัททางการเงินจำนวนมาก ซึ่งทั้ง MiFID II และ MiFIR นั้นมีผลการบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 3 เดือนมกราคม ปี 2018

ที่มาและประวัติของ MiFID

ที่มา MiFID

ตัว MiFID เข้ามาแทนที่ข้อบังคับ Investment Service Directive ซึ่งถูกใช้มาตั้งแต่ปี 1993 ข้อบังคับนั้นสร้างมาเพื่อใช้กับตลาดเดียว และการลงทุนในบริการของตลาดเดียว ซึ่งพยายามสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับตลาด EU ขณะที่ข้อบังคับเดิมนั้นประสบความสำเร็จอย่างงดงามที่ทำให้ราคานั้นลดลงและทำให้ตัวเลือกของการลงทุนสำหรับนักลงทุนนั้นมีมากขึ้น แต่ว่าจุดอ่อนของ MiFID นั้นมีนัยสำคัญและเริ่มปรากฏเด่นชัด ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ในปี 2008

MiFID นั้นยังมีการพยายามเปลี่ยนแปลงเรื่องของการเทรดหุ้น และพยายามกำหนดแนวทางเนื้อหาของข้อบังคับไปยังเครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยข้อบังคับนี้ได้ถูกนำไปใช้เพื่อที่จะพยายามลด ความเสี่ยงเชิงระบบ (Systematic Risk) และพยายามสร้างความแข็งแกร่งในการปกป้องนักลงทุนที่อยู่ในตลาดให้มากขึ้น

ในระหว่างที่มีการรับรองกระบวนการของ MiFID นั้น Proposal จาก European Commission นั้นได้อ่านโดย European Parliament ในช่วงเดือนมีนาคม 2004 ต่อมาในเดือนเมษายน 2006 Commission ได้ประกาศการรับรองร่างในปี 2005 และต่อมาในปี 2006 ทางคณะกรรมการก็ได้รับรองร่างของ MiFID อย่างเป็นทางการ สมาชิกสภาประชาคมยุโรปและรัฐสภาได้ ถกกันเกี่ยวกับการรับรองในเนื้อหาของ Level 1

เนื้อหาใน Level 1

เนื้อหาของ MiFID Level 1 Directive 2004/39/EC นั้นประยุกต์ใช้ผ่าน Standard Co-Decision Procedure ของ Council of the European Union และ European Parliament ซึ่งเป็นตัวกรอบดูแลข้อกำหนดของข้อบังคับทั้งหมด  เนื้อหาใน Level 1 นั้นพูดถึง Council Directives 85/611/EEC และ 93/6/EEC และ Directive 2000/12/EC และ Council Directive 93/22/EEC รวมถึง Investment Services Directive (ISD) ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 1993

เนื้อหาใน Level 2

ในส่วนของเนื้อาห Level 2 จะมีเนื้อหาถึง 20 บท ซึ่งจะพูดถึงเรื่องของเทคนิคในการนำไปใช้ โดยเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับ European Commission ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ต้องบังคับใช้ระเบียบนี้ภายใต้คำแนะนำของ Committtee of European Securities Regulators และ  European Securities Committee โดยอยู่การดูแลของ สมาชิกสภาพยุโรปทั้งหมด  โดยข้อบังคับนี้ได้ถูกเผยแพร่ในช่วงวันที่ 2 เดือนกันยายน 2006 เป็นต้นมา

เกี่ยวกับ MiFID II

ตัว MiFID นั้นเป็นข้อบังคับที่ได้รับการอัพเดทมาจาก MiFID โดยข้อบังคับดังกล่าวนั้นมีความพยายามเรื่องของการคุ้มครองนักลงทุน โดยพยายามยกระดับการทำงานและฟื้นฟูความเชื่อมันของนักลงทุนภายในอุตสาหกรรมโดยเฉพาะหลังจากช่วงปี 2008 ซึ่งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นในภาคพื้นเศรษฐกิจยุโรป โดยเนื้อหาของ MiFID II นั้นได้ถูกบังคับใช้ในช่วงวันที่ 3 เดือนกันยายน ปี 2018 ซึ่งคณะกรรมการธิการบริหารสมาชิกสภาพยุโปรได้รับร่างของข้อบังคับ

ตัวข้อบังคับของ MiFID นั้นพยายามจะปรับเนื้อหาของการรับสมาชิกในกลุ่มประเทศสมาชิกและพยายามตีกรอบของการบังคับใช้ให้กว้างในกลุ่มหลายผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความพยายามเพิ่มความโปร่งใสให้กับสมาชิกหรือองค์กรที่เป็นสมาชิก รวมทั้งการลดการใช้ Dark pool และการเทรด Over the Counter หรือ OTC โดยภายใต้ข้อบังคับใหม่นี้ ปริมาณการเทรดหุ้นใน Dark Pool จะจำกัดอยู่ที่ประมาณ 8 % ภายในรอบปีเท่านั้น ซึ่งกฏใหม่นี้กรอบรวมไปถึงเนื้อหาการใช้การเทรดแบบความเร็วสูง (High Frequency Trading) การใช้ Algorithm ในการเทรด รวมถึงการใช้นโยบาย Circuit Breakers ด้วย

เนื้อหาของ MiFID II กระทบใครบ้าง

จากเนื้อหาของ MiFID II นั้นไม่ได้ครอบคลุมเพียงแค่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีเทรดอยู่ในตลาดของ Eu ทั้งหมด แต่ยังครอบคลุมลามไปถึง อาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเงินและการลงทุนในตลาดของ EU ทั้งหมด ด้วย ซึ่งอาชีพเหล่านั้นได้แก่  Bankers , Traders , ผู้จัดการกองทุน หรือว่าสำนักงานอัตราแลกเปลี่ยน โบรคเกอร์ และ บริษัทของพวกเขา ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฏเหล่านั้น รวมทั้งนักลงทุนรายย่อย

 

อ้างอิง