โบรกเกอร์ forex ที่น่าเชื่อถือ – ใบอนุญาต วิธีดูโบรกเกอร์ Forex มีอะไรบ้าง

ใบอนุญาต-HFM
Exness-reviews

เปิดบัญชี Exness

เปิดบัญชี XM

เปิดบัญชี GMI

เปิดบัญชี IC Markets

เปิดบัญชี Land-FX 

เปิดบัญชี Tickmill

เปิดบัญชี Pepperstone 

เปิดบัญชี FxPro 

เปิดบัญชี Weltrade

เปิดบัญชี FBS

ใบอนุญาตโบรกเกอร์ (Forex license) มีความน่าเชื่อถือสูงสุด

“Forex Broker license”

โบรกเกอร์ forex ที่น่าเชื่อถือ มีใบอนุญาตมีอะไรบ้าง

คือโบรกเกอร์ที่มีพฤติกรรมการให้บริการ ตลอดจนมีองค์ประกอบแวดล้อมที่ทำให้ Trader มั่นใจในการเข้าใช้บริการเทรดอย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์การพิจารณา

  • ก่อตั้งมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี ยิ่งนาน แปลว่าความมั่นคงของบริษัทยิ่งสูง ฐานลูกค้าและปัจจัยพื้นฐานของบริษัทย่อมแข็งแรง
  • มีใบอนุญาต จากหน่วยงานกำกับดูแลที่มีมาตรฐาน จะมีเพียง 1 ใบหรือหลายใบได้ยิ่งดี
  • ใบอนุญาต ต้องเป็นระดับที่มีมาตรฐาน ไม่ใช่ใบอนุญาต No name
  • มีฐานลูกค้าจำนวนมาก ในหลากหลายประเทศ ซึ่งแปลว่าลูกค้าเหล่านั้นก็ย่อมเห็นอะไรดีๆ ในโบรกเกอร์นั้นแล้ว จึงใช้บริการแลอย่างต่อเนื่อง เพราะ “การเปลี่ยนโบรก ในปัจจุบันเป็นอะไรที่ง่ายมาก” ถ้าไม่ดีจริง ลูกค้าพร้อมเปลี่ยนโบรกเกอร์เสมอ
  • การ Complain ตามแหล่งเว็บไซต์รีวิวธุรกิจ ผู้บริโภค เช่น เว็บ trustpilot หรือแม้แต่ตามโลก Social (อย่างน้อยถ้ามีถี่และบ่อยก็แปลว่าขาดการเอาใจใส่ในการแก้ปัญหา)

ตัวอย่างคะแนนรีวิวของโบรกเกอร์ Forex ที่นิยมใช้กันในบ้านเรา

” ใบอนุญาตโบรกเกอร์ (Forex license) พื้นฐานแสดงว่าถึงความน่าเชื่อถือ “

ความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ สำคัญอย่างไร

  • ในประเทศไทยปัจจุบัน การเทรด Forex ไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็ไม่มีกฎหมายรองรับ แปลว่าถ้าเทรดกับโบรกเกอร์เถื่อน (ไม่น่าเชื่อถือ) แปลว่าเงินคุณอาจหายและติดตามคืนไม่ได้
  • ถ้าโบรกเกอร์ที่เราเทรด ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลที่มีมาตรฐาน เราก็เทรดสบายใจขึ้น กล้าลงเงินลงทุนก้อนใหญ่ขึ้น
  • หากเกิดปัญหา เราสามารถร้องเรียนไปยังหน่วยงานกำกับดูแลได้ หากโบรกมีความผิดจริง โบรกเกอร์ Forex นั้นอาจโดนลงโทษ ถึงขั้นถอดใบอนุญาต และหน่วยงานก็ยังมีอำนาจสั่งโบรกเกอร์ให้คืนเงินแก่เทรดเดอร์ได้

ใบอนุญาต โบรกเกอร์ (Forex license)

  • ออก หน่วยงานกำกับดูแลการลงทุน เพื่อให้แน่ใจว่าโบรกเกอร์ Forex ดำเนินการอย่างยุติธรรม โปร่งใส และปฏิบัติตามข้อบังคับตามใบอนุญาต
  • ใบอนุญาต (License) เหล่านี้ยังปกป้อง Trader ด้วยการจัดเตรียมวิธีการยื่นเรื่องร้องเรียนหรือขอค่าชดเชยในกรณีที่โบรกเกอร์มีส่วนร่วม หรือกระทำการผิดจรรยาบรรณหรือทำผิดกฎหมาย

จุดประสงค์ของหน่วยงานที่ออก Forex license

  1. กำหนดให้โบรกเกอร์ Forex นั้นๆ ให้บริการเป็นไปตามมาตรฐาน
  2. เพื่อป้องกันการทุจริต ฉ้อโกงของโบรกเกอร์ต่อลูกค้า
  3. กำหนดให้การเก็บรักษาเงินทุนของลูกค้าต้องแยกบัญชีต่างหากไม่ให้เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย, ภาระหนี้สินของบริษัท
  4. ข้อกำหนดเงื่อนไขการชดเชย กรณีที่โบรกเกอร์ประสบปัญหาทางหนี้สิน, ล้มละลาย
  5. ทำตรวจสอบงบการเงินประจำปี ผู้ตรวจสอบบัญชี ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท

หน่วยงานกำกับดูแล โบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือสูง มีอะไรบ้าง

หน่วยงานกำกับดูแลที่ออกใบอนุญาตโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ มี 3 ระดับด้วยกันได้แก่ น่าเชื่อถือสูง กลางๆ และต่ำ แต่ละแห่งมีกฎและข้อบังคับของตนเอง หน่วยงานที่น่าเชื่อถือสูง (High Trust) ได้แก่

  • Australian Securities & Investment Commission (ASIC) ประเทศออสเตรเลีย
  • Investment Industry Regulatory Organization of Canada (IIROC) ประเทศแคนนาดา
  • Securities Futures Commission (SFC) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
  • Central Bank of Ireland (CBI) ไอร์แลนด์
  • Japanese Financial Services Authority (JFSA) ประเทศญี่ปุ่น
  • Monetary Authority of Singapore (MAS) ประเทศสิงคโปร์
  • Financial Markets Authority (FMA) ประเทศนิวซีแลนด์
  • Swiss Financial Market Supervisory Authority (FINMA) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
  • Financial Conduct Authority (FCA) – United Kingdom (UK) สหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ)
  • Commodity Futures Trading Commission (CFTC) United States ประเทศสหรัฐอเมริกา

* ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า Cyprus Securities & Exchange Commission (CySEC) ประเทศไซปรัส ซึ่งโบรกเกอร์จำนวนมากที่ทำตลาดในไทยมีกัน ยังไม่ถือเป็น High Trust License เป็นเพียง License ระดับ 2 (น่าเชื่อถือปานกลาง)

ส่วนหน่วยงานอื่นๆ ที่น่าเชื่อถือต่ำกว่าข้างต้นไม่ขอกล่าวครับ เพราะถ้าจะแนะนำให้เลือกโบรกเกอร์ Forexสำหรับเทรดจริงๆ ควรเลือกโบรกที่ควบคุมด้วย license High Trust ดังกล่าวข้างต้น จะดีที่สุด

วิธีดูว่าโบรกเกอร์ Forex ไหนมี license จริง

  • โบรกเกอร์ที่มี License จะมีการแสดงเลขที่ใบอนุญาตอย่างชัดเจนบนเว็บไซต์ (จะไม่ซ่อนไว้ในที่หาไม่เจอง่ายๆ) เลขที่ใบอนุญาตนั้นจะแสดงถึงหน่วยงานที่เป็นผู้กำกับดูแลอยู่ด้วย และบางโบรกจะมีลิงค์ใบอนุญาตให้ด้วย
  • ที่เว็บไซต์หน่วยงานกำกับดูแลบางแห่งจะมีการขึ้นเตือนข้อมูลของโบรกเกอร์ที่หลอกหลวง ตลอดจนทำ Blacklist สำหรับโบรกเกอร์ประเภทนี้ด้วย หรือแม้แต่ขึ้นเตือน โบรกเกอร์ Forex ที่ใบอนุญาตหมดอายุ หรือถูกถอดใบอนุญาต กรณีมีคดีฉ้อฉลที่ถูกตรวจสอบไปแล้ว
  • บางโบรกที่มีการทำการตลาดในหลายพื้นที่ อาจมี License คุ้มครองไม่เหมือนกัน ต้องทำการตรวจสอบด้วย บางโบรกก็ลักไก่ แสดง License แบบเหมาเข่ง โชว์ High Trust License แต่จริงๆแล้ว ภายในประเทศอย่างบ้านเรากลับคุ้มครองเพียง Low Trust License

ตัวอย่างการเสดง License No.ของโบรกเกอร์ IC-Markets

Broker Forex A-Book และ B-Book

นิยาม และประเภทของโบรกเกอร์ในแง่ A-Book และ B-Book

โบรกเกอร์ Forex แบ่งตาม “การส่งสัญญาณการซื้อ-ขายเข้าตลาด” ได้กว้างๆออกเป็น 3 ประเภทคือ

  • โบรกเกอร์ Forex A-Book จะส่งสัญญาณการซื้อ-ขายทั้งหมด 100% เข้าสู่ตลาดจริง เป็น(Non-dealing desk (NDD)) ไม่สามารถลากไส้กราฟได้
  • โบรกเกอร์ Forex B-Book เป็นโบรกเกอร์ที่จะไม่ได้ส่งเงินของผู้ลงทุนเข้าตลาดจริง แต่จะดำเนินการผ่านระบบการจัดการที่ทำ โบรกเกอร์เอง (dealing desk (DD)) ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณการซื้อ-ขายให้กับโบรกเกอร์หรือบริษัทที่โบรกเกอร์ร่วม Co อยู่ (Liquid Provider) แต่ก็อาศัยอ้างอิงราคาจากตลาดจริง

เรียกกันในวงการว่า “รับแทงเอง” ว่างั้น ดังนั้นโบรกพวกนี้จึงมักชอบลูกค้ารายใหม่ๆ เพราะโอกาสจะเสียให้โบรกมีสูงมากๆ ก็ราวๆ 90% ของ Trader หน้าใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นโบรกที่ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะมักมีเงื่อนไขการเทรดที่ทำให้เราเสียเปรียบเสมอ

  1. โบรกเกอร์ Forex แบบผสม A+B hybrid book จะแยกตามแต่ละบัญชี ซึ่งสามารถสอบถาม ตรงกับโบรก มาก
  • บัญชี A-Book จะมีชื่อกำกับในชื่อบัญชีว่า “ECN Electronic Communication Network)
  • บัญชี B-Book จะมีชื่ออื่นๆ
  • บางบัญชีจะเป็นแบบผสมในบัญชีเดียวกัน คือเรามือใหม่ๆเทรดเสียโบรกรับแทงเอง พอเราเทรดเก่งโบรกจับสถิติได้ ก็ส่งสัญญาณเข้าตลาดจริง

ความจริงเกี่ยวกับ โบรกเกอร์ A-Book และ B-Book

  • ทฤษฏีควรหลีกเลี่ยงโบรกเกอร์ B-Book
  • แต่…ไม่ง่ายที่จะไปเช็คว่าโบรกเกอร์เจ้าไหนเป็น A-Book หรือ B-Book (ใครจะไปบอกว่าตัวเองเป็น โบรกเกอร์ B-Book ใช่ไหม ! อย่างเก่งก็บอกว่าเป็น hybrid)
  • B-Book บางโบรกเกอร์ที่มีขนาดใหญ่มากที่เป็น Liquid Provider เอง สามารถถือ Order ตรงกันข้ามกับลูกค้า และสามารถเปลี่ยนไปส่งเข้าตลาดเมื่อไหร่ก็ได้ ทำให้เราสามารถเทรดกับโบรกเกอร์ได้อย่างไม่มีการ Requote
  • คงยากที่จะตัดสินว่าโบรกเกอร์ Forex แบบไหนดีกว่ากัน ทางที่สะดวกและปลอดภัยที่สุด คือให้คุณเลือกโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตระดับ High Trust ก่อน เพราะถ้ามีใบอนุญาต ไม่ว่าจะเป็น A-Book, B-Book หรือ hybrid book ก็มีโอกาสโกงเราน้อยลงมาก เพราะมีหน่วยงาน License ควบคุมอยู่

สรุป

โบรกเกอร์ forex ที่น่าเชื่อถือคือ โบรกเกอร์ที่มีพฤติกรรมการให้บริการ ตลอดจนองค์ประกอบแวดล้อมที่ทำให้ Trader มั่นใจในการเข้าใช้บริการเทรดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นก่อตั้งมาเป็นเวลานาน มีใบอนุญาต จากหน่วยงานกำกับดูแล ระดับ High Trust  score  มีฐานลูกค้าจำนวนมาก ตลอดจนลูกค้ามีความพึงพอใจในบริการ มีข้อมูลการ Complain หรือร้องเรียนน้อย

ซึ่งเหล่านี้ สำคัญต่อความมั่นใจในการลงทุนของ Trader ตลอดจนเมื่อเกิดเหตุการณ์สูญเสียเงินที่ไม่ได้เป็นความผิดพลาดของนักลงทุนเอง เราก็สามารถร้องเรียนไปยังหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นได้

อ้างอิง