Forex Trading For Living Time Frame ใหญ่ หรือ เล็กดี

เส้น

Forex Trading For Living   Time Frame ใหญ่ หรือ เล็กดี

 

ในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนมีโอกาสได้ไปปีนเขา ซึ่งถือว่าเป็นภูเขาที่มีความชันลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย แม้ว่าระยะทางจะไม่ไกลมากนักเพียง 3. 7 กิโลเมตร แต่ด้วยเวลาในการปีนคือ 10.30 – 14.00 เป็นเวลาที่ร้อนทำให้การปีนด้วยความชันระดับนี้บวกกับความร้อนจึงส่งผลต่อการปีนมาก ช่วงแรก ๆ ผู้เขียนคิดว่าเราน่าจะทำการถ่ายรูปแผนที่มาด้วยดีกว่าว่าเพื่อจะบอกได้ว่าตอนนี้เราไปถึงไหนแล้ว เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมด นี่คือความคิดก่อนที่จะปีนไปข้างบนจุดยอดสูงสุดของยอดเขา ระหว่างปีนขึ้นไปด้วยความลำบากในใจนึกอยากพักให้นานแต่ไม่เคยจะหยุดเดิน สรุปแล้วขึ้นด้วยเวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง และต้องลงในวันเดียวกันเนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาติให้นอนค้างบนนั้น  ระหว่างทางกลับได้เห็นป้ายจุดต่าง ๆ ของยอดเขาที่อยากจะถ่ายรูปเพื่อบอกว่าเราอยู่ตรงไหน มีคำถามเกิดขึ้นในใจอีกครั้งว่า แล้วถ่ายไปดูด้วยดีหรือไม่ ซึ่งถ้าเรารู้ว่าเราต้องเดินทางอีกไกลมากมันจะทำให้เราอยากไปต่อหรือท้อหรือไม่ หรือก็อาจจะไม่ดีก็ได้หรืออาจจะดีก็ได้ไม่มีใครรู้

ในการเทรด Forex เรามักจะมีปัญหาเรื่องว่าเราจะ Focus ที่ภาพใหญ่หรือภาพเล็กดีใช่หรือเปล่าครับ เทรนด์ขาขึ้นของ Time Frame 1 ชั่วโมง ถึงจุดกลับตัวแล้วที่จะเป็นขาลงแล้ว แต่กราฟใน Time Frame 1D กำลังจะกลับตัวเป็นขาขึ้น แล้วเราจะเชื่ออันไหนดี บางครั้งเหตุการณ์เหล่านี้ก็ทำให้เราสับสน

รูปที่ 1 แสดงการกลับตัวของราคาตามสัญญาณของ Stochastic ใน Time Frame 1H

จากตัวอย่างในรูปที่ 1 ผมแสดงให้เห็นถึงการกลับตัวของราคาในกราฟ 1H จะเห็นว่า นี่คือจุดกลับตัวที่บอกว่าจะเป็นขาลงแล้ว

แต่จริง ๆ แล้วมันอาจจะเป็นแค่จุดเริ่มต้นของเทรนด์ขาขึ้นตามสถานการณ์ดังภาพต่อไปนี้ ใน Time Frame Daily

รูปที่ 2 แสดงการกลับตัวของวันและเวลาเดียวกันของกราฟ Time Frame 1H

เมื่อเป็นเช่นนี้เราอาจจะบอกว่า เฮ้ย! ถูกแล้ว นี่แหละถูกต้องตามทฤษฎีเลย เพราะนั่นก็คือเราต้องยึด Time Frame ใหญ่เป็นหลัก มีอยู่หลายทฤษฎีมากที่สนับสนุนให้ใช้ Time Frame ใหญ่ในการกำหนดทิศทางเพื่อให้ได้ทิศทางที่แน่นนอนกว่า บอกว่า  Time Frame ใหญ่ย่อมกำหนด Time Frame ขนาดเล็ก คลื่นลูกใหญ่กว่า ย่อมกำหนดคลื่นที่มีขนาดเล็ก ใช้ลักษณะของทฤษฎีตามภาพนี้

รูปที่ 3 แสดงกรอบคลื่นของ Time Frame 1H กับ 1Day

แต่ในความเป็นจริง ทฤษฎีนี้อาจจะถูกต้องแค่ส่วนเดียวจาก 3 ส่วน มันคือ แค่ 1 Trading Scenario เดียวเท่านั้นที่เกิดขึ้นครับ ถามว่าถูกไหมก็ไม่ถูกไปเสียทั้งหมดครับ แต่ถ้าจะบอกว่าผิดก็คงไม่ผิด การเทรดลักษณะนี้มันก็คือเหตุการณ์หนึ่งที่จะเกิดขึ้นได้เท่านั้นเอง ถ้าเรายึดตามกราฟใหญ่หมายความว่าเราจะอ่านกราฟ Time Frame ใหญ่ในการเทรด เราลองดูอีกสักสถานการณ์ถ้าเราดูกราฟ Time Frame 1Day ในการเทรดกัน

รูปที่ 4 แสดงกราฟราคาทองคำใน Time Frame Day

จากรูปที่ 4 ผมได้แสดงว่าถ้าเรายึดจุดกลับตัวใน Time Frame Daily เราก็คงเข้าเทรดในจุด 4 เหลี่ยมตามการให้สัญญาณของ Stochastic ที่เรายึดมาจาก Time Frame เล็กแน่ แต่พอมาถึงภาพนี้เราก็จะบอกว่างั้นต้องรอจุดกลับตัวของ Time Frame Daily เลย และที่รูปที่ 4 คือ Time Frame Daily แล้ว คำถามคือ เหตุการณ์หลังจากนั้นเป็นอย่างไรท่านคงเห็นในกราฟอยู่แล้ว เมื่อเราได้ภาพตัวอย่างมา 4 ภาพแล้ว เรามาสมมุติสถานการณ์กันเพื่อกำหนด Scenario กันดังนี้

เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้มี 3 เหตุการณ์คือ

  1. Time Frame ใหญ่กำหนด Time Frame เล็ก นั่นก็คือ เราดู Time Frame ใหญ่แล้วมาเลือกจังหวะเข้าใน Time Frame เล็ก
  2. Time Frame เล็กกำหนด Time Frame ใหญ่ ถ้าเราเลือกดูใน Time Frame เล็กของกราฟในรูปที่ 4 ก็คงจะเกิดการกลับตัวแล้วเพราะมันให้สัญญาณเร็วกว่า แต่ในรูปที่ 4 กราฟกลับจมหายไปเลย ทำให้เราโดนหลอกเต็ม ๆ
  3. ไม่มีอะไรกำหนดอะไร

จาก 3 สถานการณ์นี้เราจะพบว่า สิ่งที่ดูน่าจะมีเหตุผลในการเทรดมากที่สุดคือ ข้อ 3 มันเหมือนกับการที่ผมไปปีนเขานั่นแหละครับ เราไม่รู้หรอกครับว่า ถ้าเราถ่ายรูปออกไปดูแล้วพอเดินขึ้นไปสัก 1 – 2 จุดมาร์ค เราอาจจะท้อแท้ก็ได้ แต่การที่เราไม่รู้ก่อนหน้าก็มีข้อดีเหมือนกัน การที่เราไม่เห็นภาพใหญ่ของมัน ทำให้เราไม่ต้องกังวล การเปรียบเทียบอย่างนี้มันมีความสอดคล้องอยู่อย่างหนึ่งคือ เราไม่มีทางรู้อนาคตได้ นั่นคือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับโลก Forex ฉะนั้นการจัดการปัญหา จึงเป็นการจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้า การเขียน Model Trade จึงควรที่จะเน้นไปที่การจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นให้ครอบคลุม ไม่ใช่เรื่องของการมาตั้งข้อกำหนดอนาคตไว้ว่า มันจะต้องเป็นไปในรูปแบบที่เรากำหนดเท่านั้น ฉะนั้นการกำหนดทฤษฎีที่ว่า เล็กกำหนดใหญ่และใหญ่กำหนดเล็กจึงเป็นเรื่องที่ทำให้เราฝืนการเคลื่อนไหวของตลาดอย่างสิ้นเชิง เพื่อให้เข้าใจเรื่อง Trading Scenario ในบทความถัดไปผมจะเขียนเรื่อง Trading Scenario หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์การเทรดให้ฟังกันครับ

 

ทีมงาน .com

เส้น