คู่มือเริ่มต้น Forex สำหรับมือใหม่ เริ่มต้นยังไง ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง Step by Step

 

คู่มือเริ่มต้น Forex สำหรับมือใหม่ เริ่มต้นยังไง ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง Step by Step

ตลาด Forex เป็นสิ่งที่อาจจะมองแบบผิวเผินแล้วดูเป็นอะไรที่ทำให้คนเรารวยขึ้นได้ในชั่วข้ามคืน แต่รู้หรือไม่ครับว่า มันก็สามารถทำให้คุณจนได้ชั่วข้ามคืนเช่นด้วยกัน… ดังนั้น เทรด forex มือใหม่ จำเป็นจะต้องรู้อะไรบ้าง เพื่อทำให้ Forex เป็นการลงทุนระยะยาวที่ปลอดภัย

รู้จักกับ Forex กันก่อน

แน่นอนครับว่า มือใหม่อย่างเราจะต้องมาทำความรู้จักกับ Forex กันก่อน.. Forex นั้นเป็นชื่อย่อของ Forex exchange ที่หมายถึง ตลาดที่สามารถซื่อขายผ่านเคาน์เตอร์ได้ทั่วโลก หรือ Over The Counter market (OCT)

ทำไมเราต้องศึกษา Forex ก่อนเริ่มเทรด

หลาย ๆ คนที่เข้ามาในตลาด forex อาจจะมีจุดหมุ่งหมายในการหารายได้เสริม ไปจนถึงชุบตัวให้กลายเป็นคนรวย ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด มัน make sense ที่เราความจะต้องศึกษามันให้ดีก่อน

เพราะในตลาด Forex เต็มไปด้วยความเสี่ยง ซึ่งสำหรับมือใหม่แล้ว มันเสี่ยงซะยิ่งกว่าตลาดหุ้น หรือ ตลาดคริปโต หลายเท่าตัวครับ เหตุผลหลัก ๆ จะว่าด้วยเรื่องของการใช้ Leverage และการบริหารเงินในพอร์ต รวมไปถึงการเทรดในรูปแบบต่าง ๆ ด้วย

“ในตลาด Forex ทำให้รวยได้ ก็ทำให้จนได้ เปรียบดั่ง น้ำทำให้เรือลอยได้ แต่น้ำก็ทำให้เรือจมได้เช่นกัน”

ตลาด Forex เหมาะกับใคร

คำตอบ คือ เทรดเดอร์รายย่อยอย่างเรา ๆ นี่แหละครับ คนที่ไม่ได้มีเงินถุงเงินถังระบบ J.P. Morgan ที่จะสามารถเทรดได้เอา ไม่ต้องพึ่งเงินคนอื่น ก็แน่นอนล่ะเขาร่ำรวยระดับที่เป็น ผู้ให้สภาพคล่อง หรือ Liquidity Provider เองเลยนี่นา

หากคุณรู้แบบนี้แล้ว เรามาเริ่มศึกษาไปพร้อม ๆ กันครับ ดูซิว่าเมื่อเราอ่านจบแล้วเราพร้อมที่จะเริ่มเทรดกันแล้วหรือยัง

รูปที่ 1 แสดง 5 Steps ที่เทรดเดอร์มือใหม่ควรจะต้องรู้ก่อนลงมือเทรดจริง สอนแบบ Step by Step

Step 1 ทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐาน Forex

ใน Step ที่ 1 เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องพื้น ๆ ของ Forex กันก่อน เพราะรากฐานเป็นสิ่งสำคัญครับ ต้นไม้ใหญ่ย่อมที่จะต้องมีรากที่แข็งแรงจึงสามารถต้านทานแรงลมและพร้อมที่จะเป็นร่มเงาให้สัตว์อื่นได้

กลไกของตลาด Forex

อย่างที่เราทราบกันดีครับว่า การเทรด Forex เป็นการเกร็งราคาค่าเงิน ซึ่งกลไกง่าย ๆ เลยคือการซื้อในราคาที่ถูก และขายตอนมันราคาแพง ยกตัวอย่างเช่น

  • ตัวอย่างที่ 1 ถ้าวันนี้เรามองเห็นโอกาสแล้วว่าอีก 1 เดือน ค่าเงิน USD จะมีมูลค่ามากขึ้น เราเลยตัดสินใจเอาเงิน บาทไทย ไปซื้อธนบัตร US ดอลล่า เอาไว้ เมื่อ 1 เดือนผ่านไปปรากฏว่า USD มีราคาสูงขึ้นจริง เราก็ตัดสินใจขายธนาบัตร USD เพื่อตีกลับมาเป็นเงิน บาทไทย นั่นเอง -> แบบนี้เราเรียกว่า การเทรด USD/THB
  • ตัวอย่างที่ 2 การเทรดทองคำ (XAU/THB) ซึ่งเราก็คงจะเดากันไม่ยากนะครับว่า มันเป็นการซื้อทองคำด้วยเงินบาทไทย.. เอาจริง ๆ แล้วตัวอย่างนี้อาจจะไม่ใช้การเทรด Forex ตรง แต่มันนับว่าเป็น Contract for Differences (CFDs) หรือ สัญญาการซื้อขายส่วนต่างซะมากกว่า

ไหน ๆ ก็พูดถึง CFDs แล้ว ผมก็จะขออธิบายเพิ่มไปเลยครับว่า CFDs คือ อนุพันธ์ประเภทหนึ่งที่ให้ความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาของสินทรัพย์อ้างอิง พูดให้เข้าใจมากขึ้นคือ การซื้อขายกันแบบไม่ได้สินค้าจริง ๆ แต่ใช้กันแค่ราคาอ้างอิงนั่นแหละ โยรกเกอร์ Forex เขาจับมาให้เราเทรดเพื่อเป็นตัวเลือกเพิ่มครับ

ตลาด Forex อยู่ไหน แล้วเปิด-ปิดกี่โมง

สิ่งนี้อาจจะทำให้ตกใจ เพราะตลาด Forex นั้นไม่มีอยู่จริง!! เพราะมันเป็นการแลกเปลี่ยนสกุลเงินกัน ซึ่งมันเลยทำให้ตลาด forex จะมีอยู่ที่ไหนก็ได้ เรียกได้ว่ามันเป็น Decentralized markets เลย ยกตัวอย่างเช่น

  • ตัวอย่างที่ 1 ผมมีแบงค์ 1,000 บาทอยู่ 1 ใบ อยากจะขอแลกแบงค์ USD กับเพื่อนฝรั่ง ผมก็สามารถขอแลกได้เลยซึ่งเราจะใช้ราคาอ้างอิง ณ ขณะนั้นแลกเปลี่ยนกัน ตอนนั้นราคา 1USD อาจจะเท่ากับ 36 บาท ผมก็จะแลกมาได้ประมาณ 27.77 USD ครับ
  • ตัวอย่างที่ 2 ถ้าตอนนี้ผมอยู่ที่ประเทศเวียด แล้วเกิดอยากซื้อของด้วยเงินสกุล “ดงเวียดนาม” ผมต้องการแลกเงินบาทไทยกับเงินดงเวียดนามก่อน ซึ่งผมมีเงินในกระเป๋า 100 บาท ผมก็สามาถขอแลกกับใครก็ได้แถวนั้น หรือจะแลกที่ตู้ Exchange ที่เขามีให้บริการก็ได้ เป็นต้น

จาก 2 สถานการณ์ตัวอย่างนี้น่าจะเพียงพอที่จะทำให้คุณเห็นแล้วว่า การแลกเปลี่ยนแบบนี้จะเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ ก็ได้ ไม่มีศูนย์ที่แน่นอนครับ จะบอกว่ามันเปิดตลอด 24 ชั่วโมงก็น่าจะได้นะ

ทว่าคนหัวใสก็ได้สร้าง ตลาด forex เทียมขึ้นมา ซึ่งก็คือ CFDs นั่นแหละ และมันจะถูกดำเนินการ โบรกเกอร์ Forex ที่เราเห็น ๆ กันอยู่ทุกวันนี้ครับ หลักการ คือ เค้าก็จะใช้การอ้างอิงราคาจริง ๆ ที่มีการซื้อขายจริงบนตลาด forex นั่น ๆ มาให้เราได้เทรดทำกำไรกันนั่นเอง

คราวนี้แล้วครับ จากที่ตลาด forex เป็น Decentralized markets ก็จะกลายเป็น Centralized markets ไป ปริยาย (ในกรณีที่เราเทรดกับโบรกเกอร์นะ) และในความเป็นจริงแล้ว โบรกเกอร์เหล่านี้มักจะตั้งอยู่ในหลาย ๆ ประเทศที่แตกต่างกัน

รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างเวลาทำการเปิดและปิดตลาด forex

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การเทรดของเราจะสามารถเทรดได้เฉพาะเวลาที่โบรกเกอรเปิดทำการเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันโบรกเกอร์จะเปิดให้เราเทรดได้ในวัน จันทร์-ศุกร์ นั่นเองครับ

คู่เงิน (Currency pairs) ในตลาด Forex

ต่อมาเรื่องที่เราจะต้องรู้คือ คู่เงิน ครับ เรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ เกี่ยวกับคู่เงินหลัก คู่เงินรอง ใช่ไหมครับ ซึ่งหลักเกณฑ์ในการแบ่งไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไร และหลักการจะมีดังนี้ครับ

คู่เงินหลัก

  • ภาษาอังกฤษ Major currency pair (Major fx)
  • มีความนิยมเทรดมากที่สุดในตลาด forex (นับเป็น 80% ของ Volume ทั้งหมด)
  • มีสภาพคล่องสูง
  • มีสกุลเงินของ USD จับคู่ด้วยเสมอ เพราะเป็นประเทศมหาอำนาจและมีผลต่อเศรษฐกิจโลกมาก
  • ยกตัวอย่างเช่น EUR/USD, AUD/USD, USD/JPY เป็นต้น

คู่เงินรอง

  • ภาษาอังกฤษ Minor currency pair (Minor fx)
  • มีสภาพคล่องน้อยกว่า แต่มีความผันผวนมากกว่า
  • เป็นคู่เงินที่ไม่มี USD จับคู่ด้วย
  • ยกตัวอย่างเช่น EUR/GBP, EUR/JPY, GBP/JPY เป็นต้น

คู่เงินนอกกระแส

  • ภาษาอังกฤษ Exotic currency pair (Minor fx)
  • เป็นการจับคู่ระหว่างสกุลเงินของประเทศเกิดใหม่ หรือ ประเทศที่มีขนาดเล็ก กับ ประเทศที่โตแล้ว
  • สภาพคล่องต่ำ มีความผันผวนสูงมาก
  • มีโอกาสถูกคนนอกปั่นราคาได้
  • ค่า Spread สูง
  • ยกตัวอย่างเข่น USD/MXN, GBP/DKK, GBP/NOK เป็นต้น

รูปที่ 3 แสดงสัดส่วนคู่เงินที่มีคนนิยมเทรดกันมากที่สุดในปี 2024

เทรด Forex ผิดกฎหมายจริงดิ?

เรามาดูเรื่องกฎหมายกันหน่อยดีกว่าครับ คือ เทรดเดอร์ Forex ผิดกฎหมายจริง ๆ หรอ ? ต้องแจ้งแบบนี้ครับว่า “มันไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่ก็ยังไม่ถูกกฎหมาย” ครับ เนื่องจากปัจจุบัน การซื้อขายค่าเงินถูกกฎหมายครับ เพราะกฎหมายให้ทำการซื้อขายค่าเงินได้เฉพาะกับผู้ที่ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. หรือ กระทรวงการคลัง

ผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. หรือ กระทรวงการคลัง คือ กลุ่มธนาคารต่าง ๆ ในประเทศไทย รองลงมาคือ เหล่า บริษัทรับแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ เช่น

  • Superrich Thailand ร้านสีเขียว
  • OH RiCH Superrich Thailand.
  • SuperRich (SPR) ร้านสีส้ม
  • Twelve Victory Exchange.
  • X ONE Currency Exchange Center.
  • Vasu Exchange.
  • K79 Exchange.
  • Value Plus Currency Exchange

และอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นครับว่า โบรกเกอร์ Forex ที่เราใช้งานอยู่ ไม่เข้าข่ายการแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศอย่างแท้จริง แต่มันเป็น CFDs ที่ประเทศไทยเรายังไม่มีกฎหมายรองรับก็เท่านั้นเอง ในขณะที่เพื่อนบ้านของเราอย่าง สิงคโปร หรือ มาเล เขามีกฎหมายตัวนี้รองรับนะ

ดังนั้นศาลที่ไหนในประเทศไทยก็ยังไม่สามารถตีความว่า Forex เข้าข่ายผิดกฎหมายนั่นเอง ยกเว้นเสียแต่ว่าคุณจะเป็นผู้ชักชวนคนอื่นมาลงทุน หรือ ชวนมาเทรดด้วย ซึ่งตัวนี้แหละที่อาจจะผิดกฎหมายอยู่หลายกระธงเลย เช่น [9]

  • พรบ. กำหนดการกู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4, 5, 12
  • ประมวลกฎหมายอาญา (ความผิดฐานฉ้อโกง) มาตรา 341
  • ประมวลกฎหมายอาญา (ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน) มาตรา 343, 343

อย่างไรก็ตาม หากคุณได้กำไรจากการเทรดเอง คุณก็ยังจะต้องเสียภาษีให้รัฐบาลอยู่นะจ๊ะ ซึ่งเราสามารถระบุเสียภาษีเงินได้ประเภทที่ 4 หรือ ประเภทที่ 8 อย่างใดอย่างหนึ่งจ้า T^T [10]

รูปที่ 4 หากเทรด forex จนร่ำรวยแล้ว คุณก็ไปเสียภาษีด้วยนะ ก่อนที่กรมสรรพากรจะไล่เก็บย้อนหลัง

Step 2 การเลือกโบรกเกอร์ forex ที่เหมาะสม

สิ่งต่อมาที่นัก เทรด forex มือใหม่ จะต้องทำความรู้จักกันหน่อยคือ การเลือกโบรกเกอร์ forex ครับ ไม่งั้นคุณเองอาจจะต้องตกเป็นเหยื่อการแชร์ลูกโซ่อย่างกรณีของ Forex3D ได้นะครับ หลักการง่าย ๆ เลยคือแค่พิจารณาเลือกใช้โบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือ ซึ่งวิธีการดูคร่าว ๆ มาดังนี้จ้า

Commission

  • Commission คือ ค่าบริการที่โบรกเกอร์ดำเนินการเป็นตัวกลางการซื้อขายให้ ปกติแล้วค่า commission จะขึ้นอยู่กับการกำหนดของโบรกเกอร์เองว่าจะเรียกเก็บเท่าไหร่ และเก็บบัญชีประเภทไหน [11]
  • การเปรียบเทียบค่า Commission ระหว่างโบรกเกอร์เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเลือกครับ เพราะมันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเทรดของเราได้ ซึ่งบางโบรกเกอร์ก็ไม่ได้เก็บจากค่า Commission แต่จะไปเก็บจากค่าอื่น ๆ แทน เช่น ค่า Spread เป็นต้น

Spread

  • Spread คือ ความต่างของราคาซื้อ (ask) กับ ราคาขาย (bid) ครับ ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราเดินผ่านร้านขายทอง เขาจะปิดป้ายเอาไว้ว่า ราคารับซื้อ 40,000 บาท ราคาขาย 40,550 บาท ความต่างกันของราคาคือให้เอามา ลบ กัน ดังนั้นเราจะได้ค่าความต่าง หรือ ค่า Spread = 550 บาท ครับ
  • การเปรียบเทียบค่า Spread ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้จริง ๆ เพราะถ้าค่า Spread กว้างมาก ๆ โอกาสที่เราจะทำกำไรก็จะลดลง เช่น ถ้าซื้อทองมาวันนี้ด้วยราคาขายตากร้าน 40,500 บาท อีก 3 เดือนต่อมาทองราคาขึ้นเป็น 41,000 บาท แต่ร้านทองเขาปิดป้าย ราคาซื้ออยู่ที่ 40,500 บาท และราคาขาย 41,000 บาท คือ ถ้าเราขายเลยก็ไม่ได้กำไรครับ เพราะโดนค่า Spread กินกำไรไปแล้ว

Swap

  • Swap คือ ค่าธรรมเนียมในการเปิด Order เอาไว้ข้ามคืน ซึ่งค่า Swap สามารถเป็นได้ทั้งค่า บวก และ ลบ ขึ้นอยู่กับการกำหนดของโบรกเกอร์
  • บางโบรกเกอร์ก็ไม่มีการเรียกเก็บค่า Swap ครับ แต่ก็อยู่ว่าเราจะใช้บัญชีเทรดประเภทไหนอีกที ซึ่งเราสามารถเปรียบเทียบค่า Swap, Commission, Swap ได้จาก www.myfxbook.com ครับ

การฝากถอนเงิน

  • เนื่องจากไทยเรามีมิจฉาชีพค่อนข้างเยอะ ดังนั้นโบรกเกอร์ไหนที่ฝากถอนไวจะเป็นอะไรที่ดีมากสำหรับไทยเรา
  • ปกติเรทการฝากถอนของโบรกเกอร์จะอยู่ที่ประมาณ 1-3 วันทำการ หากโบรกเกอร์ไหนช้า ๆ หน่อยก็จะราว ๆ 3-7 วันทำการ

Regulator

  • Regulator เป็น หน่วยงานที่ควบคุมดูแลความประพฤติของโบรกเกอร์ มีหน้าที่ควบคุมให้โบรกเกอรืไม่เกเร
  • Regulator จะตรวจสอบความถูกต้องของโบรกเกอร์ แล้ว ออกใบอนุญาต หรือ License ให้
  • หน่วยงานเหล่านี้จะแบ่งออกเป็น Zone ตามทวีปและภูมิภาค
  • เราสามารถแบ่งระดับคุณภาพของ Regulator ได้ วรรณะที่แบ่งเราจะเรียกว่า “Tier” ซึ่งคุณสามารถเข้าไปหาดูได้ที่ investingoal.com และ forexbrokers.com

รูปที่ 5 หากใครที่ไม่อยากต้องไปนั่งรีวิวเองให้เมื่อนดาก ก็สามารถเข้ามาดูรีวิวและการจัดอันดับโบรกเกอร์ forex ที่ดีที่สุดของเราได้ เพียงคลิ๊กที่นี่

Step 3 เรียนรู้การใช้แพลตฟอร์มการเทรด

ใน Step ที่ 3 นี้เรามาดูกันหน่อยครับว่า เราจะสามารถใช้แพลตฟอร์มไหนเทรดได้บ้าง… อันที่จริงแล้วมีเยอะครับ ไม่ว่าจะเป็น Metatrader, cTrader, Tradingview, Ninja Trader, หรือแม้แต่ Web trade ที่โบรกเกอร์เป็นผู้พัฒนาขึ้นเอง

แพลตฟอร์มที่ไทยเรานิยมใช้คือ Metatrader ครับ เขาเป็น Software กลางที่พัฒนาจาก Developer ชาวรัสเซีย ซึ่งตอนนี้ถือว่าเป็นมาตรฐานของทุกโบรกเกอร์ต้องมีให้ดาวน์โหลดมาใช้งานครับ และอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่คนไทยชอบมาก ๆ ใน ปี 2024 เป็นต้นมาคือ Tradingview

เนื่องจาก Tradingview นั้นมีความโดดเด่นมากขึ้นก็คือ Technical indicator ที่มีให้เลือกเยอะมากซึ่งเขาอนุญาตให้ User สามารถพัฒนา indicator ใช้กันเองได้ฟรี หรือ จะพัฒนาออกมาขายให้เทรดเดอร์ท่านอื่นด้วย

Step 4 การวิเคราะห์ตลาด Forex

มาเข้าสู่ Step ที่ 4 กันครับ ในขั้นนี้เราจะมาว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์ตลาด forex เพื่อหาจุดเข้าซื้อขายกันละ ซึ่งจริง ๆ เนื้อหาเยอะมากครับ แต่ผมอาจจะทำได้แค่เกริ่นให้ทราบพอสังเขปก่อน ถ้าสนใจอยากรู้ก็ติดตามเว็บไซต์ของเราเอาไว้นะครับ เราจะอัพเดทเนื้อหาความรู้ดี ๆ แน่น ๆ ออกมาให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันครับ

การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)

การวิเคราะห์แบบนี้จะเป็นการทำนายความเป็นไปได้ของตลาดผ่านการเก็บสถิติในอดีต ซึ่งเขามักจะตั้งสมมติฐานว่า ตลาดอาจจะไม่มีประสิทธิภาพในการชี้วัดมากพอแต่รูปแบบของราคาและแนวโน้มของข้อมูลในตลาดต่างหากที่สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ได้

ในบทความนี้ผมจะเสนอประมาณ 5 หัวข้อเทคนิคหลัก ๆ ที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้กันครับ ซึ่งใครอยากรู้เพิ่มก็เอา keywords นี้ไปค้นหาต่อได้เลยครับ

  • Price Action ผลลัพธ์ของการสู้กันระหว่าง “แรงซื้อ” กับ “แรงขาย” ภายในระยะเวลาในแต่ละ Time Frame จะมีด้วยเป็นร้อย ๆ รูปแบบเลย แต่ไม่จำเป็นต้องไปนั่งจำหมดนะครับ มันมีไม่กี่คนที่ทำแบบนั้นได้ รูปแบบหลักมีไม่เยอะครับ ยกตัวอย่างเช่น
    • รูปแบบ Hammer และ Inverted Hammer
    • รูปแบบ Harami
    • รูปแบบ Engulfing
  • Chart Pattern เป็นอีกหนึ่งเทคนิคช่วยให้วิเคราะห์กราฟอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีและสมเหตุสมผลมากขึ้น เนื่องจากทฤษฎีเหล่านี้อาศัยการเก็บสถิติและวิเคราะห์มาอย่างพอในระดับหนึ่งแล้ว ยกตัวอย่างเช่น
    • Dow theory -> การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคจากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ ที่มองว่าการเคลื่อนไหวของราคาจะเป็นไปตาม “วงจรเศรษฐกิจ”
    • Elliott wave -> ทฤษฎีการเทรดหุ้นที่ถูกปรับมาใช้ในตลาด forex มีแนวคิดประมาณว่า “การแกว่งขึ้นและลงของราคาที่เกิดจากจิตวิทยา รวมมักจะปรากฏในรูปแบบซ้ำ ๆ กันเสมอ”
    • Wyckoff logic -> เป็นเทคนิคสำหรับเทรดเดอร์รายเล็กที่ต้องการสู้กับเจ้า มันถูกจัดให้เป็นเบญจภาคีแห่งเทคนิค forex เลย

รูปที่ 6 ตัวอย่าง Chart pattern ที่เทรดเดอร์ทั่วโลกนิยมหยิบมาใช้วิเคราะห์กราฟ

  • Demand and Supply ความต้องการซื้อและความต้องการที่ขายของสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งเทียบกับปริมาณซึ่งจะส่งผลต่อราคาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
    • หลาย ๆ คนเรียกมันว่า แนวรับ แนวต้าน
    • การวาดเส้นแนวรับแนวต้านสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การดู Market structure, การใช้ indicator อื่น ๆ เข้าช่วย ไม่ว่าจะเป็น Volume profile, donchian channel เป็นต้น
  • Trend Line เป็นการตีเส้นแนวโน้ม ที่จะบอกได้ว่าตอนนี้ตลาดเป็นเส้นแนวโน้มขาขึ้น หรือ ขาลง ซึ่งเราสามารถตี Trend Line ได้หลากหลายวิธี เช่น การลากเส้นจากจุด Highest-High หรือ จากจุด Lowest-Low สำหรับขาขึ้น และขาลง ตามลำดับ
  • Indicators เป็นเครื่องมือที่ตั้งใจสื่อให้เรารู้ ก็คือ พฤติกรรมราคา เขาจะนำชุดราคาในอดีตมาคำนวณผ่านสมการต่าง ๆ ซึ่ง Indicator มีมากมายหลากหลายตัว แต่ที่เรานิยมกันจะมีหลักสิบ เช่น
    • Moving Average (MA) -> การคำนวณหา “ค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ของราคา” หรือ ของสินทรัพย์นั้น ๆ ครับ เขาจะใช้ข้อมูลย้อนหลัง xx วัน หรือ xx ชั่วโมง ตามที่เรากำหนด
    • Relative Strength Index (RSI) -> การคำนวณสภาวะ Overbought / Oversold ครับ ซึ่งเขาจะนำค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนย้อนหลัง xx แท่งเทียน ที่เป็นบวก และ ลบ
    • Average True Range (ATR) -> เป็นการวัดความผันผวนในตลาดที่ทำให้เรารู้ว่าชวงไหนสวิง ช่วงไหนเงียบ

การวิเคราะห์พื้นฐานปัจจัย (Fundamental Analysis)

หลาย ๆ คนที่ เทรด forex มือใหม่ พอได้ยินเกี่ยวกับการวิเคราะห์พื้นฐานปัจจัยก็อาจจะ งง กันนิดหน่อย จริง ๆ แล้วมันคือการวิเคราะห์ “ปัจจัยต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อราคาสินค้านั้น ๆ“ พูดง่าย ๆ ก็น่าจะเป็น การวิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจ ครับ

หลัก ๆ เราจะไปดูกันที่ forexfactory.com ครับ เพราะเว็บนี้จะตารางข่าวที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจรวมเอาไว้ ซึ่งดีต่อการเทรด forex มาก ๆ ครับ เขาจะแบ่งระดับความแรงของข่าวเอาไว้ให้เราด้วยครับ เช่น

  • สีเทา คือ วันหยุด หรือ วันปิดทำการ ความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับสกุลเงินที่จับคู่ด้วย
  • สีเหลือง คือ มีผลกระทบต่อค่าเงินน้อย
  • สีส้ม คือ มีผลกระทบต่อค่าเงินแต่ไม่รุนแรง
  • สีแดง คือ มีผลกระทบต่อค่าเงินมากที่สุด

ข่าวเศรษฐกิจมาเยอะมากครับ แต่จะมีไม่กี่ข่าวที่เราจะโฟกัสและมานั่งวิเคราะห์กันจริง ๆ ได้ แก่

  • Unemployment Claims
  • Gross Domestic Product (GDP)
  • Consumer Price Index (CPI)
  • Interest Rate (FED rate)
  • Non-Farm Payrolls (NFP)

รูปที่ 7 แสดงตัวอย่างหน้า website forexfactory ที่โชว์ปฏิทินข่าวเศรษฐกิจ

Step 5 การจัดการความเสี่ยงในตลาด Forex

ลำดับต่อมาที่เทรดเดอร์มือใหม่ควรศึกษาคือการจัดการความเสี่ยงครับ ซึ่งเราจะแบ่งออกเป็น หลักการกำหนด Lot size, การตั้ง Stop loss การตั้ง Take profit, และอื่น ๆ ซึ่งในบทนี้ขอเกริ่นแต่เพียงหลักการครับ

การบริหารเงินในพอร์ต (Money Management)

หลักการบริหารเงินคือการแบ่งเงินจากงานประจำ หรือ Active income เอาไว้ซัก 10% ของเงินเดือนเพื่อมาลงทุนครับ เราไม่ควรจะใช้เงินส่วนอื่นมาลงเพราะถ้าเสียไปแล้วมันจะกระทบต่อการใช้ชีวิตของเราได้

เมื่อเราแบ่งออมเงินเพื่อลงทุนได้ 1 ก้อนแล้ว เราจะมาเลือกระบบการเทรดที่เหมาะสม อาจจะเริ่มแบ่งพอร์ตเป็น 2 พอร์ตก่อนก็ได้ เช่น

  • พอร์ตที่ 1 เป็นพอร์ตที่ปั่นกระแสเงินสด แสดงว่าพอร์ตนี้เราจะต้องยอมรับความเสี่ยงที่สูงได้ เน้นระบบเทรดที่กำไรเยอะ ๆ เพื่อเอากำไรไปวางไว้ในพอร์ตที่ 2
  • พอร์ตที่ 2 เป็นพอร์ตที่ใช้รักษาเงินทุน อาจจะออกแบบระบเทรดให้เป็นมีความเสี่ยงต่ำ กำไรต่ำ เป็นต้น

คุณสามารถหาอ่านเกี่ยวกับการคำนวณ Lot size จากบทความก่อน ๆ ที่ผมเขียนเอาไว้ให้ภายในเว็บนี้ได้ครับ D

สรุป

เรามาสรุปอีกครั้งนะครับสำหรับ เทรด forex มือใหม่ แบบ step by step ซึ่งสิ่งที่เราจะต้องรู้มีเยอะมากแต่เราจัดให้คุณได้เรียนรู้ไปทีละอย่าง ทีละ step ดังนี้

  • Step 1 ทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐาน forex
  • Step 2 การเลือกโบรกเกอร์ forex ที่เหมาะสม
  • Step 3 เรียนรู้การใช้แพลตฟอร์มการเทรด
  • Step 4 การวิเคราะห์ตลาด forex
  • Step 5 การจัดการความเสี่ยงในตลาด forex

อ้างอิง