Day Trading Strategy

เส้น

Day Trading Strategy

                เนื่องจาก trading styles แบ่งหลักการเทรดออกไปต่างๆ ตามการถือออเดอร์ต่างกันออกไป ที่เทรดแบบ position trading, swing trading, day trading และ scalp trading สำหรับเทรดเดอร์รายย่อยกลยุทธ day trading น่าจะตอบโจทย์ได้ดีที่สุด เพราะถ้าเทรดแบบ scalp trading ก็จะเสี่ยงเกินไป และไม่สามารถเก็บบีบจากราคาวิ่งยาวๆ ได้ เพราะกลยุทธ์ แบบนั้นเน้นเทรดตอนเห็น momentum ชัดๆ แล้วดูระยะจุดราคาวิ่งไปประกอบ แต่ Day trading กลับต่างออกไป เป็นการเทรดที่เน้นภาพใหญ่ขึ้น เน้นเก็บการเคลื่อนไหวราคายาวๆ

                อีกอย่างหนึ่งที่ Day trading น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีคือ แต่ละวัน price levels support/resistance demand/supply หรืออื่นๆ เปลี่ยนไปทุกวัน การจะมาถือรอเทรดยาวๆ แบบ position trading และ swing traing กลับยากเพราะเงื่อนไขทุนถ้าราคาวิ่งสวนหรือถือรอเพื่อเข้าต่อ Day trading เป็นการที่เน้นปิดการเทรดวันต่อวัน หรือาจถือต่ออีก 1-2 วันถ้าราคายังยืนยัน และเป็นการฝึกปล่อยให้กำไรสะสมยาวๆ ได้ด้วย อีกอย่างหนึ่ง price level ที่เห็นใน Day สามารถดึงดูดเทรดเดอร์ได้เยอะเพราะเห็นได้ชัดในหลายระดับเทรดเดอร์ และการถือรอกรณี trapped traders ก็ยังเยอะ กับจุดที่ราคาเพิ่งเปลี่ยนข้าง เพราะถ้านานเกิน Day ไปเป็น W1 price level กลุ่มเทรดเดอร์ที่เป็น trapped traders อาจออกไปเยอะ เพราะไม่อยากถือรอนานและช่วงที่ผ่านมาสามารถทำกำไรสะสมพอที่จะปิดชดเชยออเดอร์ที่ติดลบได้ถ้าปิด เลยทำให้เวลาราคากลับมาเทรด day price level ที่ห่างจากจุดอ้างอิงไม่ค่อยทำงานดี หรือต้องรอให้ price structure ใหม่เกิดขึ้นก่อนซึ่งต่างจากจุดที่เกิดใกล้ๆ

                กลยุทธคือ ข้อ 1. เปิดชาร์ต D1 หาแท่งเทียนที่เป็นผลจากการเข้าเทรดจริงๆ มีการชนะฝั่งตรงข้าม อาจเป็นในรูป breakout/breakdown  ที่ไม่ไกลจากราคาปัจจุบัน ข้อ 2. ดูว่าถ้า imbalance ที่เป็นผลที่เกิดขึ้นจากข้อแรกเทรดเดอร์กลุ่มไหนจะเดือดร้อนถ้าราคาไปต่อ – ถ้าเป็นช่วง day consolidation หลายแท่งเทียนหน่อยจะสะสมออเดอร์มากเพราะออเดอร์ที่มาจากประเภทเทรดเดอร์ประเภทต่างๆ (เช่น พวกเทรด Scalping พวกเทรด 15 นาที พวกเทรด 30 นาทีหรือพวกเทรด Price action TF ที่ต่ำกว่าวัน) ที่เทรดภายใต้กรอบข้อมูล D1  3. เปิด timeframe ย่อย (แนะนำให้ใช้ H1) เพื่อดูว่าตอนราคาวิ่งเกิด imbalance นั้นราคาเปิดเผยตรงไหนที่ราคาเกิดการโต้ตอบ เพื่อจะได้หาจุดเข้าจะช่วยให้เข้าเทรดถูกที่ 4. ระยะทำกำไร Profit zone หรือ risk reward ต้องมากพอ 5. ใช้ timeframe ย่อย H1 เพื่อหาจุดเข้าตอนเปิดออเดอร์จริงๆ อาจลงไปดู M15 เพื่อให้สัมพันธ์กับ H1 ก่อนจะดี  6. ระยะห่างจากจุด D1 imbalance และตอนราคากลับเพื่อเข้าเทรดผ่านมาไม่นาน

                จากตัวอย่างด้านบน การเทรด D1 แต่ละ setup  เป้าทีพีจะอยู่ที่ 50-70-100 บีบขึ้นในแต่ละออเดอร์  เริ่มด้วย D1 เพื่อดูว่าเราจะตั้ง Day Trading Strategy อย่างไร เลข 1 เกิด imbalance ยืนยันการเข้าเทรด ภายในแท่งเทียนเดียวราคาลงแรงและปิดต่ำกว่า low ทั้งหมดของกรอบเลข 2 ตรงส่วนนี้เราได้ trapped traders ที่เปิด buy positoins หลังจากที่ราคาเอาชนะเลข 3 แล้วพยามเทรดต่อหลัง breakout เลข 3 แต่ราคาไม่ไปไหนและหลายวันผ่านมา (ดูจากบาร์ day หลายแท่งที่อยู่ในกรอบก็สามารถสะสม positions จากพวกที่เทรดใน range กรอบราคาไปในตัว)  บาร์ D1 ต่อมา เราเห็นว่าราคาไม่ไปไหนมาก มาปิดต่ำกว่าบาร์ D1 imbalance  เล็กน้อย เห็นหางบาร์ยาวๆ ทั้ง 2 ข้างบ่งบอกถึงไม่มีฝ่ายไหนชนะต่อ แต่ที่ข้อมูลที่ได้จากบาร์ประเภทที่แทงหางยาวๆ เมื่อเราคิดถึงเรื่องออเดอร์คือ ราคาได้ไปเคลียร์ออเดอร์ตรงที่ทางหางบาร์ไปให้ด้วย เราก็ใช้ข้อมูลนี้ประกอบการวิเคราะห์บาร์ D1 imbalance ต่อ ราคาก็ยืนยันเจตนาการเข้าเทรดของขาใหญ่อยู่ มาดูส่วน timeframe ย่อยประกอบที่หาจุดเข้าเทรด ชาร์ต H1 การวิ่งลงแรงๆ ของ D1 imbalance ลงมาถึงกรอบเลข 5 ตอนที่ราคาวิ่งลงเราจะเห็นว่าราคาโต้ตอบจุดแรกที่เลข 4 เพราะเราเห็นบาร์ H1 2 บาร์มีหางแสดงว่าขาใหญ่ปิดกำไรเพื่อเทส demand ตรงพื้นที่ช้ายมือว่ามีเทรดเดอร์อยากเทรดหรือเปล่า ผ่านไปอีก 2 บาร์สุดท้ายก็ลงอย่างแรงและยังลงแรงแบบด้านบนอีก แสดงว่าเป็นการเข้าตลาด (placing trades) อีกครั้งของขาใหญ่ – เราเลยได้จุดอ้างอิงในการเข้าเทรดเมื่อราคากลับมาเทสที่จุดนี้ พอมาถึงเลข 5 ราคาก็โต้ตอบที่กรอบ demand ช้ายมืออีกแต่ราคาปิดล่างได้ แถมไม่มีราคาเด้งขึ้นด้วยแต่เราก็ตีกรอบเพื่อเป็นจุดอ้างอิง แต่จุดที่เราโฟกัสคือกรอบเลข 4 พื้นที่หลังกรอบเลข 5 ก็เป็นส่วนของบาร์ D1 ที่มีหางทั้งสองข้างยาวๆ หลัง imbalance บาร์ เราก็ pending sell limit ที่กรอบเลข 4 รอราคากลับมาได้แบบ set and forget ได้เลยถ้าเรามองแบบนี้เป็น อีกอย่างหนึ่งต้องไม่ลืมข้อ 5 ที่บอกว่าระยะห่างจากจุด imbalance และราคากลับมาเทสแล้วไม่นานเกินไป

                เลข 1 d1 imbalance บาร์เดียวปิดต่ำกว่ากรอบเลข 2 และได้ trapped positions (trapped traders) ที่เปิด บาย ดูร่องรอยที่ราคาเปิดเผยเพิ่มด้วยการเปิดชาร์ต H1 ก็เป็นการเปิดเทรดชัดที่เลข 3 และตามด้วยเลข 4 ตรงโครงสร้างเป็น supply เหนือ supply ยิ่งจะทำให้พื้นที่ตรงนี้แข็งเพราะมี 2 พื้นที่ที่มี unfilled orders กองอยู่ที่จะช่วยกันหยุดราคาตอนขึ้นมา ถ้าราคาผ่าน supply ล่างมาขึ้นมาถึงตัวบนยิ่งทำให้ supply ตัวบนทำงานดี บาร์ d1 ผ่านไป 3 บาร์ราคามีการเทส supply ล่างตามที่คาด ก็จะมี stop orders ตรงนี้ที่จะทำให้ราคาไปถึง supply ตัวบนได้ง่ายเลยเป็นบาร์ยาวๆ 3 บาร์ตอนราคาไปหา supply ตัวบนก็ได้เงื่อนไขเทรดเปิด sell ได้ หลักการเดียวกันกับตัวอย่างบนแค่โครงสร้างอาจต่างกันออกไปบ้าง

                นี่ก็แบบเดียวกัน  ย้ำ Day trading strategy ที่แนะนำนี้ต้องไม่ลืมข้อ 5 ที่บอกว่าระยะห่างจากจุด D1 imbalance และตอนราคากลับเพื่อเข้าเทรดผ่านมาไม่นาน ท่านจะหา setup ความเป็นไปได้สูงได้ง่าย และสามารถเทรดแบบตั้ง pending orders เปิดเทรดแบบ set and forget ได้เลย

 

ทีมงาน  www. .com

เส้น