บทเรียนระดับอนุบาล  ว่าด้วยเรื่องของโบรคเกอร์

วันนี้เป็นบทเรียนในระดับอนุบาลครั้งแรกครับ เราขยับเข้ามาเรื่องใกล้ตัวอีกนิดหน่อย คือ โบรคเกอร์ คือตัวแทนที่เราจะต้องมา แล้วโบรคเกอร์นั้นมีรายละเอียดอะไรบ้าง เราจะมาดูกันในบทเรียนต่อไปนี้

https //youtu.be/Tjrct0WVIrM

ประเภทของโบรคเกอร์

โบรคเกอร์ในตลาด Forex มี 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ พวก Dealing Desk  และ No Dealing Desk โดย กลุ่ม Dealing Desk คือกลุ่มที่มีการทำราคา ทำตลาด มีการเทรด ตรงข้ามกับเทรดเดอร์ และ No Dealing Desk คือ กลุ่ม Forex โบรคเกอร์ที่ทำการส่งออเดอร์ของคุณเข้าไปในตลาดกลางอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด ซึ่งเป้าหมายของแต่ละโบรคเกอร์ก็มีความแตกต่างกัน และวิธีการก็แตกต่างกัน โดยสรุป และอธิบายได้ดังต่อไปนี้

NDD และ DD Broker

ภาพที่ 1 แสดงข้อสรุป NDD และ DD Broker

จากภาพข้างต้นเป็นตารางสรุปลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันของโบรคเกอร์ ซึ่งเนื่องจาก โบรคเกอร์ประเภท Dealing Desk เขาทำหน้าที่ทำกำไรจากส่วนต่างราคาด้วย เขาจะทำการเทรดตรงข้ามคุณและพนันว่าคุณจะไม่ได้กำไร โดยใช้ Pool เงินที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งเมื่อคุณส่งออเดอร์ไป เขาก็จะส่งออเดอร์ตรงข้ามทันที เมื่อคุณขาดทุนเขาจะกำไร เมื่อคุณกำไรเขาจะขาดทุน และในท้ายที่สุดเขาจะพนันว่า เราจะใช้ Leverage ที่มาก เราจะส่ง Lot ที่มีขนาดใหญ่ เมือ่เราล้างพอร์ท เขาก็จะได้กำไรจากเงินของเราทั้งหมด โดยนอกจากเขาจะได้กำไรจากตรงนี้แล้ว เขายังได้กำไรจากส่วนต่างของ Bid และ Offer ด้วย นอกจากนี้ Broker แบบ Dealing Desk ก็ยังสามารถทำรายได้จากการทำกำไรจาก Swap การเก็บค่าคอมมิชชั่น นั่นคือ แนวทางการได้รายได้ของโบรคเกอร์  ทำให้พฤติกรรมการรับออเดอร์ส่งออเดอร์สามารถแตกต่างกันได้ เช่น โดน Requote ส่งไปแล้วถูกปฏิเสธราคา เป็นต้น

ขณะที่ Broker ที่เป็น No Dealing Desk เป็นการส่งคำสั่งจับคู่ราคาเข้าไปใน ตลาดกลาง ทำให้ราคาที่ได้บางครั้งก็อาจจะแตกต่างจากที่ลูกค้ากำหนดอยู่นิดหน่อย เพราะว่า สภาพคล่องของตลาดไม่ได้มีราคาที่ลูกค้าต้องการ แต่ราคาที่ได้ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก และส่งเข้าตลาดทันที ราคาได้ของโบรคเกอร์ไม่มีรูปแบบอื่น คือ ค่าธรรมเนียม ความมุ่งหมายของโบรคเกอร์ประเภทนี้คือ  การที่อยากให้ลูกค้าเทรดได้กำไร และสามารถเทรดไปกับโบรคเกอร์ไปนาน ๆ เพราะจะได้กำไรจากค่าธรรมเนียมอย่างต่อเนื่อง แต่ผิดกับโบรคเกอร์ที่เทรดตรงข้ามกับคุณเพราะเขาอยากได้เงินของคุณด้วยส่วนหนึ่ง ค่าธรรมเนียมหรือค่า Spread ก็จะต่ำไปด้วย

อย่างไรก็ตาม  ไม่ว่าโบรคเกอร์ประเภทไหน ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่โบรคเกอร์ หรือประเภทของโบรคเกอร์เลย ภายใต้สมมุติฐานว่า โบรคเกอร์นั้นมีจริยธรรมและไม่โกงโดยการปิดโบรคเกอร์หนีก็ได้ทั้งนั้นครับ ซึ่งถ้าว่ากันอย่างนี้ ปัญหาที่เราเจอในการเทรด มักจะเกิดจากตัวเทรดเดอร์เองมากกว่า เช่น การใช้ Leverage ขนาดใหญ่ การใช้ Lot ขนาดใหญ่ ทำให้เราล้างพอร์ทได้ไวมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นโบรคเกอร์แบบไหนก็ล้างพอร์ทได้ทั้งนั้น ต้องย้ำครับว่า ถ้าโบรคเกอร์มีจริยธรรมและไม่ปิดหนีเราแล้ว ก็ถือว่าเป็นโบรคเกอร์ที่มีคุณภาพและสามารถเปิดออเดอร์ให้เราและทำกำไรได้พอ ๆ กันทั้งนั้นครับ เพียงแต่ว่า อย่าตกหลุมพรางของตัวเองเข้าไปก็แล้วกัน

Spread คืออะไร

เมื่อพูดถึงลักษณะของโบรคเกอร์ สิ่งที่เราจะไม่พูดถึงไม่ได้คือ Spread ลักษณะของ Spread ก็มี 2 แบบเช่นเดียวกับ Broker คือ Fixed Spread และ Variable Spread นั่นคือ Spread คงที่และ Spread ผันแปร ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบก็ต้องบอกว่ามีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน คือ

Fixed Spread คือ การกำหนด Spread หรือส่วนต่างระหว่าง Bid กับ Offer ไว้เป็นค่าคงที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเท่ากับ 2 Pip สำหรับค่าเงิน EURUSD ซึ่งมีสภาพคล่องสูง ส่วนค่าเงินอื่น ๆก็ถูกกำหนดแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม Broker ที่กำหนด Spread เป็นค่าคงที่ หรือบัญชีแบบนั้นแทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว เนื่องจาก Broker ที่เกิดใหม่มีจำนวนมาก ต้องการแย่งชิง Credit ลูกค้า ทำให้ไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่ ซึ่งทำให้ โบรคเกอร์ประเภท Dealing Desk นั้นหายไปเป็นจำนวนมาก และมีแต่โบรคเกอร์แบบ Non-Dealing Desk เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผมก็พอเห็นอยู่บ้างเมื่อก่อนตอนที่ผมเข้าเทรดในตลาดใหม่ ๆ แต่ตอนนี้เขาก็เปลี่ยนแปลงตัวเองไปแล้วครับ

Variable Spread คือ การปล่อย Spread นั้นเปลี่ยนไปตามการเคลื่อนไหวของตลาด และราคาที่มีสินค้าให้บริการ ซึ่งบางครั้งก็อาจจะกกว้างมากเช่นกัน กว้างกว่า 2 pip เสียอีก

เปรียบเทียบ Spread

ภาพที่ 2 เปรียบเทียบ Spread

ข้อดีและข้อเสียของ Spread ทั้ง 2 แบบก็แตกต่างกันไป Variable Spread บางครั้งก็ไม่ได้ราคาถูก แต่ว่าถ้าเป็นโบรคเกอร์แบบที่ Dealing Desk ในช่วงที่โบรคเกอร์ Non Dealing Desk ได้ราคาแพง แต่ Dealing Desk จะไม่ได้ออเดอร์เลย โดน Requote ตลอดครับ ซึ่งก็เป็นข้อดีและข้อเสียของมันครับ