ว่าด้วยเรื่องของ Margin  บทเรียนเตรียมอนุบาล

เรื่องของ Margin

วันนี้เป็นบทเรียนสุดท้ายในระดับเตรียมอนุบาล พรุ่งนี้เราจะขึ้นชั้นอนุบาลกันแล้วครับ ก็ 13 บทเรียนพอดีสำหรับบทเรียนเตรียมอนุบาล เตรียมกันมาเยอะแล้ววันนี้เราก็จะมาดูศัพท์แสงที่สำคัญที่ต้องรู้ แล้วก็ผมจะพาไปรู้จักกับเรื่องที่สำคัญในการเทรด เรื่องของ Margin เรื่องนี้มีความสำคัญเพราะว่า มันเกี่ยวกับกำไรขาดทุนของเรา เกี่ยวกับผลเทรดของเรา ถ้าหากเราผิดพลาดก็จะทำให้เราสูญสิ้นเงินที่เราเก็บสะสมมาอย่างยากลำบากได้ เรามาดูเนื้อหากันเลยครับ

 

Margin คืออะไร

ต้องย้อนไปก่อนที่การซื้อขายสินค้าปกติ เราจะชำระราคาของสินค้าเต็มจำนวน เช่น ซื้อขาย 2 บาทก็ต้องจ่าย 2 บาท การค้าขายซื้อพริกแห้งมากิโลกรัมละ 3 บาท และขายไปในกิโลกรัมละ 5 บาท ก็จะมีการชำระเต็มราคา แต่ว่าในการซื้อขายสินค้าที่มี Leverage จะแตกต่างออกไปเพราะว่า เรามีเงินไม่พอในการซื้อขาย วิธีการคือ เป็นการวางหลักประกันสินค้า โดยให้วางเงินประกันไว้ก่อน ตามสัดส่วนที่กำหนด ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะใช้ Leverage หรือซื้ออำนาจต่อรองเท่าไหร่

การใช้ Leverage นี้ก็ต้องวางหลักประกัน ซึ่งหลักประกันที่ว่าในการซื้อขายสินค้านั้นเรียกว่า Margin ดังนั้น Margin คือหลักประกัน จากยอดเงินทั้งหมดที่เรามี เมื่อมีการซื้อขายสินค้า เสร็จกระบวนการแล้วแทนที่จะมีการชำระเต็มจำนวนก็ให้ชำระแค่ยอดกำไรขาดทุนที่ต้องจ่าย หรือ รับก็พอ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่าง สมมุติ นาย A ซื้อทองคำมา 1 บาท บาทละ 20,000 บาท ซึ่งเมื่อมีการวางหลักประกันที่ 2000 บาท คือ 10 % ของราคาทองคำ นายเอ ต้องกันเงินสำหรับหลักประกันไว้ ปรากฏว่า ราคาทองคำลง ทำให้ราคาลดลงเหลือราคาบาทละ 19,800 บาท ลดลง 200 บาท นาย A ขายทองขาดทุน 200 นายเอ ก็จ่ายแค่ 200 บาทส่วนที่ขาดทุนเท่านั้น และเหลือเงินกลับมาแค่ 19,800 ไม่ต้องลำบากจ่ายเต็มจำนวนให้กันไปมา

ตัวอย่างของ Margin ก็เป็นการวางเงินค้ำประกัน และชำระแค่ส่วนต่างกำไรขาดทุนที่ซื้อและขายเท่านั้นเอง

Balance คืออะไร

ยอด Balance ก็คือ ยอดเงินลงทุนทั้งหมดที่เรามี ตัวอย่างทองเมื่อกี๊ เราก็อาจจะมีเงินทุนสัก 10,000 บาท มันมากพอแต่ก็ไม่มากพอที่จะซื้อทองคำราคา 20,000 บาท แต่ก็มากพอวางค้ำประกันที่ 2,000 บาท หรือ 10 % ของมันได้ ตัว Balance คือ ตัว 10,000 บาทนั่นแหละครับ มันคือยอดเงินลงทุนรวมที่เรามีทั้งหมดและฝากไว้กับผู้ที่ดำเนินการซื้อขายแทนเราหรือ โบรคเกอร์นั่นเอง

Unrealized PL คืออะไร

Unrealized P/L คือ ผลกำไรขาดทุนที่ยังไม่ได้รับเข้ามา ถ้าหากว่า เรารับซื้อขิงมาขาย โดยซื้อขิงมากิโลกรัมละ 36 บาทจำนวน 1000 กิโลกรัม หรือ 36,000 บาท ปรากฏว่า มันราคาขึ้นไปที่กิโลกรัมละ 40  บาท หรือ 4 บาทต่อกิโลกรัม เรามี 1000 กิโลกรัม ก็เป็นเงินอยู่ 4000 บาทแต่คิดว่ามันจะราคาแพงขึ้นอีกก็เลยยังไม่ขาย ด้วยเหตุนี้ มันก็เลยเรียกว่า  Unrealized P/L ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้ทำกำไรและขาดทุน มันจึงเรียกว่า Unrealized แต่ถ้าหากเราตกลงใจที่จะขายสินค้าไปแล้ว มันก็เรียกว่า Realized P/L หรือมันก็คือ กำไรที่รับรู้ไปแล้วนั่นเอง

ล้างพอร์ท คืออะไร?

คำสุดท้ายคือ ล้างพอร์ท เป็นคำที่เทรดเดอร์ไทยใช้กันเท่านั้น ถ้าหากว่าใช้ในวงการ การเทรด อนุพันธ์ก็จะถูกเรียกว่า Margin Call หรือถ้าหากอยู่ในวงการตลาดหุ้น ของฝรั่งก็เรียกว่า Margin Call เช่นเดียวกัน Margin Call มันเป็นช่วงหนึ่งก่อนที่จะถึงอาการที่เรียกว่า ล้างพอร์ท นั่นคือ เพราะว่า Balance เราไม่พอและมันกินไปจนถึง Margin ที่วางค้ำไว้แล้ว ก็เลยเรียกให้เติม Balance เข้ามา แต่ว่าถ้าไม่เติมและปล่อยจนหมดก็ได้ เงินก็จะหมดไป และ position ที่เกิดอยู่ก็ไม่ได้กลับมาอีก

สถานะที่เงินหมดและไม่มีเงินอยู่ในพอร์ทเพราะว่า position ปิดนั้นเรียกว่า ล้างพอร์ท การล้างพอร์ทนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่พลาด ซึ่งการล้างพอร์ทเป็นเรื่องที่ไม่พึงประสงค์มากนัก แต่ว่า ทุกคนก็จะได้รับประสบการณ์ และเรียนรู้ที่จะไม่ล้างพอร์ท นั่นจึงเป็นการเรียนรู้ที่ดีของเทรดเดอร์ โดยประสบการณ์ของผู้เขียน ก็ล้างพอร์ทมาไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง โดยแต่ละครั้งก็แล้วแต่จำนวนเงินจะมากน้อยขนาดไหน ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ เลยก็คือไม่ยอมตั้ง Stop loss และคิดว่ามันจะไม่สวนทางกับเรา การเทรดที่ดีจึงต้องมีการเรียนรู้จากความผิดพลาดเป็นธรรมดา

จบลงไปแล้วสำหรับบทเรียนเตรียมอนุบาล ซึ่งเป็นบทเรียนพื้นฐาน ในวันต่อไปเราจะขึ้นบทเรียนอนุบาล และเริ่มศึกษาเนื้อหาที่ค่อย ๆ ซับซ้อนขึ้น โดยมันจะเกี่ยวข้องกับเครื่องมือและการใช้โปรแกรมมากขึ้น จนถ้าหากใครเผลอไม่ได้ติดตามก็จะทำให้งงเอาได้ง่าย ๆ สำหรับมือใหม่

 

Block "9800" not found