วิธีควบคุมความเสี่ยงในการเล่น Forex ด้วย Correlation

วิธีควบคุมความเสี่ยงในการเล่น Forex ด้วย Correlation

การซื้อขายค่าเงิน หรือ Foreign Exchange นั้น แม้ว่าหลายๆเว็บไซต์จะพยายามโน้มน้าวให้นักลงทุนรายใหม่เชื่อว่าเป็นการเทรดเล่นง่ายและไม่มีความเสี่ยง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ข้อความเหล่านั้นล้วนถูกเขียนขึ้นมาเพื่อดึงความสนใจจากนักลงทุนรายใหม่ที่ต้องการนำเงินเก็บมาต่อยอดให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และตลาด Forex ก็เป็นคำตอบของนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงเหล่านั้น นักลงทุนที่มีความรู้พื้นฐานดีพอก็จะสามารถเอาตัวรอดในตลาด แต่นักลงทุนอีกส่วนกลับไม่โชคดีเท่า หรือในกรณีที่แย่สุด ๆ คือถูกบังคับให้ออกจากตลาดเพราะเงินทุนหมดสิ้นแล้ว

วิธีควบคุมความเสี่ยงในการเล่น Forex ด้วย Correlation 1

การควบคุมความเสี่ยงทำให้การซื้อขาย Forex แตกต่างกับการพนัน ทั้งนี้เพราะการพนันนั้นเราไม่สามารถควบคุมความเสียหายจากการเล่นได้ ในบางครั้งแม้แต่การเพิ่มลดปริมาณเงินที่ใช้พนันก็ไม่สามารถทำได้ ผิดกับการควบคุมความเสี่ยงในการซื้อขาย Forex ที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนปรับเปลี่ยนปริมาณเงินลงทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงในแต่ละสถานการณ์ นอกจากนี้แล้วยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถออกจากการซื้อขายในจุดที่คาดว่าจะพยากรณ์ผิด  ซึ่งจะช่วยควบคุมความเสียหายไม่ให้รุนแรงมากนัก

เพื่อป้องกันความเสี่ยงอันเกิดจากความผันผวนของราคา ตัวเลขเศรษฐกิจ หรือสาเหตุอื่น การจัดการความเสี่ยง หรือ Risk Management จึงเป็นขั้นตอนหนึ่งในการวางแผนการเล่นที่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม หรือถ้าจะให้ดี คือต้องบังคับให้ตัวเองทำการควบคุมความเสี่ยงก่อนการเข้าซื้อขายในแต่ละครั้ง

การกระจายความเสี่ยง และการพิจารณา Correlation

หนึ่งในวิธีการควบคุมความเสียหายอันเกิดจากการพยากรณ์ทิศทางราคาผิด นั่นคือการกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดอื่น และไม่เล่นเพียงตลาดเดียว โดยมีเงื่อนไขว่า การเคลื่อนที่ของราคาของตลาดเหล่านั้น จะต้องไม่มีสหสัมพันธ์ หรือ Correlation ต่อกัน นั่นคือ ถ้าตลาด A กับ ตลาด B มีการเคลื่อนที่ของราคาไปในทิศทางเดียวกัน ให้เลือกเล่นตลาดใดตลาดหนึ่งเท่านั้น

Correlation

รูปภาพที่ 1 แสดงสหสัมพันธ์ระหว่าง Forex แต่ละตัวเปรียบเทียบกับ EUR/USD

จากรูปด้านบน จุดสีแดงจะแสดงความมีสหสัมพันธ์เป็น + ต่อกัน นั่นคือจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น AUD/HKD กับ EUR/USD ใน TF 1 Hour ถ้าราคาของ AUD/HKD ปรับตัวสูงขึ้น ราคาของ EUR/USD ก็จะปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การปรับตัวสูงขึ้นของ EUR/USD ไม่ได้มีผลมาจากการปรับตัวของ AUD/HKD แต่อย่างใด เพียงแค่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันเท่านั้น

ในขณะเดียวกัน จุดสีฟ้าจะแสดงสหสัมพันธ์ที่เป็น – ต่อกัน คือจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้าม ยกตัวอย่างเช่น CAD/CHF กับ EUR/USD ใน TF 1 day ถ้าราคาของ CAD/CHF ปรับตัวสูงขึ้น ราคาของ EUR/USD จะปรับตัวลดลง นั่นคือจะเคลื่อนไหวในทิศตรงกันข้ามต่อกัน

ส่วนจุดสีเทาเล็กๆ จะแสดงสหสัมพันธ์เป็น 0 คือไม่มีความสัมพันธ์กัน หรือเคลื่อนไหวอย่างเป็นอิสระต่อกันนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น AUD/CHF กับ EUR/USD ใน TF 1 week ถ้าราคาของ AUD/CHF ปรับตัวสูงขึ้น ราคาของ EUR/USD จะปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ นั่นคือเคลื่อนที่เป็นอิสระต่อกันอย่างแท้จริง

สรุปการกระจายความเสี่ยงด้วย Correlation

วิธีควบคุมความเสี่ยงในการเล่น Forex ด้วย Correlation 2

จากบทความและรูปภาพด้านบน การกระจายความเสี่ยงที่สำคัญคือการเลือกเล่นในตลาดที่เป็นอิสระต่อกัน หรือมีสหสัมพันธ์ต่อกันเป็น 0 เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะหากนักลงทุนเลือกที่จะลงทุนในตลาดที่มีสหสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน หากพยากรณ์ราคาผิด ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า แม้ว่าในกรณีที่พยากรณ์ราคาถูก อาจจะทำให้นักลงทุนมีกำไรเป็นสองเท่าก็ตาม แต่ตามหลักของการบริหารความเสี่ยงนั้น การซื้อขายจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานการอยู่รอดของเงินทุน การวางแผนรับมือกับความเสียหายจึงเป็นผลดีมากกว่าการมองไปยังกำไรแต่เพียงอย่างเดีย

 

 

ทีมงาน .com