ประเภทโบรกเกอร์ Forex ข้อมูล (แบบชัวร์ๆ ไม่มั่วนิ่ม)

โบรกเกอร์ Forex

 ประเภทของ โบรกเกอร์ Forex จะบอกเราได้ว่า ทำไม“บางโบรก Spread แคบ แต่เก็บค่าคอม , บางโบรก Spread กว้าง แต่ไม่เก็บค่าคอม หรือ บางโบรกมี Re-quote และ บางโบรกไม่มี Re-quote” คำถามคือ ทำไมแต่ละโบรกไม่ทำให้เหมือนกันไปเลย ? ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันมีที่มา  หลักๆเลย ความแตกต่างนี้มันมีจาก   ประเภทการบริการของโบรกเกอร์นั้นแตกต่างกัน  มาดูกันว่าทำไม

ประเภทโบรกเกอร์ Forex มีอะไรบ้าง ?

ประเภทของโบรกเกอร์ Forex หลักๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. Dealing Desks (DD)
  2. No Dealing Desks (NDD)

Dealing Desks (DD) หรือที่เรียกกันในอีกชื่อนึงว่า Market Makers ส่วน No Dealing Desks (NDD) สามารถแบ่งประเภทย่อยออกมาได้อีก คือ

  • Straight Through Processing (STP) และ
  • Electronic Communication Network + Straight Through Processing (ECN+STP)

โบรกเกอร์ Forex

โบรกเกอร์ Forex Dealing Desks (DD) 

โบรกเกอร์ Forex ที่ให้บริการในรูปแบบ ของ Dealing Desks (DD) หรือที่เรียกกันว่า Market makers … จะเป็นลักษณะโบรกเกอร์ที่ไม่ได้นำออเดอร์ของลูกค้าเข้าสู่ตลาดจริง ตรง ทางโบรกจะหาวิธีการต่างๆ เพื่อจับคู่สถานะตรงกันข้ามกับลูกค้า เช่น

  • จับคู่ออเดอร์ของลูกค้าด้วยกันเอง เช่น ลูกค้าคนนึง Long ก็หาลูกค้าอีกคนนึงที่ Short มาจับคู่กัน เป็นต้น
  • ถ้าโบรกเกอรไม่สามารถจับคู่สถานะของลูกค้ากันเองได้ ก็จะไปเทรดสถานะตรงข้ามกับลูกค้าในตลาดจริง หรือกับโบรกเกอร์อื่น เพื่อป้องกันความเสี่ยง
  • หรือว่า … รับออเดอร์ของลูกค้านั้นตรงๆ เลย ไม่ได้ไปเปิดสถานะตรงข้ามแต่อย่างใด

จากตัวอย่าง 2 อันแรกข้างต้น โบรกเกอร์จะได้กำไรจากส่วนต่างของ Spread บนค่าเงินต่างๆที่เราเทรด … แต่อันหลังสุด มันประมาณว่า โบรกเกอร์พนันว่าคนที่มาเทรดสุดท้ายจะแพ้เองในที่สุด (คล้ายๆกับคาสิโนที่รับพนันกับผู้เล่นนั่นเอง) ซึ่งถ้าพูดให้ลึกเข้าไปอีก … ส่วนมากวงการโบรกเกอร์ Forex มักจะทำกันอย่างงี้ เค้าจะแบ่งกลุ่มลูกค้าเป็น 2 ประเภท คือ

  1. กลุ่มลูกค้าที่สามารถทำกำไรได้จริง
  2. กลุ่มลูกค้าที่ม่สามารถทำกำไรได้

ส่วนมากโบรกเกอร์จะรับออเดอร์ของกลุ่มลูกค้าที่ “ไม่สามารถทำกำไรได้” ตรงๆเลย เพราะเค้ารู้ว่าสุดท้ายแล้วกลุ่มลูกค้าพวกนี้ยังไงก็จะเจ๊ง จะสูญเสียเงินจากการเทรดทั้งหมด .. และโบรกเกอร์ก็จะได้กำไรเต็มๆ ในส่วนนี้ แต่… ถ้าโบรกเกอร์เจอกลุ่มลูกค้าที่ “สามารถทำกำไรได้จริง” โบรกเกอร์จะพยายามจับคู่ออเดอร์ตรงกันข้ามให้ หรือว่าถ้าหาไม่ได้ ก็ไปเปิดสถานะตรงกันข้ามในตลาดจริงแทน เพื่อป้องกันความเสี่ยง และกินแค่ค่า Spread แทน แต่อย่างไรก็ดี ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารความเสี่ยงของทางตัวโบรกเกอร์เองว่าจะใช้วิธีใด ซึ่งอันนี้เราต้องไปเช็คดูว่า โบรกเกอร์ที่เราใช้อยู่เค้าใช้ลักษณะใดในการบริหารธุรกิจ

โบรกเกอร์ Forex No Dealing Desks (NDD)

 ง่ายๆ เลยคือ ประเภทโบรกเกอร์ที่ “ไม่ใช่” พวก Dealing Desks นั่นเอง โบรกเกอร์ประเภทนี้จะนำคำสั่งของลูกค้ายิงเข้าสู่ตลาดจริง ตรง (ไม่มีการรับออเดอร์ลูกค้าแต่อย่างใด) เป็นเพียงตัวกลางที่จะคอยนำคำสั่งของลูกค้าไปสู่ตลาดจริงหรือที่เรียกกันว่า Interbank market* ซึ่งในนั้นจะมีผู้เล่นจริงๆ ทั้งธนาคาร , กองทุน , โบรกเกอร์ , Hedge fund , ลูกค้าจากที่ต่างๆ ที่เทรดค่าเงินจริงๆกันอยู่แล้ว ซึ่งตลาดนี้เองที่เป็นแหล่งอ้างอิงในการกำหนดมูลค่าของค่าเงินต่างๆที่โชว์ให้เราเห็นตามที่ต่างๆ ทั่วโลก โบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk นี้จะทำกำไรจากการเก็บค่าคอม (Commission) จากการเทรด หรือบวกเพิ่มส่วนต่างนิดหน่อยจาก Spread แต่ในส่วน No Dealing Desks (NDD) ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีก คือ STP และ STP+ECN

STP คือ

STP ย่อจากมา Straight Through Processing system โบรกเกอร์ Forex ที่ใช้ระบบ STP ในการจับคู่คำสั่งให้กับลูกค้า จะนำคำสั่งลูกค้ายิงตรงเข้าสู่ตลาดจริง (interbank market) ในตลาดจริงเราสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดออเดอร์กับธนาคารไหน (จริงๆต้องใช้คำว่า “ผู้ให้บริการสภาพคล่อง” หรือ “liquidity provider” เพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย ขอใช้คำว่าธนาคารแทนแล้วกันนะครับ) ซึ่งแต่ละธนาคารก็มีราคา bid กับ ask ที่แตกต่างกันออกไป เช่น

ทางระบบ STP จะจัดเรียง Bid กับ Ask ที่ดีที่สุดให้กับทางโบรกเกอร์ จากตัวอย่างข้างต้นนี้ Bid ที่ดีที่สุดคือ 1.4000 (เวลาขาย หรือ Short ก็ต้องการราคาสูงที่สุดใช่ไหมละครับ) ส่วน Ask ที่ดีที่สุดคือ 1.4001 (เวลาซื้อ หรือ Long ก็ต้องการราคาที่ต่ำที่สุด)

ดังนั้น Bid/Ask ที่ดีที่สุดคือ 1.4000/1.4001

… และคำถามถัดมาคือ โบรกเกอร์เค้าจะเอา Bid/Ask ตัวนี้มาให้เราเทรดกันใช่ไหม ??

คำตอบคือ ไม่ครับ!

เพราะถ้าโบรกเกอร์เค้าเอา Bid/Ask ดังกล่าวมา เค้าก็จะไม่ได้กำไรอะไรเลย

ปกติเค้าจะเพิ่ม Bid/Ask เข้าไปฝั่งละ 1 pip (Bid ลด 1 pip , Ask เพิ่ม 1 pip) เพื่อกินกำไรส่วนต่างนี้

… ดังนั้นโบรกเกอร์จะแสดงค่า Bid/Ask อยู่ที่ 1.3999/1.4002 ในโปรแกรมเทรด

จากตัวอย่างเดิม สมมติ ลูกค้าที่เป็นเทรดเดอร์สั่งเปิด Long EUR/USD จำนวน 1 lot (Standard 100,000 units) ก็ต้องซื้อฝั่ง Ask ใช่ไหมละครับ ก็คือ 1.4002

เมื่อลูกค้าซื้อ EUR/USD ที่ 1.4002 ทางโบรกเกอร์จะยิงคำสั่งตรงไปยังธนาคารที่มีแสดงค่า Ask ต่ำที่สุด ณ ตอนนั้น จากตัวอย่างนี้คือธนาคาร A กับ B ณ ที่ระดับ 1.4001 (ในกรณีนี้ทางโบรกเกอร์จะเลือกธนาคารไหนก็ได้ เพราะ Ask ดีที่สุดเท่ากัน)

… ซึ่งจะเห็นได้ว่าโบรกเกอร์จะกำไร 1 pip จากการสั่งคำสั่งของเทรดเดอร์ในครั้งนี้

*ทั้งนี้ STP ก็อาจมีการ Re-quote เกิดขึ้นได้ (พวกประเภทบัญชีที่เป็น Instant Execution) ซึ่งถ้าโบรกเกอร์จับคู่คำสั่งไม่ทันกับทาง “ผู้ให้บริการสภาพคล่อง” หรือ “liquidity provider” … ซึ่งปกติเกิดขึ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับพวก Dealing Desk โบรกเกอร์ส่วนมากมักจะแบ่งประเภทบัญชีตามการสั่งคำสั่งออเดอร์เป็น 2 แบบ คือ

  1. Instant Execution

หมายถึงออเดอร์จะถูกดำเนินการตามราคาที่ลูกค้าส่งคำสั่ง หากราคาตรงกับราคาตลาดในปัจจุบันออเดอร์นั้นก็จะเปิดทันที  แต่หากว่าราคาที่ลูกค้าขอเปิดคำสั่งซื้อนั้น ไม่ตรงกับราคาตลาดในปัจจุบัน ลูกค้าจะได้รับ Requote

  1. Market Execution

หมายถึงออเดอร์จะถูกดำเนินการที่ราคาที่มีในตลาด ซึ่งลูกค้าจะไม่ได้รับ Requote ทั้งนี้ราคาอาจไม่ตรงตามที่ลูกค้าต้องการดังนั้นจึงอาจเกิด Slippage ซึ่งหมายถึงความต่างของราคาที่ลูกค้าส่งและราคาที่ถูกดำเนินการ

ที่มา Exness

Tip ในการเลือกโบรกเกอร์ที่เป็น STP มี 3 สิ่งที่ต้องดูคือ

  1. จำนวน Liquidity providers ที่โบรกเกอร์มีอยู่ในมือ

            ยิ่งมีมากยิ่งดี ก็เพราะว่าทางโบรกจะได้เลือกค่า Bid/Ask ที่ดีที่สุดมาได้ และสุดท้ายทำให้ Spread แคบลง ซึ่งเป็นผลดีต่อลูกค้า             … เลือก Broker ที่มี Liquidity providers อยู่ในมือมากๆ

  1. ประเภทของ Spread (Fixed หรือ Variable)

            ปกติโบรก STP ที่มีประเภท Spread เป็นลักษณะ Variable จะเทียบเท่ากับประเภท ECN เลย (ต่างกันแค่ STP ยิงคำสั่งต่อให้ Liquidity providers แต่ ECN ยิ่งคำสั่งเข้าตลาดตรงๆ) Spread จะถูกเปลี่ยนแปลงตาม Bid/Ask ของทาง Liquidity providers และอาจมีบวกเพิ่มนิดหน่อย เพื่อให้โบรกเกอร์ได้กำไร             ส่วนโบรกที่ Spread เป็น Fixed คือจะล๊อคค่า Spread ให้คงที่ ไม่ได้ปรับตามกับ ทาง Liquidity providers ซึ่งปกติการ Fixed ค่า Spread นั้น มักจะมี Spread ที่กว้างกว่าพวก Variable (โบรกเกอร์จะแปลงความผันผวนของ Bid/Ask ที่มาจาก Liquidity providers ให้มาอยู่ในรูปแบบคงที่ หรือ Fixed ซึ่งการทำอย่างนี้โบรกเกอร์ก็ต้องบวกค่าความเสี่ยงในการผันผวนของ Bid/Ask ที่ได้รับมาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ทำให้แบบ Fixed ส่วนมากค่า Spread จะห่างกว่า แบบ Variable)             … เลือกประเภท Spread ที่เป็นลักษณะ Variable ส่วนมากจะดีกว่า            

  1. การดำเนินคำสั่งของออเดอร์ (instant หรือ market execution)

            ประเภทที่เป็นลักษณะ Market execution หรือที่เรียกันว่า DMA (Direct Market Access) STP จะเป็นการยิงออเดอร์ของลูกค้าตรงไปที่ LPs (Liquidity providers) จะดำเนินการหาราคาที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า (บวกเพิ่ม Spread นิดหน่อยเพื่อเป็นกำไรให้กับตัวโบรกเกอร์เอง) … ซึ่งลักษณะนี้จะไม่เกิดการ Requote เกิดขึ้น แต่อาจมี Slippage บ้างเล็กน้อยกรณีช่วงตลาดผันผวน             แต่ในส่วนของ Instant execution จะเป็นลักษณะที่ว่า โบรกเปิดสถานะตรงกันข้ามกับลูกค้า คือ โบรกเกอร์รับคำสั่งจากลูกค้ามาก่อน แล้วค่อยไปเปิดสถานะตรงข้ามกับ LPs (Liquidity providers) เพื่อป้องกันความเสี่ยง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดการ Lag อยู่นิดหน่อย (ระยะเวลาการส่งคำสั่งมากกว่า Market execution) และวิธีนี้สามารถเกิดการ Requote เกิดขึ้นได้ หากเกิดกรณีที่ว่าโบรกเกอร์รับออเดอร์จากลูกค้ามา แล้วไม่สามารถจับคู่กับ LPs (Liquidity providers) ได้ ซึ่งการที่โบรกเกอร์จับคู่ไม่ได้นั้นมาจากการที่โบรกเกอร์ไม่สามารถหาส่วนต่างระหว่าง ออเดอร์ของลูกค้า กับทาง LPs (Liquidity providers) ได้นั่นเอง             ข้อเสียของการ Requote ในส่วนมากมักกระทบกับเทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์ Scalping ในการเทรดหรือรัน EA ที่เทรดสั้นๆ ในช่วงที่ราคาเป็นลักษณะ Spike หรือไส้ยาวๆ เป็นช่วงที่ราคาผันผวนเร็วๆ จะกินกำไรไม่กี่ pips ภายในไม่กี่วินาที ซึ่งถ้าใครไป Backtesing กลยุทธ์อาจจะกำไรจริง แต่พอมารันในตลาดจริง ถ้าโดน Re-quote จากทางโบรกเกอร์ ก็จะเสียโอกาสในการทำกำไรช่วงจังหวะดังกล่าว             … เลือกแบบ Market execution ส่วนมากจะดีกว่า เหมาะกับการเทรดทุกกลยุทธ์ แล้ว ECN คือ ? จะคล้ายๆ กับ DMA (Direct Market Access) STP แต่ ECN จะมีความแตกต่างคือ DMA STP โบรกเกอร์จะยิงออเดอร์ของลูกค้าไปยังพวก LPs (Liquidity providers) ที่โบรกเกอร์มีอยู่ แต่บนระบบ ECN ลูกค้าสามารถยิงออเดอร์ตัวเองไปยังผู้เล่นคนอื่นในตลาดจริงๆเลย บนระบบ ECN มีผู้เล่นทั้ง ธนาคาร, กองทุน, Hedge fund, รายใหญ่, รายย่อย รวมถึงโบรกเกอร์ต่างๆ ที่เทรดกันอยู่บนระบบนี้ ซึ่งการเทรดบนระบบนี้เทรดเดอร์จะได้ค่า Spread ที่ดีมากๆ ได้ Bid ที่ดีที่สุด ได้ Ask ที่ดีที่สุด เพราะมันเป็นตลาดจริงๆที่เทรดกันอยู่ คำถามสำคัญคือ แล้วโบรกจะได้กำไรจากไหน ?? กำไรที่โบรกจะได้ก็คือ การเก็บค่าคอมแทนนั่นเองครับ (Commission) ที่สำคัญสุดของ ECN คือ ไม่มีการ Re-quote ครับ —– *รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Interbank market http //www.forexthai.in.th/interbank-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/ —– คำถามสำคัญที่สุดคือ “แล้วเราควรเลือกโบรกเกอร์ประเภทไหน ??” ต้องบอกก่อนว่า แต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียของตัวมันเอง ไม่ได้มีดีที่สุด … มันจะขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรดของเทรดเดอร์มากกว่า บางโบรกที่มี Spread แคบ แต่มีค่าคอมในการเทรด ก็จะเหมาะสมเทรดเดอร์ที่เทรดลักษณะเล่นสั้นๆ (พวก Day trade , Scalping เป็นต้น) ส่วนบางโบรกมี Spread ที่กว้างหน่อย แต่ไม่มีการเก็บค่าคอม ก็อาจจะเหมาะกับเทรดเดอร์ที่เทรดระยะยาวขึ้นมาหน่อย (พวก Trend-following, Swing trading , Position trading เป็นต้น)

มาดูสรุปของประเภทโบรกเกอร์แต่ละอันกัน

Dealing Desk , No Dealing Desk (STP) และ No Dealing Desk (STP+ECN)


แต่ละโบรกเป็นประเภทอะไรกันบ้าง

XM (XM Group)

XM ได้รับการจำแนกเป็น Market Maker เนื่องจากเรามี dealing desk ที่ใช้สำหรับดำเนินการจัดการคำสั่งผ่านทางโทรศัพท์ แต่ออเดอร์(โพซิชั่น) ต่างๆของลูกค้านั้นจะดำเนินการผ่านทาง Liquidity provider ต่างๆ ซึ่ง XM จะไม่ได้รับประโยชน์ใดจากการขาดทุนของลูกค้า และในการดำเนินส่งคำสั่งให้ลูกค้า ทางโบรกเคลมว่า 99.35 % ของออเดอร์ทั้งหมด จะถูกดำเนินการไม่เกิน 1 วินาที และนโยบายของ XM จะไม่มีการ Requote (No requotes) และไม่มีการปฏิเสธคำสั่งใดๆทั้งสิ้น (No rejections) บางคนอาจประโยคข้างต้นอาจจะสับสนเล็กน้อย … มาขยายความกัน ต้องบอกก่อนว่า XM เป็นโบรกเกอร์ประเภท Dealing Desk แต่ทางนโยบายของเค้า จะไม่มีการรับออเดอร์จากลูกค้าเอง เค้าเลือกใช้วิธีที่ว่าเป็นแค่ตัวกลางคอยส่งออเดอร์ไปยังตลาดจริง (Liquidity provider) ซึ่งถ้าเปรียบเทียนนโยบายของ XM แล้วจะเห็นได้ว่าจะคล้ายกับ STP ปกติ ที่ทางโบรกจะเข้ามาแทรกแซงราคากินกำไรพวกค่า Spread นิดหน่อย แต่อย่างไรก็ดีทางโบรก XM ให้บริการในรูปแบบของโบรกเกอร์ที่เป็น Dealing Desk นั่นเอง (Dealing Desk จะไม่มีให้เลือกว่าเป็น instant หรือ market execution เพราะตัว Dealing Desk ที่ดำเนินการลักษณะนี้จะเท่ากับ instant execution นั่นเอง ที่ว่าเมื่อลูกค้าส่งคำสั่งมา ทางโบรกเกอร์จะส่งต่อไปยัง Liquidity provider บวกเพิ่มราคานิดหน่อยเพื่อทำกำไร) มีประเด็นนึงเราถามเค้าว่าแล้วมี Liquidity provider อยู่กี่เจ้า … เค้าแจ้งว่าไม่สามารถแจ้งข้อมูลในส่วนนี้ได้ เนื่องจากเป็นข้อมูลทางธุรกิจของเค้า ทางเค้าแจ้งได้เพียง Citibank เป็นหนึ่งใน Liquidity provider ของทาง XM ทีมงาน XM เป็นโบรกที่ยอมรับอย่างเต็มปากว่าตัวเองเป็น Dealing Desk แต่เนื่องด้วยนโยบายของทางบริษัทที่แข็ง ค่า Spread ต่างๆ ค่อนข้างดี และที่สำคัญไม่มีการปฏิเสธคำสั่งของลูกค้าและไม่มีการ Requote คำสั่งของลูกค้าอีกด้วย (แต่ก็อาจเกิด Slippage ได้ ในกรณีที่ราคาเกิดการผันผวนมาก ในภาวะข่าวเหตุการณ์สำคัญ แต่อย่างไรก็ดี ทางโบรกรับประกันว่าลูกค้าจะได้ราคาที่ดีที่สุด) *** มีหลายแหล่งข้อมูลที่แจ้งว่าทาง XM เป็น non-dealing desk ซึ่งทางทีมงานเราได้สอบถามกับเจ้าหน้าที่ XM ตรง ทางเค้ายืนยันว่าเป็น Dealing desk … ซึ่งประเด็นนี้หลายคนเข้าใจผิดค่อนข้างเยอะ คงเป็นเพราะหลายคนเข้าใจว่า XM ใช้ STP แล้วจึงเหมารวมว่าโบรกที่ใช้ STP ต้องเป็น NDD ซึ่งจริงๆ แล้ว DD ก็สามารถใช้ STP เป็นทางเลือกได้เช่นเดียวกัน

ทางเจ้าหน้าที่เค้ายืนยันว่า XM เป็น Non dealing desk

หน้า Website ของตัว XM ก็แจ้งว่าเป็น Dealing desk ครับ (สามารถวางคำสั่งซื้อขายผ่านทางโทรศัพท์และคุยกับดีลเดอร์ได้)


fbs

FBS

ประเภทบัญชีของ FBS ทั้งหมดจะใช้การสั่งซื้อ ตรงจากตลาด (All FBS accounts use Market Execution of orders) คำสั่งซื้อจะดำเนินการในราคาในตลาดจริง การ requotes จึงไม่เกิดขึ้น คำสั่งซื้อจะดำเนินการภายใต้ NDD (Non-Dealing Desk) และ STP (Straight Through Processing) – เพื่อให้พวกเขาได้รับการออฟเซ็ต ตรงเข้าไปในระบบของผู้ให้บริการสภาพคล่อง 95% ของคำสั่งซื้อจะทำการรับคำสั่งซื้อภายใน 0.4 วินาที มีบัญชี ECN ให้เทรดอีกด้วย ทีมงาน ทาง FBS มีการชี้แจ้งรายละเอียดบน Website อย่างชัดเจน … แต่เพื่อความชัว ทางทีมงานจึงแชทไปถามทาง Support เค้ากลับตอบว่า มาดูการประกาศบนหน้า Website ซึ่งไม่ตรงกับที่ Support กล่าว .. ทางทีมงานจึงถามต่อ เค้าค่อยมาแก้ตัวทีหลัง ว่าตอบผิด … ทางทีมงานเราไม่ได้ติดใจอะไรนะครับ เพราะเจออย่างงี้แทบจะทุกโบรก แล้วก็พอเราถามว่าทาง FBS มี Liquidity provider อยู่กี่เจ้า … เหมือนทาง Support เค้าไม่เข้าใจหรืออย่างไรไม่ทราบ … เค้าให้ไปตรวจสอบที่หน้าการทำธุรกรรม ฝาก-ถอน … ซึ่งคำถามนี้ไม่น่าเกี่ยวกับการ ฝาก-ถอน เลย ต้องบอกว่าข้อมูลที่เราได้จาก FBS แทบทั้งหมดมาจากการค้นหารายละเอียดหน้า Website ของเค้าเอง ที่อธิบายไว้ชัดเจน แต่พอเราถามทาง Support ของเค้า เหมือนไม่ได้คำตอบที่ต้องการอะไรเลย


pepperstone_1000forexbrokers_logo3

Pepperstone  

เป็นโบรกเกอร์ประเภท NDD (Non-Dealing Desk) ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการสภาพคล่องจำนวนมากและมีการจับคู่คำสั่ง อัตโนมัติ ซึ่งเป็นการกำจัดการแทรกแซงของโบรกเกอร์ ดำเนินสั่งคำสั่งลักษณะ Market Execution

  • บัญชี Standard เป็น STP + ECN
  • บัญชี Razor เป็น ECN

เค้าแจ้งว่า STP+ECN แตกต่าง ECN ตรงที่ บัญชีประเภท STP+ECN ทางโบรกจะเข้ามาแทรกแซงราคานิดหน่อย เพื่อทำกำไรจาก Spread แต่ไม่มีค่าคอมมิชชั่น ส่วน ECN ทางโบรกจะปล่อยให้ลูกค้าแทรกบนตลาดจริง ตรง ไม่มีการแทรกแซง แต่จะเก็บค่าคอมมิชชั่นเพื่อสร้างกำไรให้โบรก Pepperstone ได้ผสมผสานการดำเนินการคำสั่งการเทรดเข้ากับการกำหนดราคาจากธนาคารและผู้ให้บริการสภาพคล่อง 22 แห่ง และการดำเนินการคำสั่งแบบอัตโนมัติ 100% ที่ Pepperstone ได้ยึดมั่นในแนวทางที่จะไม่ให้มีการแทรกแซงใด ๆ ‘ไม่มี Dealing Desk’ สำหรับตราสารทุกประเภทของเรา การดำเนินการคำสั่งเทรดของเรามีเวลาแฝงต่ำสุดเพียงแค่ 50ms (0.05 วินาที) และชำระเงินในทันที นั่นหมายความว่าจะไม่มีความล่าช้า ไม่มีการปฏิเสธคำสั่ง และไม่มีการรีโควต เค้าเสริมมาว่า … Pepperstone เป็นโบรกเกอร์ที่มาจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทาง Regulation ของประเทศออสเตรเลียจะให้โบรกเกอร์ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศนั้นเป็นประเภท Non-Dealing desk เท่านั้น ทีมงาน ตอบตรงประเด็น ขอเบอร์แล้วโทรมาอธิบายให้เลย


home-6

Exness

เป็น Non dealing desk (STP)

  • แต่ในส่วนของ Cent จะมาเฉพาะ ลักษณะ Instant Execution
  • ส่วน Mini , Classic สามารถเลือกได้ว่าจะเป็นลักษณะ Instant Execution หรือ Market Execution

Instant Execution อาจเกิดการ Re-quote เกิดขึ้นได้ Market Execution จะไม่มีการ Re-quote แต่อาจจะเจอ Slippage , และอาจเกิด off quote ได้เช่นเดียวกัน          off quote จะแตกต่างกับ Re-quote

  • สำหรับการ off quote พอกดสั่งไปแล้ว ระบบก็จะแจ้ง off quote ครับ
  • จะไม่มีเด้งขึ้นมาเหมือน re-quote เพื่อให้ยอมรับในราคาใหม่

Off quote คือ             off quote จะหมายถึง ราคานั้นในตลาดไม่มีเลยหรือ สภาพคล่องในตลาดน้อยมากครับ … เมื่อเราสั่งออเดอร์ออกไป ทาง Exness อาจขึ้น Off quote ได้

ข้อความ Off quotes หมายความว่า ไม่มีราคาใหม่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา และราคาล่าสุดไม่สามารถใช้เป็นราคาตลาดได้

ด้วยเหตุนี้ เมื่อคุณพยายามที่จะดำเนินการคำสั่งด้วยราคานี้ เซิร์ฟเวอร์จะขึ้นข้อความ Off quotes และจะ ปฏิเสธการดำเนินการ

Off quotes มักเกิดขึ้นมากในช่วงที่มี สภาพคล่องเบาบาง เช่น เมื่อเริ่มเปิดสัปดาห์ซื้อขายใหม่ในวันอาทิตย์ หรือช่วงก่อน ตลาดปิดในวันศุกร์

lเพื่อให้เกิด Off quotes น้อยที่สุด ลองวิธีต่อไปนี้

1.  หลีกเลี่ยงการเทรดในช่วงที่มีสภาพคล่องต่ำ

2. หลีกเลี่ยงการเทรดเครื่องมือทางการเงินที่มีสภาพคล่องต่ำ

Re-quote คือ การที่ลูกค้าออกคำสั่งแบบ Instant Execution แล้ว แต่ ณ เวลานั้น ราคาได้เปลี่ยนไปแล้ว การ re-quote จะเกิดขึ้นเป็น ราคาใหม่ที่เปลี่ยนไปแล้ว ณ เวลาตอนนั้น ลูกค้าสามารถกดเพื่อยอมรับ หรือ ปฏิเสธได้ครับ Slippage คือ Slippage คือส่วนต่างของราคาที่คาดว่าจะได้จากการเทรดและราคาจริง ๆ ที่ได้จากการดำเนินการคำสั่ง ซึ่งค่า slippage สามารถเป็นบวกหรือลบก็ได้ ส่วนต่างของราคานี้สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาที่มีความผันผวนสูง เมื่อตลาดได้มีการกระโดดจากราคาหนึ่งไปอีกราคาหนึ่ง Slippage สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อตลาดมีสภาพคล่องไม่เพียงพอตามราคาที่ได้ร้องขอในคำสั่งเทรด ดังนั้นผู้ให้บริการสภาพคล่องจึงจับคู่ที่ราคาที่ดีที่สุดในลำดับต่อไป เราไม่สามารถควบคุมการเกิด slippage ได้เนื่องจากเราเป็นโบรกเกอร์ ECN – เราเป็นผู้ดำเนินการคำสั่งเทรดเพียงเท่านั้น ถ้าหากไม่มีธนาคารใดที่ยอมรับคำสั่งเทรดของท่านที่ราคาหนึ่งได้ คำสั่งเทรดนั้นจะถูกจับคู่ที่ระดับราคาที่ดีที่สุดถัดไป ดังนั้น Exness จึงไม่สามารถที่จะรับประกันคำสั่งเทรดแบบมีเงื่อนไขได้ เช่น คำสั่ง Stop Losses, Take Profits, Buy/Sell Stops, Buy/Sell Limit Orders … คัดลอกจากทาง Support ของ Exness

  • กรณีของบัญชี Mini

คู่สกุลเงินที่ลงท้ายด้วย m จะเป็น Instant Execution

ส่วนคู่สกุลเงินที่ลงท้ายด้วย k จะเป็น Market Execution

  • กรณีของบัญชี Classic

            คู่สกุลเงินที่แสดงชื่อธรรมดา เป็น Instant Execution             คู่สกุลเงินที่ลงท้ายด้วย k จะเป็น Market Execution มีบัญชี ECN ให้เทรดอีกด้วย ทาง Exness มี Liquidity provider อยู่ 4 แห่งหลัก คือ Deutsche Bank, Barclays Capital, UBS, AG (พวก European bank) และอื่นๆ แต่ไม่ได้บอกว่ากี่แห่ง เพราะเค้าแจ้งว่าเป็นข้อมูลภายใน ไม่สามารถเปิดเผยได้ ทีมงาน ทาง Support ของโบรกนี้ชี้แจงรายละเอียดดีครับ ถามอะไรแจกแจงได้หมด


FXPRIMUS

FXPRIMUS เป็นโบรกเกอร์ประเภท Straight-Through Process (STP) 100% … ว่าง่ายๆ คือ ทุกบัญชีเป็น STP หมด

  • บัญชี ECN และ Variable Spread (พวก Standard , Premium และ VIP) เป็นลักษณะ Market Execution
  • ส่วนบัญชี Demo เป็นลักษณะ Instant Execution

เค้าแจ้งว่าเรื่อง Liquidity provider เค้าใช้ธนาคารที่เป็น tier-1 world banks มากกว่า 30 แห่ง ทีมงาน Support ของที่นี่ให้บริการเป็นภาษาอังกฤษ หรือในกรณีภาษาไทยจะถูกแปลมาจากโปรแกรม เรื่องการตอบของเจ้าหน้า Support ต่างประเทศนั้นทำได้ดี ชัดเจนตรงประเด็น


fxclearing-200

 FXCL  ( Fxclearing )

ทาง  Support เค้าแจ้งมาว่า FXCL เป็น Non-dealing desk ประเภทบัญชี

  •             Beginner เป็นลักษณะ Instant execution
  •             Micro Cent เป็นลักษณะ Instant execution
  •             Mini เป็นลักษณะ Instant execution
  •             ECN Light
  •             ECN Interbank
  •             ECN Plus
  •             Zero Spread เป็นลักษณะ Market execution

ทีมงาน แต่ทีมงานเราได้เข้าไปดูในส่วนของ Agreement ในข้อที่ 20.1 ได้แจ้งว่า Any trading instruction sent by the Client via the Company trading platform is considered as irrevocable request, and will be regarded as an order upon electronic confirmation by the dealing desk … (รอคำตอบ) ทาง Supoort คนไทย ไม่สามารถอธิบายรายละเอียดเชิงลึกของประเภทบัญชีได้ (เราถามไปว่า ECN Interbank ที่แจ้งบน Website ว่าเทรดผ่าน Interbank แล้วพวก ECN light กับ ECN Plus เทรดผ่านอะไร ? … เค้าให้ทิ้ง email รอคำตอบ ) ทาง FXCL นั้นแจ้งว่า ตอนนี้ (ปี 2018) มีประมาณเกือบ 10 เจ้า (ที่ไหนบ้าง ? รอคำตอบทาง Email)

  • ตอน 2 ทุ่มไม่มีเจ้าหน้าที่ไทยตอบใน Live chat หากมีคำถามอะไรให้ email ไปที่ [email protected]
  • เจ้าหน้าที่คนไทยจะให้บริการ Live chat ในช่วงเวลา จันทร์ – ศุกร์ เวลา 00-18.00 น.

เราติดอยู่ 3 คำถาม (รอ Email ตอบกลับ)

  1. ประเภทบัญชี ECN แต่ละอันแตกต่างกันอย่างไร (ขอละเอียดหน่อยนะครับ เช่นวิธีการส่งคำสั่ง)
  2. จำนวน Liquidity provider
  3. Agreement ในข้อที่ 20.1

weltrade-400x400

Weltrade

มี 2 ประเภท

  • เฉพาะบัญชี Pro ที่เป็น Non-Dealing Desk – STP
  • นอกนั้นเป็น Dealing Desk หมด

*ทาง Support นี้เค้าเสริมว่าโบรกส่วนมากในไทย มักจะเป็นโบรกที่มีทั้ง 2 ประเภท คือ DD และ NDD เค้ามี Liquidity provider อยู่ประมาณ 3 เจ้า TopFx เป็นหนึ่งในนั้น ส่วนอีก 2 เจ้าเป็น บริด (Bridge) ที่จะคอยทำการสวิตออเดอร์ เพื่อหาออเดอร์ไปแมตซ์ในตลาด (ในกรณีที่ไม่สามารถจับคู่ออเดอร์กันเองได้ในโบรก) ทาง Support เค้าใช้ Siri ในการคุยและพิมพ์ เพื่อความรวดเร็วในการตอบลูกค้า ซึ่งสำนวนภาษาอาจแปลกๆบ้าง แต่ยังสื่อสารได้ดี และที่สำคัญชี้แจงตรงประเด็น ทีมงาน Support ของโบรกนี้ตอบตรงประเด็นมาก อธิบายชัดเจน … ในส่วนของบัญชีที่เป็น Dealing Desk เค้าจะมีรับกินเอง (จับคู่ออเดอร์กันในโบรกเกอร์เองก่อน แต่ถ้าออเดอร์ไหนไม่สามารถจับคู่ได้ ทางโบรกเกอร์ก็จะยิงเข้าสู่ตลาดหรือส่งไปสู่แบงค์)


hotforex-broker-share

Hotforex

เป็น 100% STP Broker ทีมงาน แต่ทาง Support บอกว่า ก็สามารถเกิดการ Requote เกิดขึ้นได้ … ซึ่งทางทีมงานเราก็ติดใจในประเด็นส่วนนี้ เพราะถ้าหากเป็น STP (Market execution) จริง จะไม่มีการ Requote เกิดขึ้นได้  .. เค้าให้เรา Email ไปถามทางฝ่ายเทคนิค ได้คำตอบที่ชัดเจนมาว่า “ไม่มี Re-quote” (ตอบกลับไวครับ) ดังนั้นการดำเนินการประเภท Market Execution จะไม่มีการ Re-quote แต่อาจจะเกิด Slippage เกิดขึ้นได้ เราถามทาง HotForex ว่ามี Liquidity provider อยู่กี่เจ้า ? เค้าบอกว่าไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่เราถามต่อว่า แนะนำหลักๆ มาหน่อยได้ไหม ? เค้าบอกว่าเป็นเจ้าที่มีชื่อเสียงในวงการการเงิน ทั้ง Barclays, BNP Paribas, Bank of America, Citi, etc. … Live chat เข้ามาตอบช้า (รอเกินกว่า 15 นาที กว่าจะเข้ามาตอบ) และที่สำคัญ ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ Live chat ที่เป็นคนไทย


roboforex

RoboForex

มีทั้ง 3 ประเภท Standard/Cent Accounts

  •             Fix เป็น NDD STP ที่ประเภทการดำเนินการเป็น Instant Execution
  •             Pro เป็น NDD STP ที่ประเภทการดำเนินการเป็น Market Execution

Prime เป็น NDD STP ECN accounts เป็น STP+ECN ทาง RoboForex แจ้งว่ามี Liquidity provider อยู่หลายเจ้า แต่ไม่ได้เปิดเผยจำนวน และรายชื่อ ใดๆกับทางทีมงาน

ผู้ให้บริการสภาพคล่อง

ผู้ให้บริการสภาพคล่องคือธนาคารขนาดใหญ่ บริษัทลงทุนที่มีใบอนุญาต และโบรกเกอร์ ซึ่งมีกระบวนการซื้อขายผ่านเทคโนโลยี STP (Straight Through Processing) หมายความว่าคำสั่งของลูกค้าทั้งหมดจะถูกส่งต่ออัตโนมัติไปยังผู้ให้บริการสภาพคล่อง ไม่มีการแทรกแซงจากโบรกเกอร์ ช่วยให้ผู้เทรดและบริษัทหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในกรณีนี้ ผลกำไรที่ลูกค้าได้รับจะไม่ทำให้โบรกเกอร์เกิดการสูญเสียใด ๆ  ทีมงาน Live chat ไม่เข้ามาตอบ รอเกินกว่า 30 นาที ไม่มีเจ้าหน้าที่เข้ามาตอบ ทาง Live chat ของโบรกนี้ ยังไม่มีเจ้าหน้าคนไทยมาบริการ และอีกทั้งเจ้าหน้าที่ของเค้ากว่าจะตอบทีนานมากๆ เราลองทักใน Skype ไปก็เป็นเหมือนกัน กว่าจะตอบช้ามากๆ (เป็นชม.ยังไม่ตอบเลย) ซึ่งบอกเลยว่าการสื่อสารกับโบรกเกอร์รายนี้ ค่อนข้างลำบากมาก ถามไป 1 คำถาม กว่าจะตอบมา 3-5 นาที และบางทีอยู่ๆก็หายไปเป็นครึ่งชม. ทำให้กว่าจะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนใช้เวลาหลายวันเลยทีเดียว หลายครั้งที่ทิ้งคำถามไว้กว่า 20 นาที ทางเจ้าหน้ามาตอบ พอเราไม่ตอบเค้าแค่ 10 นาที เค้าก็ลาหายไปเลย


forex4you

Forex4you

มีทั้ง 2 ประเภท

  • Cent และ Classic เป็น Dealing Desk
  • ส่วน Cent NDD , Classic NDD เป็น Non-Dealing Desk (ใช้ระบบSTP)
  • และ Pro STP (ข้อแตกต่างกันความเร็วในการสั่งคำสั่ง … บัญชีนี้จะเร็วว่า NDD ปกติ)

ทาง Forex4you ไม่ได้แจ้งว่ามี Liquidity Provider อยู่กี่เจ้า แต่เค้าแจ้งมาว่า ใช้บริการอยู่หลายที่ เช่น LMAX ,CTDL,GSAC,BARX ,SDUK เป็นต้น LMAX www.lmax.com CTDL www.citadel.com GSAC www.goldmansachs.com BARX  www.barx.com SDUK www.stagedirectorsuk.com เจ้าที่แสดงบน Website เค้าบอกว่าเป็นเฉพาะเจ้าที่สามารถเปิดเผยได้ ทีมงาม ทาง Support ของโบรกนี้ก็ตอบค่อนข้างช้า ทางเค้าบอกว่าเพื่อความถูกต้องของข้อมูล เลยทำการสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ต่างประเทศอีกทีนึง —– ทั้งนี้ทางทีมงานต้องขอขอบคุณทาง Support ของจากทางหลายๆโบรกเกอร์ที่ทำให้ทีมงานสามารถปะติดปะต่อ เรื่องการแบ่งประเภทของโบรกเกอร์ได้ เนื่องด้วยข้อมูลในไทยและต่างประเทศ ที่มาบางแหล่งข้อมูลไม่ตรงกันเอาอย่างมากๆ จึงทำให้เกิดการเข้าใจผิด … อาจด้วยเพราะว่าเนื้อหาประเด็นนี้ค่อนข้างละเอียดซับซ้อน … จึงต้องอาศัยการอธิบายที่ดี จึงจะเข้าใจ ทีมงาน