เมื่อราคาเบรคแนวรับ-แนวต้าน จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ราคาเบรคแนวรับแนวต้านforex

เส้น

เมื่อราคาเบรคแนวรับ-แนวต้าน จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง (ตัวอย่าง)

                ยกตัวอย่างราคาวิ่งไปเจอแนวต้าน resistance มี 4 อย่างที่จะเกิดขึ้นเมื่อราคาไปถึง

เมื่อราคาเบรคแนวรับ-แนวต้าน จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง (ตัวอย่าง)

                กรณีที่ 1 ราคาไปถึงแล้วเด้งลงมาเลย กรณีที่ 2  ราคาไปถึง แต่ราคาเบรคขึ้นไปแล้วราคาก็เด้งสวนกลับมาอย่างรวดเร็วทำให้เกิด fasle breakout ขึ้น กรณีที่ 3 ราคาขึ้นไปถึงและราคาเบรค ราคาเด้งลงมาต่ำกว่าเส้นแนวต้านแต่สุดท้ายราคาไปต่อทางที่ราคาเบรคขึ้นทำให้กลายเป็นการเบรคจริงเกิดขึ้น และ กรณีที่ 4 ราคาขึ้นมาและราคาเบรค ราคาเด้งลงแต่ไม่สามารถต่ำกว่าเส้นแนวต้านได้ แนวต้านกลายเป็นแนวรับสุดท้ายราคาไปต่อทางที่ราคาเบรค  นี่คือภาพที่เห็นเป็นประจำเมื่อท่านเทรดและหลักการตรงกันข้ามเมื่อใช้กับราคาที่ไปเจอแนวรับหรือ support

                หลักการเคลื่อนไหวราคาอธิบายว่าราคาวิ่งไปแล้วเด้งแสดงว่าราคาเจอ trading pressure ด้านทางกันข้ามเข้ามาพื้นที่ตรงนั้น อย่างในกรอบสีแดง 1 ราคาขึ้นไปแล้วหยุดแสดงว่าราคาไปเจอ sell orders แถวนั้นๆ ที่เกิดจากการกำหนดตอนราคาลงไปว่าเมื่อราคากลับมาพื้นที่แถวนั้นให้ราคาเปิด sell order ตรงพวกนี้เลยกลายเป็น sell limit orders เมื่อกำหนดเข้าไปก็เพิ่ม liquidity เข้าไปให้กับตลาดที่ราคานั้นๆ พอราคามาถึงด้วย buy market orders ราคาเลยได้จับคู่กับ sell limit orders ที่ราคานั้นๆ และราคาหยุดได้ แสดงว่าจำนวน sell limit orders มากพอ buy market orders ที่พื้นที่นั้นๆ

                ในที่นี้ก็มองที่เลข 1 เป็นพื้นที่ resistance เมื่อมองมาทางช้ายมือท่านจะเห็นว่าเป็นพื้นที่ swap level พอดีที่ราคาได้เอาชนะตอนที่ราคาได้ลงไปอย่างแรงที่เปิดเผยมีราคาโต้ตอบตรงจุดนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นนอกจากการที่ sell limit orders ใช้ไปหรือโดนซึมชับไปจาก sell limit orders ได้กลายเป็น short positions ที่อยู่ในตลาด ตอนที่ราคาเด้งลงมาก็กำไรเกิดขึ้น แต่พอราคากลับมาอีกครั้งที่กรอบเลข 2 เนื่องจากราคาลงไปได้ตอนที่ราคามาถึงหลายๆ เทรดเดอร์ก็จะหาโอกาสเพิ่ม sell limit orders เข้าไปอีก แต่ผลที่เกิดขึ้นคือราคาไม่ได้เด้งลงไปอย่างครั้งแรก แสดงว่าไม่มีเทรดเดอร์สนใจเพิ่ม sell limit orders เข้ามาแบบตอนครั้งแรก และเห็นราคาดันขึ้นมาไม่สามารถดันลงได้แสดงว่ามีแต่ buy market orders เข้ามา ราคาเลยลงไม่ได้ ข้อมูลสำคัญเกิดขึ้นเมื่อราคาสามารถเบรคแนวต้านไปได้ด้วยบาร์ยาวๆ ด้านบน แม้ราคาเด้งลงอย่างเร็วแต่ราคาไม่สามารถปิดต่ำกว่ากรอบเลข 2 ที่ขึ้นมาได้ (การอ่านชาร์ตต้องให้ความสำคัญปริบทที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ใช่แค่ดูรูปแบบเดิมที่เป็นแนวรับ-แนวต้านอย่างเดียว ต้องให้ความสำคัญกับปัจจุบันด้วย)

                เมื่อบาร์ยาวๆ เกิดขึ้น อย่างแรกเลยส่งข้อมูลไปยังเทรดเดอร์ที่ถือ short positons และกรอบเลข 2  และยิ่งราคาไม่สามารถปิดต่ำกว่ากรอบเลข 2 ได้ ผลอีกอย่างที่บาร์ยาวๆ เกิดขึ้น เป็นการเทสว่ามีเทรดเดอร์อยากเปิด sell ด้านบนหรือเปล่าและเป็นการเคลียร์ sell limit orders ไปในตัวด้วย ถ้าราคาไม่ต่ำกว่ากรอบเลข 2 ขาใหญ่ที่ดันราคาขึ้นไปเพื่อเบรคก็สามารถประเมินการณ์ได้บางอย่าง พอสองบาร์ต่อมาพื้นที่ low อยู่แถวเดียวกันหมดสุดท้ายราคาก็ไปทางที่เบรคเป็นรูปแบบที่ 3 ที่ยกมาตอนแรก

                อะไรเกิดขึ้นเมื่อราคาเบรคแนวรับ-แนวต้าน  

                สิ่งแรกที่เกิดขึ้นเมื่อราคาเบรค คือเปลี่ยน sell limit orders เป็น short positions ให้อยู่ในตลาด เพราะขาใหญ่สามารถใช้ประโยชน์จาก positions ที่อยู่ในตลาดมากกว่า orders ที่รอเข้าตลาด เพราะการเทรดจะทำกำไรได้ก็ต่อเมื่อท่านเปิดเทรดด้วยการเปิดออเดอร์และมีออเดอร์ฝ่ายตรงข้ามที่ราคานั้นแล้ว trading transaction ค่อยจะเกิดขึ้น การจะกำไรหรือสูญเสีย ถ้ากำไรก็ต่อเมื่ออีกฝั่งกำลังสูญเสียเพราะถ้ายังเป็น sell limit orders อยู่เงื่อนไขพวกนี้จะไม่เกิดขึ้นเพราะยังไม่ได้เกิด trading transaction ออเดอร์พวกนั้นยังรอเข้าตลาดอยู่

                อย่างที่สอง เมื่อ positions พวกนี้ก็จะมาพร้อมกับวิธีการจำกัดความเสี่ยงหรือ stop loss แต่ละออเดอร์ หรืออาจปิดเองก็ได้แต่ส่วนมากใช้ stop loss หลักการทั่วๆ ไปก็จะกำหนดเหนือจุด swig high หรือเหนือจุดที่เข้าไปอีกหน่อย ประเด็นสำคัญคือการทำงานของ stop loss พวกนี้ที่ขาใหญ่ใช้ประโยชน์ (ราคาจะวิ่งไปทางไหนได้เมื่อ market orders เข้ามาที่ราคานั้นๆ และจำนวน limit orders ไม่พอ market orders เลยขึ้นหรือลงไปหาออเดอร์ที่ราคาต่อไป ดังนั้น Limit ordeers ทำให้ราคาหยุด ส่วน market orders ถ้าเกิน Limit orders ก็จะทำให้ราคาวิ่งไปต่อหา limit orders ที่ราคาต่อไป)  stop loss พวกนี้จะกลายเป็น market order เมื่อราคาไปแตะ ดังนั้นพอ 2 บาร์ผ่านไปหลังจากบาร์ที่บอกว่า key change ราคาไม่สามารถเบรคกรอบเลข 2 ลงมาได้ เทรดเดอร์พวกที่ถือ short positions ได้เริ่มกำหนด stop loss เข้าไป และยังมีเทรดเดอร์อีกกลุ่ม breakout traders เมื่อเห็นข้อมูลที่บาร์ยาวๆ เกิดขึ้นก็จะหันมากำหนด buy stop orders เข้าไปพื้นที่เดียวกันด้วย

                สองข้อที่ยกมาเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ราคาวิ่งไปได้ดีเมื่อราคาเกิดเบรค เกิดขึ้นเพราะเงื่อนไขทั้งสองทำให้เกิดแต่ buy market orders เกิดขึ้นมาด้วยการเทรดของตลาด เพราะราคาไปแตะเงื่อนไขที่กำหนดไว้ที่ราคานั้นๆ จะเห็นว่าการเทรดของขาใหญ่ไม่จำเป็นต้องเปิดทุกจุดแต่ positions ที่เปิดตัวที่ทำให้เกิด impulsive move ไว้ไม่ได้ปิดทำกำไรหมด เพราะราคาจะลงไปเร็ว ขาใหญ่จะสร้าง market structure ใหม่อย่างต่อเนื่องใช้การเข้าเทรดเพิ่มบ้าง เพื่อไม่ให้ structure ที่กำหนดไว้เปลี่ยน แล้วใช้ประโยชน์จาก positions ที่อยู่ในตลาดและเทรดเดอร์ที่รอเข้าเพื่อช่วยดันราคาให้พวกเขา อย่างกรณี เมื่อราคาเบรคแนวรับ-แนวต้านจะเห็นประจำเมื่อราคาเกิดการเบรค แค่ดูให้ออกว่าเป็นการเบรคจริงหรือ false breakout

 

ทีมงาน : .com

เส้น