กลยุทธ์เทรด Rectangle Chart Pattern

เส้น

กลยุทธ์เทรด Rectangle Chart Pattern

                รูปแบบอีกแบบหนึ่งที่จะเห็นประจำหลังจากที่ราคาวิ่งมาสักระยะแล้วก็วิ่งอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ราคาขึ้น—ลง อยู่ภายในกรอบราคา และขยายเวลายาวออกไปเรื่อยๆ กรอบบนก็กลายเป็นแนวต้าน ส่วนกรอบล่างก็กลายเป็นแนวรับ หลักๆ รูปแบบสี่เหลี่ยมเกิดจากการพักตัวของราคาที่มาจากการปิดทำกำไรเป็นหลัก ไม่ได้ดันไปต่อตามที่ขาใหญ่เทรดมาตอนแรก จุดประสงค์หลักๆ เพื่อสะสม positioions เพื่อหาโอกาสเทรดต่อ

                เมื่อมองจากรูปชาร์ตด้านบนจะเห็นว่า ราคาลงมาด้วยความเร็วและแรงเป็นเพราะการเข้าเทรดเป็นหลัก และราคายังได้เอาชนะฝั่งตรงข้ามด้วย impulsive move ที่เกิดขึ้นเป็นและสร้างเทรนใหม่ไปในตัว เมื่อเรามองจากรูปจะเห็นว่าหลังจากที่ราคาทำเทรนมา ราคาหยุดแล้ววิ่งขึ้นลงอยู่ในกรอบและกรอบนั้นก็สร้างแนวรับแนวต้านขึ้นมา

                จะเห็นว่าราคาดันลงผ่าน demand (มองทางช้าย) ตรงข้ามได้แล้วทำ lower low แต่ราคาก็ดันกลับขึ้นไป แต่ราคาไม่สามารถเอาชนะ supply เหนือกรอบด้านบนได้ ได้กลายเป็นแนวต้านหรือ resistance ราคาทำได้แต่ lower high ตรงนั้นแล้วก็เด้งลงมาอีก แต่ไม่สามารถเบรค low ก่อนได้ ก็กลายเป็นแนวรับหรือ support  จากนั้นราคาก็วิ่งอยู่ในกรอบ กลายเป็นช่วงสะสม position ของขาใหญ่หรือกลายเป็นช่วง consolidation  จนกว่าได้มาเกิด false breakout ขึ้นค่อยเปิดเผยว่าขาใหญ่สะสม positions ด้านไหนเปิดออกมาและอยากดันราคาไปต่อ

                False Breakout จึงเป็นจุดสำคัญสำหรับรูปแบบ Rectangle pattern เพราะจะเป็นตัวบอกว่าขาใหญ่สะสมออเดอร์ทางไหนแน่ว่าเป็นด้าน long postions หรือ short postions เพราะถ้าขาใหญ่เปิดเผยออกมาแล้ว มักจะตามด้วยการเคลื่อนไหวไปทางนั้นตามมาเพราะร่องรอยการเทรดเปิดเผยแล้ว

                False Breakout ทำให้เกิดสองสิ่งหลักคือ

                อย่างแรก จะเป็นการดันราคาไปแตะ stop loss – ที่ของเทรดเดอร์เปิด short positons ในช่วงกรอบสี่เหลี่ยมที่เกิดขึ้น เพราะเทรดเดอร์พวกนี้ก็จะตั้ง stop loss orders เหนือที่บอกว่าเป็น resistance หรือกรอบบนของกรอบสี่เหลี่ยมหรือ rectangle pattern

                อย่างที่สอง ก็จะเปิดออเดอร์พวกเทรดเดอร์พวกที่เทรด breakout ที่ตั้ง buy stop orders พื้นที่เดียวกันกับ stop loss orders ของกลุ่มแรกด้วย

                ทั้งสองอย่างจะทำให้ขาใหญ่ได้เข้าเทรดอีกทีก่อนที่จะดันราคาจริงและเปิดเผยว่าพวกเขาเทรดทางไหน ส่วนที่จะดันราคาลงแรงเมื่อเบรค support ก็หลักการเดียวกันแต่ทางตรงกันข้ามของเทรดเดอร์ที่เปิด long positions ที่เกิดช่วงราคาทำกรอบสี่เหลี่ยมและ sell stop orders จากเทรดเดอร์พวก breakout

                ดังนั้นเมื่อท่านเห็นแบบนี้ มีสิ่งยืนยัน rectangle pattern ท่านว่าจะไปทางไหน มาดูกันว่าอะไรที่เป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดกลยุทธ์การเทรด rectangle pattern มีดังนี้ ข้อแรกเรื่องของเทรน ให้มั่นใจว่าราคาทำเทรนก่อน อย่างที่สองเห็นราคาวิ่งอยู่ในกรอบแนวรับ-แนวต้าน ข้อสามเห็น false breakout เกิดขึ้น และข้อสี่เห็นราคาเปิดต่ำว่ากรอบที่ราคาเบรคลงมาได้เงื่อนไขการเทรดค่อยเกิดขึ้น

                เมื่อจะเปิดเทรดให้รอจนกว่าราคาได้ปิดต่ำกว่า กรอบสีเหลี่ยมก่อนเพราะบอกว่าเป็นการเข้าเทรดจริง และที่เกิดขึ้นจริงจะใช้ประโยชน์จาก trapped traders ได้เต็มที่และจะกลายเป็นข้อมูลใหม่ที่จะดึงให้เทรดเดอร์ที่เห็น breakout เกิดขึ้นหันมาเทรดทางนี้เป็นหลักด้วย จะทำให้เมื่อราคาต่ำกว่า support มีแต่ sell market orders เป็นหลักและต่อเนื่องเลยจะทำให้ราคาไปต่อได้ง่าย

                เช่นยกตัวอย่างกรณี Bearish Rectangle หลักทั่วไปในการเปิดเทรด trade setup จะเกิดได้เมื่อราคาหลังจากเบรค และปิดต่ำกว่ากรอบล่างหรือพื้นที่ๆ เป็น support เพราะบอกว่าขาใหญ่เข้าเทรดจริงหลังจากที่เปิดเผยร่องรอยด้วยการ false breakout  เมื่อบาร์ปิดสามารถเปิดเทรดได้เลยเป็นการเทรดตาม breakout (หรือเทรดอีกทีตอนราคาย่อตัวมาเทส) และ เรื่อง take profit ให้วัดจากกรอบ Rectangle แล้วตั้งด้วยการคูณ 2 เท่าหรือ 3 เท่าไปแต่แนะนำให้ดู price level ประกอบด้วย  stop loss ก็เหนือ resistance

                หลักการเทรดทั่วๆ ไปอย่างที่ยกภาพมาประกอบ จะเห็นการเทรดตอนที่ราคาเบรคลงมาแล้วราคาปิดมีการยืนยันหรือ เป็นการรอราคากลับมาเทสอีกรอบก็ได้ เพราะเหมือนหลักการเทรด breakout แล้วแต่กลยุทธ์ แต่ถ้ามีเทรนนำหน้ามาก่อนจะดีเพราะบอกว่าขาใหญ่อยากเทรดทางนั้น และช่วงราคาทำกรอบสี่เหลี่ยมหรือ Rectangle pattern ราคาไม่สามารถเบรค high กลับขึ้นไปได้ ยังบอกว่าเทรดเดอร์ยังอยากเทรดต่อทางที่เป็นเทรนอยู่ แต่รอให้ขาใหญ่เปิดเผยว่าสะสมทางนั้นจริงและต้องการดันราคาไปต่อ ด้วยการเปิด false breakout ขาใหญ่สะสมออเดอร์ทางไหนก่อน

                สิ่งที่ต้องดูประกอบทุก trade setup ที่เกิดขึ้นเรื่อง risk:reward ต้องได้อย่างน้อง 1: 3  หรือมากกว่ายิ่งดีเพราะเป็นเรื่องความเป็นไปได้ ส่วน Bullish Retangle ประยุกต์ตรรกะตรงกันข้าม

                รูปแบบ Rectangle patterm จะเป็นรูปที่เห็นประจำเพราะราคาเมื่อเกิดการทำเทรนแล้วมันจะมีการพักตัวเพราะผลจากการปิดทำกำไรและต้องการสะสมออเดอร์เพิ่มของขาใหญ่เพื่อจะเทรดต่อ เพราะราคาไม่อาจวิ่งไปทางเดียวได้ เนื่องจากเรื่องการเทรดและการทำกำไรจำเป็นต้องมีออเดอร์ฝั่งตรงข้ามเสมอ เพราะรูปแบบนี้เป็นจากความพยายามต้องการสะสมออเดอร์เป็นหลักแล้วค่อยดันราคาไปต่อเมื่อเปิดเผยออกมา

 

ทีมงาน : www. .com

เส้น