เวลาและความกดดันในการเทรด

เส้น

เวลาและความกดดันในการเทรด

                จากโอกาสที่เปิดเทรดเห็นความเป็นไปได้ กลายเป็นติดลบ แล้วมาเป็นเหยื่อของขาใหญ่ในการเข้าเทรดหรือเรียกกว่า trapped traders พอรู้ตัวอีกทีก็ติดกับเสียแล้ว

                การเปิดเทรดแม้ว่าการสูญเสียเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องยอมรับ หรือแม้ว่าเมื่อเปิด positions มีการติดลบก็คือว่าเป็นเรื่องปกติ  สิ่งหนึ่งที่ต้องเกิดขึ้นเมื่อจาก order กลายเป็น positon คือ เวลาและความกดดัน ตามด้วยความอดทน

                นี่เป็นข้อมูลจาก Oanda Orderbook สำหรับคู่เงิน GBPJPY ดูตรง long positions ที่บอกเหนือราคาปัจจุบันออกถึงว่ามีเทรดเดอร์ที่เปิด buy ติดลบอยู่ตรงไหน

                เมื่อท่านใช้ Oanda Orderbook เพื่อดูย้อนหลังท่านดูภาพ ที่มีเลข 1 และเลข 2 ท่านจะเห็นว่าการเปิด long positions เพิ่งเกิดตอนที่ราคาลงมาแรงๆ ที่ 144 ที่ถือว่าเป็นพื้นที่ demand ที่ราคาดันขึ้นไป เมื่อท่านกลับไปดูภาพแรกบนสุดท่านจะเห็นว่าเทรดเดอร์ที่ถือ positions ตรงแถวนี้ยังไม่ได้ปิด เพราะ positions ยังอยู่เมื่อราคาอยู่ที่ปัจจุบัน ดังนั้นความกดดันก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าราคาลงไปต่อ ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละเทรดเดอร์ที่ถืออยู่ตรงนั้นรับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน

                ความกดดันเกิดขึ้นเมื่อราคาวิ่งสวนทางและห่างจากจุดที่เปิดเทรด ยิ่งนานเทรดเดอร์ที่ถือ positions นั้นยิ่งแบกรับความกดดันนาน เพราะเทรดเดอร์พวกนี้ยังเชื่อว่าราคาจะกลับมาทางที่เปิดเทรด ความกดดันยังขึ้นกับทุนของแต่ละเทรดเดอร์ด้วย  ถ้าเป็นรายย่อยทุนจำกัด เมื่อราคาห่างออกไปและเกินจุดที่รับได้ เทรดเดอร์พวกนี้ก็จะออก จุดที่จะออกหรือจุดที่เป็นกรอบภาพใหญ่เมื่อราคาผิดทางก็จะเป็นจุดที่กดดันมากสุด ถ้าราคาไปทางนั้นจริงๆ ก็ยิ่งจะทำให้เทรดเดอร์พวกที่ติดลบหันมาออกเป็นหลัก ดังนั้นเมื่อท่านคำนึงถึงเรื่องเวลาที่ถือนานและราคาวิ่งสวนไปยังไม่กลับมา และช่วงเวลาที่สะสมเรื่อยๆ พื้นที่ๆ เห็น consolidaiton จาก timeframe ใหญ่ เช่น H4, D1 หรือ W1 เลยได้เงื่อนไขพวกนี้ เมื่อราคาวิ่งสวนถึงจุดเปลี่ยนเลยมักจะดันราคาไปทางนั้นๆ ต่อ เพราะความกดดันที่เทรดเดอร์ถือรอนานๆ เริ่มรับไม่ไหว

                จากภาพจะเห็นว่าราคาเบรคลงมาคือข้อมูลสำคัญทำให้เทรดเดอร์อยากเปิด sell เป็นหลักเพราะความรู้เรื่องเทรนและเพราะราคาเบรค demand ด้วยและเพราะเทรดเดอร์ที่ติด long positions ก่อนที่ราคาเบรคลงมาออกด้วยเลยทำให้เกิด บาร์ยาวๆ และราคาปิดล่างได้ เลยกลายเป็นข้อมูลสำคัญให้เทรดเดอร์ส่วนมาก เฉพาะรายย่อยสนใจเปิดแต่ sell เป็นหลัก ดูความสำคัญของบาร์ยาวๆ ที่เบรคลงไป เมื่อราคากลับมาจะเห็นชัดว่าเทรดเดอร์ทำอะไร หันมาเปิด sell market orders เป็นหลักที่พื้นที่ราคาเบรค ชาร์ตเป็นชาร์ต D1 เวลาผ่านไปหลายวันจาก sell market orders ได้กลายมาเป็น short positions ที่ราคาไม่ไปไหน มีแต่ให้รายย่อยเปิด short positions ผ่านไปราคากลายเป็นทำ consolidation หรือเป็นช่วงสะสม positions ของขาใหญ่

                ก่อนนี้เคยได้นำเสนอเรื่องการเทรดของขาใหญ่ด้วยเรื่อง consolidation ที่ถือว่าเป็นช่วง accumulation ของ positions มากมายผ่านช่วงเวลานั้นๆ เราจะไม่รู้ว่าขาใหญ่สะสม positions ด้านไหน ไม่ว่าจะเป็น long positions หรือ short positions  แต่เมื่อสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นคือการปั่นราคาหรือ false breakout หรือ stop run เกิดขึ้น จะทำให้เรารู้ว่าขาใหญ่สะสม positions ที่อยู่ช่วง consoidation ด้านไหน และหลังจากเกิด stop run อีกไม่นานก็จะตามด้านการดันราคาไปทางนั้นจริงๆ เพื่อทำกำไร เพราะเมื่อพวกขาใหญ่เปิดเผยว่าเทรดทางไหน พวกเขาต้องรีบดันราคาไปต่อ

                ดูที่ว่าราคาเบรคดันราคาขึ้นไป จะเห็นว่าพื้นที่ต่ำกว่าเลข 2  ลงมาที่เห็นหางบาร์เกิดขึ้นนั้นเกิดเพราะการเปิดเทรดตามเทรนหรือเทรดตามเบรคลงทางช้ายมือ  แต่ราคาไม่ไปต่อลงแล้วเด้งขึ้นมาทำ higher low และทำ higher high และก็อยู่ในกรอบเกิดเป็นช่วง consolidation ที่ต้องถือรอนานเพราะการที่พยายามเทรดตามเทรนกลายเป็นว่าถูกขาใหญ่หลอกให้เปิดสะสม positions ในพื้นที่ตรงนั้นไป พอเวลาผ่านไปนาน ยิ่งนาน ถ้ายิ่งติดลบด้วย ยิ่งแบกความกดดัน และยิ่งแบกนานแล้วพอต่อมาหลังจากขาใหญ่เปิดเผยว่าเทรดทางไหน ยิ่งเป็นทางตรงข้ามด้วยยิ่งเพิ่มความกดดัน เลยทำให้จำต้องออกเพื่อจำกัดความเสี่ยงและเพื่อกำจัดความกดดันพวกนี้

                พอเมื่อราคาเบรคขึ้นเลยจะเห็นว่าราคาดันขึ้นเป็นหลัก เพราะ buy market orders มาจากเทรดเดอร์พวกที่พอราคาเบรคขึ้นมากลายเป็น trapped traders ด้วย

                ราคาไม่อาจวิ่งทันทีถ้า market orders ยังไม่เกินฝั่งตามข้ามมากพอและต่อเนื่อง เพราะเงื่อนไขการออกจากตลาดของ trapped traders ต่างกัน แม้พื้นที่เดียวกันไม่ได้หมายความว่าที่ราคาเดียวกันอาจห่างกันออกไป แล้วแต่การรับความกดดัน ต้องดูให้ออกว่าจุดที่เป็นจุด peak อยู่ตรงไหนที่เทรดเดอร์ส่วนมากจะกระทบหมด ให้ดู high/low พื้นที่ประกอบ เพราะเมื่อท่านมองมาทางช้ายจะเห็นว่าที่เลข 3 เหนือขึ้นไปเป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ถ้าราคายังไม่เบรคตรงนี้ ก็จะยังมีเทรดเดอร์ที่เปิด short positions ยังเชื่อว่าราคาจะลงไปต่ออยู่ พอราคาเกินที่เลข 3 ด้วยบาร์ยาวๆ และปิดบนได้ ราคาลงมาแค่บาร์เดียว อีก 2 บาร์ตามมาเป็น bullish หมด และดันขึ้นไปเลย

                จากที่ยกตัวอย่างมา จะเห็นว่าเวลาผ่านไปจะทำให้เกิดการสะสม positions ด้วยและการแบกรับความกดดันของเทรดเดอร์ที่ถือ positions ที่ติดลบผ่านช่วงเวลา ยิ่งนานมาก ยิ่งไม่อยากแบกความกดดันอีกต่อไป ยิ่งถ้าเห็นราคาเปลี่ยนข้างที่ทำให้มั่นใจว่าราคาจะไม่มาทางที่เขาเปิด ยิ่งจะทำให้หันมาทยอยออกกันเป็นหลัก อาจไม่ออกพร้อมกันแต่ให้มองเป็นพื้นที่ ก็จะเห็นว่ามีออเดอร์ที่เกิดจากการออกที่พื้นที่นี้เกิดขึ้น ก็จะทำให้ดันราคาไปทางที่เทรดเดอร์พวกนี้ออกได้ง่าย

 

ทีมงาน  www. .com

เส้น