Forex Life การเทรด Correlation Trading (2)

เส้น

Forex Life การเทรด Correlation Trading (2)

 

บทความก่อนหน้าเป็นการอธิบายที่มาที่ไปของการเทรด ใช้ Correlation ในการเทรด บทนี้เราจะกล่าวถึงวิธีการในการเทรด ซึ่งจะขอยกประเภทของความสัมพันธ์ในการเทรด แบบต่าง ๆ รูปแบบการเทรด ใช้ Correlation ในการเทรดแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. การเทรด ใช้ความเชื่อมโยงด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ
  2. การเทรด ใช้ความเชื่อมโยงของค่าเงิน
  3. การใช้การเทรด ใช้ความสัมพันธ์แบบกลุ่ม

รูปแสดงกราฟสีแดงแสดงความสัมพันธ์ต่ำสีเขียวและสีน้ำเงินมีความสัมพันธ์กันสูง

 

บทความนี้จะอธิบายวิธีการเทรดทั้ง  3 แบบว่าจะทำการใช้การเทรดเชิงความสัมพันธ์อย่างไร ทีละประเภทดังนี้

  1. การเทรด ใช้ความเชื่อมโยงด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ

ในโลกของค่าเงินมีค่าเงินหลายค่าที่มีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกันและค่าเงินสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น USD และ CAD ซึ่งเป็นคู่ของทวีปอเมริกาที่ใกล้ชิด ตัวอย่างของค่าเงิน AUD และ NZD ในฝรั่ง ทวีปออสเตรเลีย ขณะที่ยังมีค่าเงินของ EUR และ GBP อย่างไรก็ตามแม้คู่เหล่านั้นจะมีความใกล้ชิดกันแต่ก็ยังมีปัจจัยที่แตกต่างกันมากทำให้ค่าเงินนั้นขับดันแตกต่างกัน การเทรดลักษณะนี้ไม่ได้เป็นการเทรด Pair Trading แต่เป็นการเทรด ค่าเงินเดี่ยว ๆ

ตัวอย่างเช่น เนื่องจากค่าเงิน USD แข็งค่าขึ้นมาก แต่ว่าไม่มั่นใจว่ามันจะขึ้นไปต่อหรือไม่ก็เลยจะซื้อค่าเงิน CAD แทนเนื่องจากมีความสอดคล้องกันและระบบเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน แต่เราจะไม่ทำการ SELL USDCAD ครับเพราะว่ามันเป็นการเสี่ยงมากกว่า การ Sell หมายความว่า USD นั้นจะลง และ CAD นั้นจะขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่อาจจะเป็นแบบนั้นก็ได้เราเลยไม่เทรดตรง ๆ ตรง ๆ ครับ เราจะทำการเทรดอ้อม ๆ คือ เดิมเราจะทำการซื้อ USDCHF เมื่อเราคิดว่า ค่าเงิน USD จะแข็งค่า แต่มันขึ้นมาเยอะแล้ว เราก็ไม่ Buy USDCHF แล้วแต่ทำการ BUY CADCHF แทน ซึ่งนี่ก็เรียกว่า เป็นการใช้ค่า Correlation แบบหนึ่งครับ การหาค่าเงินตัวกลางตัวอื่น มาเล่นแทน แทนที่จะ Bias กับ 2 ตัวนั้นอย่างเดียว การเทรดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความเสี่ยงนะครับ การเทรดทุกวิธีมีความเสี่ยงครับ ไม่มีแบบไหนไม่มีความเสี่ยง แล้วแต่คุณจะมองความเสี่ยงอย่าไงร

 

  1. การเทรด ใช้ความเชื่อมโยงของค่าเงิน

การเทรด ใช้ความเชื่อมโยงของค่าเงิน เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการเทรดของมือใหม่ครับ มันเป็นวิธีการที่ใช้แบบผิด ๆ ซึ่งวิธีการที่ 1 อาจจะดีกว่าด้วยซ้ำในแง่ของความเป็นจริง แต่ว่าไม่มีวิธีการใดผิดหรือถูก ถ้าหากว่ามีความเข้าใจเพียงพอ ในวิธีการที่ 2 นี้จะทำการ Buy 2 คู่เงิน เช่น เราเห็นว่า AUDUSD ขึ้นมามาก เมื่อเทียบสัดส่วนกับ NZDUSD เราก็เลยคิดว่า แทนที่จะเราจะทำการ Buy แค่ NZDUSD แบบวิธีการที่ 1 เราก็เลยทำมันทั้ง 2 คู่นั่นคือ การ Short AUDUSD แล้วทำการ Long NZDUSD ด้วยเหตุผลที่ว่า ถ้า 2 คู่เงินนี้เคลื่อนไหวไปตามกันจริง มันก็จะกลับให้ AUD ลง และ NZD ขึ้น หรือถ้า AUD ไม่ลง NZD ก็จะขึ้น ไม่ว่าขึ้นหรือลงก็จะได้ทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อชดเชยกันและขาดทุนน้อย อะไรทำนองนั้น

แต่ในความจริงแล้วมันไม่จริงครับ ไม่จริงเพราะอะไร เพราะเรา Short AUD และ Long NZD นั่นเท่ากับเรากำลัง SHORT คู่ AUDNZD ในตลาดนั่นแหละครับ จะกลายเป็นเสียค่าธรรมเนียมสองต่อไปเสียเปล่า ๆ ดังนั้นวิธีการนี้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ผมเห็นมือใหม่ในตลาดทำกันบ่อยและเข้าใจอะไรผิด ๆ แต่ว่าจังหวะการทำกำไรมันก็มีเยอะนะครับ เราสามารถเทียบสัดส่วนกัน การไปเทรด AUDNZD แทนไม่ต้องเทรด 2 คู่ให้เสียเวลาครับ

 

  1. การใช้การเทรด ใช้ความสัมพันธ์แบบกลุ่ม

แบบที่ 3 คือการสร้าง BASKET ขึ้นมา เราจะทำการจัดทำกลุ่มค่าเงินที่มีความเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน เหมือนกัน ขึ้นมาสักชุดหนึ่ง เช่น ชุดที่อยู่ทวีปเดียวกัน และมีความเคลื่อนไหวคล้ายกัน เอาเป็น EURUSD  GBPUSD  USDCHF DKKUSD หรืออะไรก็ได้สัก 3 – 4 ตัว แล้วทำการจดสถิติครับ เช่นว่า ค่าความสัมพันธ์ของค่าเงินทั้งหมด มีความสัมพันธ์ต่ำสุด หรือ สูงสุดเท่าไหร่แล้วเรานำมาหาค่าเฉลี่ยความสัมพันธ์ เช่น ค่าเฉลี่ยความสัมพันธ์ได้เท่ากับ 0.75 หรือเคลื่อนไหวเหมือนกัน 75 % ถ้าหากตัวไหนคู่ไหน เคลื่อนไหวต่ำมาก ๆ เช่น เหมือนกัน 50 % หมายความว่ามันมีโอกาสที่จะกลับไปเคลื่อนไหวคล้ายกับกลุ่ม หรือตัวที่เคลื่อนไหวเหมือนกันมาก 99 % มันก็จะเคลื่อนไหวเหมือนกันน้อยลง หาตัวนั้นแล้วหาทิศทางกลุ่ม ก็จะได้การใช้การเทรดแบบความสัมพันธ์แบบกลุ่มครับ การเทรดแบบนี้ไม่ค่อยมีใครใช้มากนักเพราะว่าต้องมีการเก็บสถิติคำนวณและต้องเฝ้าหน้าจอหรือมีตัวส่งสัญญาณในการเทรดที่แม่นยำ ไม่เช่นนั้นก็พลาดโอกาสได้ง่ายครับ และต้องมีการศึกษาข้อมูลย้อนหลังพอสมควร

เป็นอย่างไรบ้างครับ วิธีการทั้ง 3 ก็หวังว่าคงจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ สำหรับใครที่อ่านไม่เข้าใจ นั่นอาจจะเป็นเพราะท่านยังงงกับพื้นฐานค่าเงินครับ ลองศึกษาเพิ่มอีกหน่อยจะเข้าใจสิ่งที่ผมเขียนได้ไม่ยาก

 

ทีมงาน  www. .com

เส้น