ทฤษฎีพฤติกรรมราคา  ทฤษฎีของตัวเอง 8

เส้น

ทฤษฎีพฤติกรรมราคา  ทฤษฎีของตัวเอง 8

ต่อจากบทความที่แล้ว เราจะเห็นว่าราคานั้นขึ้นลงอย่างมีเหตุผลและไม่ได้มีรูปแบบตายตัว มีคนหลายกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งขาขึ้นและขาลง และจะเห็นว่านี่เป็นเหตุผลที่ว่าหลาย ๆ ทฤษฎีใช้ไม่ได้เกี่ยวกับวัฏจักรราคา การที่ราคาขึ้นลงย่อมมีผู้อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งลงด้วย ในบทความนี้เราจะมาอธิบายเหตุการณ์ต่อจากคราวที่แล้ว ซึ่งคราวที่แล้วเมื่อราคาจนถึงยอดสุดของมัน กลุ่มของเทรดเดอร์กลุ่มที่ 1 และ 2 จะมีส่วนร่วมตั้งแต่การเข้ามาของกลุ่มที่ 1 แรก ๆ พวกนี้สามารถสังเกตุพฤติกรรมราคาได้ง่าย ๆ จากพื้นฐานของตลาด ซึ่งพื้นฐานของตลาดเหล่านี้รวมทั้งที่คนอื่นเรียกว่า PE Market sentiment หรือแม้แต่มูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ สิ่งเหล่านี้พวกรายใหญ่ได้ใช้เป็นองค์ประกอบในการสังเกตุราคา เรามาต่อเรื่องวัฎจักรราคากัน

วัฎจักรราคา (ต่อ)

รูปที่ 1 แสดงช่วงการเก็บของและการดันราคา

 

เราคงไม่ต้องพูดถึงกลุ่มที่ 3 เพราะว่ากลุ่มนั้นก็หากินจากการตอดเล็ก ตอดน้อยจาก Commission ที่เราจ่ายอยู่แล้ว กลุ่มที่ 4 เมื่อกลุ่มที่ 1 ที่ 2 เข้าเทรด ย่อมมีผลกระทบระหว่างกัน เราลองจินตนาการถึงทุ่งหญ้าสะวันน่า ที่มีสิงโตที่ล่าควายป่าอยู่ในฤดูฝน ซึ่งมีควายป่าเยอะ ถ้ามีฝูงหมาป่าซึ่งเป็นเทรดเดอร์ของกลุ่มที่ 2 จะเห็นว่ากลุ่มพวกนี้ก็จะล่าควายป่าและทำให้จำนวนควายป่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญแก่ได้เหมือนกัน ฉะนั้น กลุ่ม 1 และกลุ่มสองเวลาเทรดจึงส่งผลกระทบกัน อาจจะมีการต่อสู้กันได้ทุกเมื่อทำให้รูปแบบราคาเป็นไปได้หลายแบบ  อย่างไรก็ตามเราไม่ใช่กลุ่มสอง ลองนึกถึงกองทุน Hedge Fund ขนาดใหญ่กับ กองทุนอัตราแลกเปลี่ยนสักกองละ 30 ล้าน USD ดู ว่ามันงัดข้อกันไม่ได้ แล้วเราหล่ะ?

เราในฐานะกลุ่ม 4 (ผมสมมุติว่าใคร ๆ ก็อยากจะมาถึงจุดกลุ่มที่ 4 หน่ะนะ) เราจะมีกลยุทธ์อย่างไร เทรดอย่างไร? ในกลุ่ม 4 ขนาดเงิน สัก 50,000 USDยังไม่กระทบอะไรของใครเลยครับ เพราะเงินมันน้อยเกินไป การที่เขาเก็บราคาช่วงหนึ่งเพื่อตุนของ แล้วเราเข้าไปเก็บสัก 10,000 USD ไม่ทำให้เขาได้ของน้อยลงครับ แต่ถ้าเป็นพวกกองทุนในกลุ่ม 2 หลาย ๆ กองก็อาจจะทำให้กลุ่ม 1 แย่ไปเลยเหมือนกัน เช่นนั้นจะเกิดความขัดแย้งกันเอง

ภาวะที่ทำให้เทรดเดอร์รายย่อยเข้ามาในตลาดเป็นภาวะที่พวกเขาต้องการ “เรียกแขก”  ภาวะนี้หมายความว่าเขาพร้อมแล้วที่จะขายของ เขาต้องการดันราคาขึ้นนั่นเอง ถ้าราคาขึ้นจะทำให้คนสนใจ ไม่ว่ามันจะขึ้นด้วยอะไร หลายปัจจัยต้องเอื้อไม่ว่าเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ปัจจัยพื้นฐาน กล่าวคือ หาคนมาซื้อต่อ จะมีความรู้สึกดีประดังเข้ามาสำหรับเม่าทั้งหลาย คือ รู้สึกว่าเฮ้ย เพื่อกูลงทุนในบิทคอยน์ ขึ้นเอาขึ้นเอา เมิงมาลงทุนด้วยสิ ณ เวลานั้น จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมามากมาย ดังต่อไปนี้

  • เกิดเซียนขึ้นมาเต็มไปหมด ใครก็เป็นเซียน วิคงวิเคราะห์ บทวิเคราะห์ราคา เพื่อให้รายย่อยมารุมตอม คิดว่าตัวเองก็ซื้ออย่างมีหลักการ
  • เกิดคนรวยขึ้นมาเต็มไปหมดจนเกิดการเลียนแบบ จูงใจให้คนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็อยากเข้ามาลงทุนในตลาดกับเค้าบ้าง มันมีคำกล่าวว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่แท็กซี่ยังพูดเรื่องลงทุนในหุ้น นั่นแหละคือเตรียมตัวได้แล้ว
  • ณ ตอนนี้ คือขาขึ้นสมบูรณ์ หลายคนบอกว่าตัวเองจะรวยตั้งแต่ตอนนี้แหละ ประเด็นคือ ขึ้นเอา ขึ้นเอา ทำไมมีคนโง่ขายให้เราทั้งที่เราก็ไม่ได้มาถูก นี่แหละเป็นจุดที่ไม่มีคนคิดเสียส่วนใหญ่ มันเป็นตามกราฟที่เรียนกันมาก็จริง กราฟเกิดก่อน หรือ ราคาเกิดก่อนกันหล่ะ???

กลุ่มที่ 4

เมื่อเขาขายหมดและทิ้งดอกสุดท้ายนั่นคือราคา ณ จุดสูงสุดแล้ว จึงทำให้เกิดทฤษฎีกราฟต่าง ๆ ผมคงไม่เอ่ยอะไรอีกมาก คิดว่าหลาย ๆ ท่านคงพอเข้าใจ นั่นคือ หน้าที่ กลุ่ม 1 กลุ่ม 2 เค้า กลุ่ม3 มันก็หากินตอดไปเรื่อย ๆ ทุกฤดูกาลอยู่แล้ว แล้วกลุ่ม 4 อย่างเราหล่ะ จะเห็นว่า กลุ่ม 5 และ กลุ่ม 6 คือกลุ่มที่ผสมโรงกับราคาและคิดว่าตัวเองจะรวยไปจากตรงนั้นไปแล้ว กลุ่มที่ 4 อย่างเราจะเทรดอย่างไร ทำอย่างไร คิดอย่างไร แบบไหน?

ต้องขอเกริ่นอีกนิดก่อนว่า กลุ่มที่ 4 นั่นเป็นเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์มาบ้างแล้ว ไม่ได้เอาตัวเองไปรวมกับแมงเม่าที่หลงระเริงไปกับตลาด กลุ่มที่ 4 ไม่ใช่คนที่มาอ่านบทความของผมแล้วก็จะเป็นได้ กลุ่มที่ 4 ไม่ใช่ว่า อ่านกราฟ วิเคราะห์กราฟ และรู้จัก Money Management หรือมีกลยุทธ์เทพแล้วก็จะเป็นได้ ประสบการณ์จะสอนคุณเอง สิ่งเดียวที่ตลาดไม่ได้ฝึกให้คือ ความรู้สึกของการขาดทุน คนที่ไม่มีประสบการณ์จะไม่มีทางเข้าใจ หลายคนบอกว่าถ้าใช้ Close System ของ Mudleygroup ก็ไม่มีทางขาดทุน ผมคงไม่ไปอธิบายให้ยุ่งยาก ผมเคยเขียนไปแล้วว่าระบบมันใช้ไม่ได้ขนาดไหน!

คนกลุ่มที่ 4 จะเป็นได้ คุณต้องมีองค์ประกอบคือ เงินจำนวนหนึ่ง  ประสบการณ์ที่สามารถยอมรับกำไรหรือขาดทุนได้ ทักษะการจัดการกับอารมณ์ และวิธีการเป็นอย่างสุดท้าย ซึ่งวิธีการเป็นสิ่งเดียวที่ผมสามารถเขียนลงในบทความนี้ได้ อย่างอื่น ๆ คุณต้องแสวงหาเอาแล้วหล่ะ มันเหมือนกับนิพพาน เหมือนกับเซนนั่นแหละ มีคนพูดถึงแต่ไม่รู้ว่ามีอยู่จริงหรือเปล่า เหมือนกับคนว่ายน้ำไม่เป็นไม่รู้ว่าความรู้สึกตอนที่ว่ายน้ำลอยได้เป็นอย่างไรนั่นแหละ เหมือนกับคนพูดภาษาอังกฤษได้ แต่คนพูดไม่ได้ก็ไม่มีทางเข้าใจเลยคิดว่า ถ้าไปเรียนก็จะพูดได้นั่นแหละ (แต่เราเรียนภาษาอังกฤษกันตั้งแต่ ป. 5 กันแล้วนะ ยังพูดไม่ได้ซักที ฮ่า) บทความต่อไปผมจะพูดถึงวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในกลุ่มที่ 4 ตามทฤษฎีราคาของผมเท่านั้น ซึ่งจะไม่มีการใช้ในโลกของการเทรดในโลกนี้มาก่อนแน่นอน เพราะมันมาจากทฤษฎีของผมเท่านั้น

Keywords ทฤษฎีราคา  วัฎจักรของราคา Forex  การเคลื่อนไหวของราคา Forex

ทีมงาน  www. .com

เส้น