ทฤษฎีพฤติกรรมราคา  ทฤษฎีของตัวเอง 5

เส้น

ฤษฎีพฤติกรรมราคา  ทฤษฎีของตัวเอง 5

 บทความนี้เป็นบทความในทฤษฎีการล่า ทฤษฎี Forex ของผมที่ผมใช้ในตลาด Forex เกี่ยวกับทฤษฎีการล่า ในที่นี้ผมจะยกตัวอย่างต่อจากคราวที่แล้วเรื่องของรู้จักตัวเองว่า ตัวเองเป็นแบบไหน ซึ่งทฤษฎีการล่าที่ผมจะเล่าแบ่งนักล่าออกเป็น 6 กลุ่มรวมทั้งเหยื่อที่เป็น 2 กลุ่ม เราจะเห็นได้ว่ามันแยกได้ดังนี้

เหยื่อแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เหยื่อหมู่  กับ เหยื่อเดี่ยว

นักล่า แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ นักล่าฝูงขนาดใหญ่ นักล่าฝูงขนาดกลาง พวกกินซาก และนักล่าเดี่ยว

ถ้าหากใครไม่เข้าใจให้ยอดกลับไปอ่านตอนที่ 14 ทฤษฎีของตัวเองที่ 3 ในส่วนนี้ผมจะกล่าวถึงเรื่องของราคาในตลาดและความสัมพันธ์กันของนักล่า เริ่มจากสัดส่วนของตลาดก่อนและจะกล่าวถึงกลยุทธ์ของแต่ละกลุ่มและผลกระทบต่อราคา ทำให้ราคานั้นเป็นอย่างที่เห็นอยู่ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงใช้กับทฤษฎีราคาได้

สัดส่วน

เมื่อกล่าวถึงสัดส่วน สัดส่วนของเหยื่อและนักล่า จะมีรูปทรงเป็นปีรามิดและจำนวนประชากรจะแปรผกผันกับจำนวนการครอบครองอาณาเขต ดังต่อไปนี้

 รูปที่ 1 สามเหลี่ยมแห่งความสมดุล

ในรูปที่ 1 แสดงถึงสามเหลี่ยมและมีชั้น 6 ชั้น ชั้นบนสุดคือ กลุ่มนักล่าที่มีขนาดใหญ่ล่าเป็นฝูง แต่พวกนี้มีปริมาณน้อยมาก ๆ อยู่ชั้นบนสุของสามเหลี่ยม แม้พวกนี้จะมีปริมาณน้อยมาก ๆ ในทุ่งหญ้า แต่ว่าพวกเขาถือครองอาณาเขตในทุ่งหญ้าปริมาณมหาศาล มีอำนาจในการปกป้องอาณาเขตของตัวเองสูง กลุ่มต่อมาก็จะลดลงมาตามลำดับ ซึ่งชั้นล่างสุดก็คือ กลุ่มสัตว์กินพืชที่เป็นอาหารของสัตว์ล่าเหยื่อ

อย่างไรก็ตาม สามเหลี่ยมนี้จะเปลี่ยนรูป ขนาดกว้างของฐานสามเหลี่ยม คือจำนวนของสัตว์กินพืช ถ้าจำนวนสัตว์กินพืชลดน้อยลง ก็จะทำให้ปริมาณของสัตว์กินเนื้อน้อยลงด้วยเนื่องจากขาดอาหารนั่นเอง ดังนั้น มิติของสามเหลี่ยมจึงกำหนดจากฐานรากเป็นสำคัญ กล่าวคือ ถ้าทุ่งหญ้าไหนที่มีฐานรากของสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ สัตว์นักล่าย่อมอยู่สบายและหากินไปได้นาน การอยู่สบายหากินไปได้นานนี้ก็จะทำให้กำหนดความมั่นคงของระบบนิเวศน์

ระบบ

ในระบบนิเวศน์ที่ผมกล่าวถึงเมื่อกี้ ก็คือ ตลาดนั่นเอง ตลาดเงิน ตลาด Forex ตลาดหุ้น ตลาด Crypto ตลาดน้ำมัน ตลาดโภคภัณฑ์ ตลาดจะประกอบด้วยกลุ่มนักล่า และเหยื่อทั้ง 6 กลุ่มนั้น เราลองนึกถึงฤดูแล้ง นั่นคือ ฤดูที่อาหารไม่สมบูรณ์พวกสัตว์จะแพร่พันธุ์น้อย ทำให้การล่าลดน้อยลง เมื่ออาหารน้อยลง สัตว์นักล่าก็ตายลงไปพร้อมกัน ปัจจัยก็มาจากฤดูกาล วัฎจักร และเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเหตุการณ์แบบสุ่ม จะเห็นว่ามันไปคล้าย กับ Time Series Analysis ของ หลักการพยากรณ์ ใช้เส้น MA ที่ผมเขียนไว้ในบทความก่อนหน้านี้  คือ มีองค์ประกอบของ Trend Cyclical  Season และ Random events เข้ามา

ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เปรียบเสมือน ฤดูแล้งที่ทำให้ทุ่งหญ้าขาดน้ำ เมื่อรายย่อยเข้ามาในตลาดน้อย รายใหญ่จะทำกำไรจากใครหล่ะ? การค้าขายจะต้องมีการซื้อขาย ถ้ารายใหญ่เป็นคนซื้อแล้วจะขายทำกำไรให้ใคร? นี่แหละปัญหา ไม่แตกต่างจากทุ่งหญ้าสะวันน่าเลยสักนิด เหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดนาน ๆ ครั้ง หลายคนบอกว่า 10 ปีจะมี หนหนึ่ง นี่ก็เกิด 10 ปีแล้วหลังจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ นั่นมันบอกได้ว่าไม่มีอะไรตายตัว  ฤดูแล้งปีนี้ก็อาจจะยาวนานกว่าปีก่อนมากก็ได้ ทำให้เกิดการล้มตายขนานใหญ่

ในระบบสัตว์ใหญ่จะอยู่ไม่ได้เลย ถ้าสัตว์ตัวเล็ก ๆ ไม่ได้บริโภค หรือก็คือ ไม่มีอาหารกินนั่นเอง แต่ในสังคมมนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงที่ สิงโตไม่สามารถปลูกหญ้าให้กับกวางกิน เลี้ยงกวางไว้กินยามยากลำบากได้ แต่สังคมมนุษย์กลับตาลปัด อย่างสิ้นเชิง สังคมมนุษย์มีการเลี้ยงสัตว์ มีการกักตุนอาหาร เวลาที่อาหารในระบบหมด พวกสถาบันการเงินก็จะทำการเพิ่มอาหารเข้าไประบบ ตัวอย่างนี้เรียกว่าการให้ยืม

รูปที่ 2 ใบปิดภาพยนต์ Wolf of Wall street
ที่มา https //en.wikipedia.org/wiki/The_Wolf_of_Wall_Street_(2013_film)

อาหารที่ว่าก็คือ เงิน หญ้าที่ว่าก็คือเงิน เมื่อรายย่อยเงินหมดก็จะมีการกระตุ้นการใช้จ่าย การใช้จ่ายผ่านภาครัฐ การลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการลงทุนเพราะว่า ถ้าดอกเบี้ยของธนาคารมันน้อย คนก็จะหาผลตอบแทนด้วยวิธีอื่น การลงทุน พวกสิงโตก็เลยปล่อยให้พวกหมาป่าหรือนักล่ากลุ่มที่ 2 กู้เพื่อทำธุรกิจ เมื่อทำธุรกิจก็จะเกิดการจ้างงาน และทำให้พวกเก้งกวาง ที่ทำหน้าที่เป็นลูกจ้าง มนุษย์เงินเดือน มีเงิน มาจับจ่ายใช้สอย หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังปล่อยให้พวกเก้งกวาง กู้ เสร็จแล้วพวกหมาป่าก็หาส่วนต่างจากดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้สิงโต กับ ดอกเบี้ยที่พวกเก้งกวางต้องจ่ายให้หมาป่าอีกต่อหนึ่ง

พวกสิงโตกำเงินของระบบไว้จำนวนมาก แต่พวกมันก็ฉลาดพอที่จะยอมเสียเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ได้คนที่เป็นหนี้มันจำนวนมาก แม้ว่าคนพวกนี้จะได้กำไรเมื่อเทียบเป็นอัตราน้อยก็จริง เช่น 10 % ต่อปี แต่ปริมาณมันมหาศาลมาก เพราะจำนวนเงินมันมากนั่นเอง การได้ในเปอร์เซ็นน้อยในอัตราที่มาก จึงเป็นเรื่องยากสำหรับพวกมัน นี่จึงเรียกว่า ระบบเศรษฐกิจก็ว่าได้ อย่างไรก็ตามบทความนี้คงต้องจบไว้เท่านี้ก่อน เราจะกล่าวถึง ลักษณะของนักล่าและระบบในตลาด Forex กัน

Keywords ระบบตลาด ตลาดForex  รายใหญ่

ทีมงาน  www. .com

เส้น