Price consolidation

เส้น

Price consolidation

                หลังจากราคาวิ่งมา เช่น เป็นเทรนขาขึ้น การดูสวิงเป็นการดูพัฒนาการของเทรด แต่พอราคมาถึงจุดหนึ่งที่ราคาทำ swing high ได้แล้วตามด้วย swing low และราคาก็เด้งจาก swing low กลับมาที่ swing high ไม่สามารถเบรกและทำ new high ใหม่ได้ แต่ราคาไม่ไปต่อกลับเด้งลงไปอีก เมื่อถึง swing low เดิมตอนที่เด้งขึ้นมา แล้วราคาก็วิ่งขึ้นมาอีกที่ swing high และก็ลงอีกตรง swing high ก็กลายเป็นแนวต้านหรือ resistance และตรงที่ swing low ก็เป็นแนวรับหรือ support – ราคาวิ่งแบบนี้ ถือได้ว่าเป็น price consolidation

                ลักษณะ price consolidation อาจเคยได้ยินหลายๆ ชื่อ เช่น  Congestion phase, flat market หรือ range-bound market และจะเกิดหลังจากที่ราคาทำเทรนมามากพอสมควร ที่เกิดขึ้นหลักๆ เป็นเพราะการปิดทำกำไรจากออเดอร์ที่เปิดจากเทรนนั้นเป็นหลักของขาใหญ่

                หลังจากราคาทำสวิงขึ้นไปและมีรายย่อยเทรดตาม จนไปถึงที่เลข 1 ขาใหญ่มีออเดอร์มากพอที่จะปิดกำไรเลยปิด และราคาย่อตัวมาตรงที่เลข 2 เป็นจุดที่ราคาเบรก high เดิมไป เป็นจุดที่ trend traders รอเข้าตลาดอีก เปิดบายขึ้นไปแล้วราคาไปที่เลข 3 ไม่ไปต่อและไม่สามารถทำ new high ได้ ราคาเด้งที่เลข 3 ดันลงมาอีกจุด high ด้านบนกลายเป็น resistance และราคาลงมาจุดเดิมที่เลข 4 เด้งขึ้นไปอีกจุดนี้ก็เป็น support  พอเลข 4 เกิดขึ้นก็เลยกลายเป็นพื้นที่ราคา consolidation เราก็จะได้กรอบราคามีทั้งแนวต้านด้านบนและแนวรับด้านล่าง ด้านล่างก็จะมีเทรเดอร์ที่เปิด buy พอราคาลงมาแต่ไม่ต้องการให้ราคาลงไปต่อก็จะเปิดออเดอร์ buy เพิ่มเข้าไป ส่วนด้านบนก็จะมีพวกเทรดเดอรที่เปิด sell พอราคาวิ่งขึ้นไปแล้วไม่ต้องการให้ราคาเกินขึ้นไป ก็เปิด sell เพิ่มเพื่อดันลงมาราคาก็วิ่งวนอยู่ในกรอบอย่างนี้ จนกว่าจะมีขาใหญ่เข้าเพื่อใช้ประโยขน์จากเทรดเดอร์ที่เปิดออเดอร์ในตลาดพวกนี้เพื่อปั่นราคาให้ไปทางที่ตัวเองต้องการ ดังนั้น price consolidation เกิดจากหลังขาใหญ่ปิดทำกำไรเป็นหลัก

                ก่อนที่ขาใหญ่จะเข้ามาเทรดอีกรอบด้วยการทำให้เกิด breakout แต่กรอบราคาที่วิ่งแบบนี้มีข้อดีและข้อเสียสำหรับเทรดเดอร์ที่มีกลยุทธ์เทรดในกรอบราคาแบบนี้ คือ 1. เพราะเห็น แนวรับ – แนวต้านที่ชัดเจนก็จะเปิด buy  เมื่อราคาลงไป support ที่กรอบล่าง  มาปิดที่ resistance ที่กรอบบน  และเปิด sell ที่ resistance ที่กรอบบน ลงไปปิดกำไรที่กรอบล่างที่เป็น support โอกาสเปิดตลอดจนกว่าราคาจะเบรกกรอบพวกนี้  หรือข้อ 2. สามารถเปิดเทรดตอนราคา breakout ได้  และ ข้อเสียของการเทรดในกรอบคือ 1. วอลลูมการเทรดต่ำไม่ได้เปิดเผยว่าข้าง sell หรือ ข้าง buy เป็นฝ่ายชนะ ยากต่อการเทรด 2. ราคาไม่เป็นเทรนชัดเจนว่าจะไปทางไหน และ 3. ความไม่แน่นอนของราคา

                ถ้ามองด้านออเดอร์และโครงสร้างราคาประกอบ จะพบพว่า price consolidation ยากต่อการเทรด เพราะไม่ได้เปิดเผยว่าขาใหญ่เข้าเทรด แต่ที่ได้จากข้อมูลคือ สะสมออเดอร์จากช่วงเวลาที่เกิดขึ้น แต่ถ้าเป็นช่วง consolidation ของ timeframe ใหญ่ เช่น W1 ขึ้น  ต้องดูระยะห่างแนวรับแนวต้านที่เป็นส่วนประกอบของ price consolidation ก็จะเปิดโอกาสให้เทรดได้

                แต่ถ้าราคา breakout ออกจากกรอบ การเทรดจะเป็นไปได้สูงทันทีเพราะเทรดเดอร์ต่างๆ ที่อยู่ในโครงสร้าง เฉพาะพวกที่เป็น trapped traders

                ต้องไม่ลืมว่าออเดอร์ที่มาจากเทรดเดอร์ต่างๆ ทำให้เกิด price movement และ price movement กลายมาเป็น market structure ในที่นี้คือ price consolidation ที่ราคาวิ่งอยู่ในกรอบ ออเดอร์ที่ทำให้ราคาวิ่งคือ market orders ดังนั้น market orders มาจากเทรดเดอรที่รอเข้า เมื่อเห็นราคาเปลี่ยนไปทางที่ตัวเองวิคระห์ และมาจาก trapped traders ที่ติดลบช่วงเปิดเทรดช่วง consolidation เพราะออเดอรที่เปิดอยู่ในตลาด ราคาวิ่งสวนทิศทางที่เปิดเทรด ยิ่งวิ่งไปเยอะ หรือ ข้อมูลที่ทำให้เปิดเกิดความไม่มั่นใจ เทรดเดอร์พวกนี้ก็จะออกจากตลาด ถ้า trapped traders อยู่ในโครงสร้างเยอะ หรือมากพอที่เกิน limit orders ที่ตรงข้ามก็จะทำให้ราคาวิ่งไปง่ายและเร็ว เนื่องเพราะ trapped traders และ breakout traders ประกอบ พอราคาเบรกทางใดทางหนึ่ง ราคาเลยวิ่งออกเร็วและจะเห็นการกลับมาเทสอย่างเร็วก่อนจะเห็นว่าไปทางนั้นจริงๆ หรือกลายเป็น false breakout บ่อยๆ ต้องดู price action ประกอบ

                อย่างตัวอย่างด้านบนราคาเบรก support ที่เลข 1 หลังจากที่ราคาลงมาแรง และวิ่งเทสอยู่ 1 บาร์ก่อน sell market orders ตรงที่เข้ามาตรงนี้จากพวก trapped traders  และ breakout traders ที่ตั้ง stop orders แถวเส้น support แต่พอหลังจากราคาเบรกลงมาราคาแทงหางบาร์กลับมาเทสอีกรอบ ตรงจุดนี้ถ้าอยู่ใน timeframe ย่อย จะเห็นเป็นราคาวิ่งกลับมาเทสจุดที่ราคาเบรก ก็จะเป็นช่วงที่ขาใหญ่เข้าเปิดออเดอร์เพิ่ม เทรดเดอร์อื่นๆ ที่เห็นตรงนี้ก็จะเปิดเพิ่ม และพอราคาไม่ขึ้นมาต่อ price action เกิด rejection ชัดเจน trapped traders ที่อยู่ในพื้นที่ support เป็นหลัก ก็จะเริ่มออก ดังนั้น market sell orders ก็จะมาจาก ขาใหญ่เข้าเทรดเพิ่ม เทรดเดอร์อื่นๆ ที่เห็นตรงนี้ก็รอเข้า เช่นพวก trend traders ราคาเบรกเปลี่ยนข้าง ตรงเบรกก็เป็นจุดย่อตัวที่เทรดเดอร์พวกนี้จะเข้าเป็นหลัก และสุดท้าย sell marker orders มาจาก trapped traders ต้องออกจากตลาด  การเข้าใจหลักการทำงานออเดอร์และพฤติกรรมของเทรดเดอร์ทั้งที่รอเข้าตลาด และ ที่ติดอยู่ในตลาดที่ต้องการออก และโครงสร้างราคาจะบอกว่าความต่อเนื่องของออเดอร์จะมาจากไหนและตรงไหนจะมีมาก

 

ทีมงาน  www. .com

เส้น