เข้าใจ orders ในโปรแกรมเทรด

เส้น

เข้าใจ orders ในโปรแกรมเทรด

                การเทรดจำเป็นต้องเข้าใจว่าออเดอร์ทำงานอย่างไร นอกจากรู้ที่ประเภท markets, limit orders และ stop orders มาจากเทรดเดอร์ต่างๆ บทความนี้มาดูว่าการนำเสนอของโปรแกรมเทรดต่างๆ เพื่อความเข้าใจว่าออเดอร์ทำงานอย่างไร

                โปรแกรม Metrader 4 เสนอเรื่องออเดอร์ผ่าน Terminal หลักๆ ที่เราจะโฟกัสเพื่อทำความเข้าใจ มีเลขที่ออเดอร์ ประเภท ราคาเปิด S/L TP ส่วนที่เป็นพวก pending orders จะอยู่ส่วนด้านล่าง ก็มีรายละเอียดเพิ่มเติ่มตรงที่ประเภทที่เป็น sell stop

ส่วนโปรแกรม Metrader 5 ก็นำเสนอแบบเดียวกัน ไม่ต่างกัน แต่ที่ต่างก็เมื่อท่าน คลิกส่วนที่เป็น History โปรแกรม MT 5 อธิบายเรื่องออเดอร์เพิ่มเติ่ม

คือรายงานว่าเป็นออเดอร์ sell และที่สำคัญคือคำว่า in ตรงนี้บอกว่าเป็นการเข้าเทรด placing trade – ขณะที่โปรแกรม Metrader 4 จนกว่าจะปิดออเดอร์ ค่อยมีรายงานเกิดขึ้นในส่วน History แต่ก็ไม่ได้มีส่วน in หรือ out อธิบายเพิ่มเติม

                มาดู cTrader อธิบายอย่างไร

การนำเสนอเรื่อออเดอร์ก็ไม่ต่างกันมาก แค่ขยับจากส่วนด้านล่างมาทำเป็นแถบอยู่ข้างๆ ส่วนเรื่องอธิบายเรื่องออกก็ไม่ต่างกันมาก แต่ที่เห็นต่างกันจุดหนึ่งในที่นึ้คือ cTrader ใช้คำว่า Positions เข้ามาเพิ่มจากคำว่า Orders  ที่พบใน Metrader 4 และ Metatrader 5 – คำว่า Positions นั้นใช้กับออเดอร์ที่เปิดอยู่ในตลาด Open orders ก็จะมี Long Positions (Open buy orders – ออเดอร์ที่เปิดอยู่ประเภท buy) และ Short Positions (open sell orders – ออเดอร์ที่เปิดอยู่ประเภท sell)  ส่วน Orders ที่ cTrader อธิบายคือ pending orders – sell stop, sell limit, buy stop buy limit นี่ก็ไม่ต่างจากโปรแกรม Metrader 4 และ Metrader 5

                ท่านจะพบกว่า ทั้ง Metrader 4 Metrader 5 และ cTrader ไม่ได้อธิบายเรื่อง stop loss และ take profit แค่มีอยู่ในส่วนของออเดอร์และราคาที่กำหนดประกอบกับจุด tp และ sl เท่านั้น จากข้อมูลพวกนี้อาจทำให้ท่านไม่เห็นความสำคัญของออเดอร์อีกประเภทคือ stop loss และ take profit ที่เป็นออเดอร์ประเภทออกจากตลาด เฉพาะอย่างยิ่งที่ต้องสนใจคือออเดอร์ประเภท stop loss ทั้ง 3 โปรแกรมให้รายละเอียดออเดอร์แต่ฝั่งเข้าตลาด คือ marker orders ที่เปิดเทรด ณ ราคานั้นๆ พอเปิด trading transaction ที่จับคู่กับออเดอร์ฝั่งตรงข้ามก็กลายเป็น positions หรือ open orders และ limit orders ก็เป็นชุดคำสั่งที่ตั้งเงื่อนไขตามราคาและทิศทาง เพื่อเข้าตลาดอีก พอราคาไปแต่เงื่อนไขก็กลายเป็น market orders พอจับคู่ได้ trading transaction เกิดก็กลายเป็น long/short positions หรือ open buy/sell orders แบบเดียวกับด้านบน ต่างแค่เปิดเทรดราคาปัจจุบันหรือ best bid/best ask  กับจะเปิดเทรดเมื่อราคาวิ่งไปแตะราคาที่กำหนดเท่านั้นเอง

                สิ่งที่โปรแกรมทั้งสามด้านบนไม่ได้นำเสนอมากคือ ส่วนของออเดอร์ที่ออกจากตลาด stop loss ก็เป็นการออกจากตลาด พวกเทรดเดอร์ที่มีออเดอร์ติดลบ (order in loss) และตัดสินใจออกจากตลาด ส่วน take profit ก็เป็นคำสั่งที่ออกจากตลาดของพวกเทรดเดอร์ที่มีออเดอร์กำไร (order in profit)  ตัดสินใจปิดออกจากตลาด ทั้ง 2 อย่างนี้เป็นออเดอร์ที่ออกจากตลาด แบบเดียวกันคำสั่งที่คลิกปิดออเดอร์เอง

                ออเดอร์ In เพื่อเข้าตลาด  – มี market orders และ limit orders (sell limit/buy limit และ sell stop/buy stop) ออเดอร์ out เพื่อออกจากตลาด – มี ปิดเอง stop loss และ take profit  

                ออเดอร์เมื่อเปิดเข้าตลาดได้ เรียกเป็น position มี long position สำหรับออเดอร์ที่เปิด buy และ short position สำหรับออเดอร์ที่เปิด sell  หรืออาจเรียกเป็น open buy order หรือ open sell order

                มาดูอีก Platform Jforex ของโบรก Dukascopy

การแบ่งออเดอร์ก็จะเป็แนแบบ cTrader มี Positions และ Orders แต่ที่เห็นมากกว่านั้น Jforex ให้รายละเอียดออเดอร์ทั้งหมด อย่างเช่นที่เปิด sell ครั้งแรกก็กลายเป็น short positons  นอกจากจะมีรายละเอียดแบบตำแหน่งเปิด Stop Loss และ Take Profit ที่ออเดอร์แล้ว  ยังมีรายละเอียดเพิ่มตรงส่วนที่เป็น orders สำหรับส่วนที่เป็น SL และ TP นี้ ท่านจะเห็นว่า ทั้ง SL และ TP ก็ถือเป็นออเดอร์ประเภทหนึ่ง

                จากที่เทียบกันมาท่านจะพบกว่า Jforex นำเสนอออเดอร์ทุกประเภทให้เห็นหมด เมื่อเทียบกับ 3 platforms ก่อน แต่ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเมื่อท่านเข้าใจการทำงานออเดอร์แล้วท่านก็จะมองออกเอง แต่ที่แจกแจงคือต้องการให้เห็นทั้งหมดว่าออเดอร์ทำงานอย่างไร

                ทำไมถึงต้องสนใจเรื่อง stop loss และ take profit มาก เพราะเราสนใจออเดอร์ที่มาจากพวก trapped traders พวกที่เรื่องราคาวิ่งสวนพวกเขา เกิดการติดลบ ยิ่งราคาวิ่งไปเยอะ หรือยิ่งอะไรก็ตามที่พวกเขาหลังจากติดลบแล้วราคากลับมาหาพื้นที่ๆ ติดลบแต่ราคาไม่มาทางที่พวกเขาวิเคราะห์ไว้ต่อ เทรดเดอร์พวกนี้ก็จะออกทันทีต่อเนื่องหรือเป็นหลัก ท่านจะพบว่าการเทรดต่างๆ เช่น stop hunting, false breakout ล้วนเกิดในพื้นที่ๆ มีพวก trapped traders

                พวก trapped traders จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อจำกัดความเสี่ยง เมื่อขาใหญ่เห็นเลยเป็นจุดที่เขาใช้ประโยชน์ต่อการเข้าเทรดและการออกจากการเทรดของพวกเขาได้อย่างง่าย เพราะขาใหญ่ต้องการจำนวนออเดอร์ที่มากพอกับออเดอร์ของพวกเขา ถ้าพวกเขาจะทำอะไรและยิ่งเป็นออเดอร์ที่พวกเขาสามารถคาดการณ์ได้ว่าสามารถจัดการได้ง่ายด้วยพวกเขายิ่งชอบ

จากรูป เลข 1 เปิดเทรดเพื่อให้ stop orders ของพวกเทรดเดอร์ที่เปิด sell positions อ้างอิงกรอบแดง 2 กรอบ เร่งราคาขึ้นไปแล้วปิดกำไรก่อนค่อยเปิด sell ลงมา

ทีมงาน  www. .com

เส้น