ทฤษฎีพฤติกรรมราคา Elliott Wave ใช้ในการเทรดได้หรือไม่?

ทฤษฎีพฤติกรรมราคา Elliott Wave ใช้ในการเทรดได้หรือไม่?

Elliott Wave เป็นทฤษฎีที่ใช้ในการเทรดมายาวนาน เราจะมาดูกันว่ามันมีเหตุผลหรือไม่ที่มนจะใช้ในการเทรดได้ ในเบื้องต้น Elliott Wave นั้นจะใช้หลักการคือ รูปแบบของกราฟที่สอดคล้องกับจิตวิทยาของคนในตลาด ซึ่ง Wave หรือคลื่น ซึ่งคลื่นที่ Elliott Wave แบ่งนั้นแบ่งออกเป็น 5 คลื่น ดังรูปต่อไปนี้

รูปที่ 1 คลื่นใน Elliott Wave

ที่มา https //www.investopedia.com/articles/technical/111401.asp

อย่างไรก็ตาม ในคลื่นเหล่านี้จะประกอบด้วยคลื่นย่อย ที่บอกว่าการเคลื่อนไหวของ Elliott Wave นั้นต้องตีความ สามารถเห็นได้จากตัวอย่างในรูปที่ 2

รูปที่ 2 แสดงภาพคลื่นย่อยในกรอบ ABC
ที่มา https //www.investopedia.com/articles/technical/111401.asp

จะเห็นว่าในคลื่นใหญ่ของคลื่น Correction หรือการพักฐานคือ คลื่น ABC นั้นจะมีคลื่นย่อยในรูปที่ 2 หยัก ๆ เต็มไปหมด ขณะที่รูปที่ 1 ไม่มีคลื่นย่อย

ใน Investopedia มีเนื้อหาของการตีความทฤษฎีกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

  • คลื่นทั้ง 5 เป็นคลื่นที่เคลื่อนไหวในทิศทางของเทรนด์หลัก ตามด้วย 3 คลื่นที่เป็นคลื่นของการเกิด Correction รวมแล้วเกิดเทรนด์ 5 คลื่นเกิด Correction 3 คลื่น
  • รูปแบบ 5-3 นี้จะคงที่แต่ว่าอาจจะเกิดขึ้นช่วงใดก็ได้ไม่แน่นอน

ในแต่ละคลื่นก็จะมีวงจรของคลื่นซึ่งกำหนดขนาดของคลื่นอีก ประกอบด้วยด้วยระดับ 9 ระดับของคลื่นดังต่อไปนี้

  • Grand Supercycle
  • Supercycle
  • Cycle
  • Primary
  • Intermediate
  • Minor
  • Minute
  • Minuette

จาก 2 หลักการในการตีความ Elliott Wave จะคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Elliott Wave ดังนี้

  1. ราคาของสินค้าจะไปเกี่ยวอะไรกับคลื่นและมันจะมีรูปร่างที่ตายตัวแบบนั้นจริง ๆ หรือ?
  2. เราจะนับจุดเริ่มต้นและจุดจบของคลื่นที่ 1 และ คลื่น C อย่างไร?
  3. เราจะแยกคลื่นย่อยออกจากคลื่นใหญ่และ Time Frame อย่างไร

เราจะมาว่ากันรายประเด็นว่าทำไมผมถึงไม่เคยเชื่อเลยว่ามันจะใช้ได้

ราคาของสินค้าจะไปเกี่ยวอะไรกับคลื่นและมันจะมีรูปร่างที่ตายตัวแบบนั้นจริง ๆ หรือ?

กราฟราคาสินค้าไม่ได้ขึ้นกับอะไรทั้งนั้น สินค้าชนิด A ไม่มีความคล้ายคลึงกับสินค้าชนิด B ราคาหุ้น 2 ตัวไม่ได้เคลื่อนไหวสอดคล้องกัน แม้ว่าในภาพรวมมันจะเหมือนกันถ้าหากว่ามันอยู่ตลาดเดียวกันและทำให้กลุ่มนักลงทุนก็เป็นกลุ่มเดียวกัน นี่เป็นหลักการง่าย ๆ แล้วทำไมราคาสินค้าหรือราคาค่าเงินมันจะต้องไปเหมือนกับลักษณะกราฟที่เรากำหนดขึ้นมาด้วยหล่ะ?

รูปที่ 3 กราฟ EURUSD รายเดือน

เราลองมาพิจารณากราฟ EURUSD รายเดือนกัน ว่าเราจะสามารถจับเป็นกราฟคลื่น 1-2-3-4-5-A-B-C ได้ เริ่มตรงไหนและรูปร่างมันใกล้เคียงกันตรงไหนบ้าง ถ้าหากเรานับ 1 ที่เดือนมกราคม 2002 เป็น 1 ก็จะเป็น 1 ที่ยาวมาก ส่วนคนที่ศรัทธา Elliott wave อยู่แล้วคงบอกว่าผมไม่เข้าใจ แต่ก็จะมีคนกลุ่มหนึ่งที่จะบอกคนที่ใช้ Elliott wave ว่าเชื่ออย่างไม่ลืมหูลืมตาเช่นกัน เหมือนกันคนเขียนหนังสือถ้าเขียนดีออกมา 1 เล่มไม่ได้หมายความว่าเล่มต่อไปเขาจะเขียนได้ดีเช่นกัน

รูปที่ 4 แสดงกราฟค่าเงิน AUDUSD

ลองเปรียบเทียบรูปที่ 3 กับรูปที่ 4 แม้จังหวะการเคลื่อนไหวของราคาหลาย ๆ จังหวะจะคล้ายกันนั่นเป็นเพราะผลพวงของเศรษฐกิจโลก ที่มีความสอดคล้องกัน แต่รูปร่างมันใช้วัด 1-2-3-4-5-A-B-C ไม่ได้เลย

เราจะนับจุดเริ่มต้นและจุดจบของคลื่นที่ 1 และ คลื่น C อย่างไร?

ปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งคือ การเริ่มต้นนับคลื่นถ้าไม่มีหลักการที่ชัดเจนย่อมสร้างปัญหาได้ เช่นเดียวกับที่ผมได้อธิบายการเริ่มเทรนด์ Chanel ของ Equidistance ในบทความก่อน จะพบว่าไม่ง่ายเลยกับการนับจุดเริ่มต้น เช่นเดียวกันใน Elliott Wave เราลองดูกราฟใหญ่จะเห็นว่าไม่มีจุดไหนที่จะดีพอที่จะเป็นคลื่นใหญ่ครั้งแรกและรูปร่างของมันเป็นไปตามทฤษฎี ถ้าเราหารูปร่างของมันไม่ได้แม้แต่อันเดียว เราก็ไม่รู้ว่ามันจะเริ่มและจบตรงไหน ตอนนี้อยู่ในช่วงไหนของราคา ซึ่งทำให้เรานับไม่ได้อีกเช่นกันว่า ตอนนี้มันจะเริ่มนับคลื่นที่ 1 ตรงไหน นี่จึงเป็นจุดอ่อนของทฤษฎีราคาที่ไม่ชัดเจนและไม่มีวิธีการที่แน่นอน

เราจะแยกคลื่นย่อยออกจากคลื่นใหญ่และ Time Frame อย่างไร

ถ้าหากเราไม่ทำการกำหนด Time Frame แล้วบอกว่า Elliott Wave สามารถเกิดได้ทุก Time Frame หมายความว่าใน Time Frame ย่อย ๆ ก็จะมีคลื่น Grand super cycle ได้ หมายความว่าใน 1 Time Frame เราก็จะเจอคลื่นได้ทุกรูปแบบ นั่นยิ่งทำให้มันเป็นปัญหาเพราะว่า นั่นหมายความว่าโอกาสที่เราจะสับสนกับ Elliott Wave นั้นยิ่งสูงขึ้น เพราะนอกจากจะไม่รู้ว่าคลื่นที่ไหนนับ 1 แล้วยังต้องมาแยกอีกว่าตอนนี้อยู่ในคลื่นย่อยประเภทไหนใน 9 ประเภท ความน่าจะเป็นในการผิดพลาดจึงสูง

ผมสรุปให้ง่าย ๆ ถ้าหากใช้อะไรที่ไม่ชัดเจน ใช้ทฤษฎีราคาที่ไม่สะท้อนความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราก็พยากรณ์ราคาพลาด ถ้าย้อนกลับไปดูบทความก่อนหน้าของผมจะพบว่า การพยากรณ์ราคานั้นเป็นองค์ประกอบเพียงน้อยนิดก็จริง แต่ว่ามันก็สามารถช่วยเพิ่มความน่าจะเป็นในการเทรดแล้วได้กำไรให้เราได้ ฉะนั้นเพื่อให้เกิดความน่าจะเป็นที่จะกำไรสูงสุดเราต้องเลือกวิธีการที่สอดคล้องกับตลาดมากที่สุด คราวหน้าเรามาดูทฤษฎีต่อไปว่าผมจะยกทฤษฎีอะไรมากล่าว

Keywords Elliott Wave ทฤษฎีราคา  การนับคลื่น  ปัญหาการใช้งานจริง

ทีมงาน  www. .com

เส้น