บทเรียน Forex มัธยมปลาย การวิเคราะห์ Forex แบบหลาย Time Frame

การวิเคราะห์หลาย Time Frame

ปัญหาเรื่อง Time Frame เป็นปัญหายอดฮิตในตลาด Forex เลยทีเดียว เพราะใคร ๆ เข้ามาก็ต้องเจอกับปัญหาอย่างนี้ทั้งนั้น ในการเทรด Forex ต้องเผชิญกับสถานการณ์ว่า เฮ้ย!! ทำไมกราฟลงชนเส้น Oversold แล้วทำไมราคายังลงต่อ พอเลื่อน Time Frame ขึ้นไปดู Time Frame ที่ใหญ่กว่า ก็พบว่า อ๋อออออ ที่แท้ก็เพราะว่า Time Frame ที่ใหญ่กว่านั้นเป็นเทรนด์เพิ่งจะกลับตัวลง  อ๋องั้นเราต้องขยับ Time Frame ขึ้นเพราะว่า Time Frame ใหญ่กว่าแม่นยำและถูกต้องกว่า ….

 
 

มันก็เลยมีคำถามต่อมาว่า อ้าวว!!! แล้วอย่างนี้ เราไม่ต้องเลื่อน Time Frame ไปจนสุดขอบกราฟ ที่จะมีให้หรอ? เพราะว่า Time Frame ใหญ่กว่าก็บอกว่าจะวิเคราะห์ได้ดีกว่า หรือว่าจริง ๆ แล้วมันต้องทำอย่างไร?

คำถามที่ต้องตอบเกี่ยวกับ Time Frame

ย้อนกลับไปเรื่องการเกริ่นนำเรื่องบทความนี้ ว่า ถ้าหากว่า Time Frame ใหญ่ขึ้นมันจะกำหนด Time Frame ที่เล็กกว่า เราต้องมานั่งขยับไปเทรด Time Frame ที่ใหญ่กว่าเรื่อย ๆ นั่นเป็นเพียงคำถามแรกเท่านั้น  มันยังมีคำถามอื่นๆ  เรื่อยๆที่จะต้องตอบคำถาม

แต่ว่ามันยังมีอีกมุมนึงที่ต้องตอบ การเคลื่อนไหวของราคาที่ลงมายังไม่ทันระดับ Overbought และ Oversold หรือว่าจู่ๆ ก็เปลี่ยนทิศทางแบบนั้นหล่ะ มันก็มีนะ!! สิ่งที่เกิดขึ้นคือ อ๋อ เราต้องไปนั่งตอบว่า เป็นเพราะว่า Time Frame เล็กมันเปลี่ยนเทรนด์ไปแล้วไง?

นี่แหละครับความสับสนจึงบังเกิด คือ ไอ้คำถามที่สองก็บอกว่า อ๋อ เป็นเพราะว่าจุดเปลี่ยนใน Time Frame เล็กมันก็เลยไปกำหนด Time Frame ใหญ่ และ Time Frame ใหญ่ก็กำหนดทิศทางหลักใน Time Frame เล็ก

อ้าวแล้วอย่างนี้จะต้องไปเชื่ออันไหนดีละนี่  อย่างนี้เราไม่ต้องเลื่อนขึ้นเลื่อนลงอยู่อย่างนั้นหรือ?  ก็ถ้าท่านมีคำถามนี้มาตลอดในการเทรด ผมก็บอกได้อย่างเดียวว่า ท่านมาถูกที่แล้วครับ นี่แหละที่ต้องอ่าน

Time Frame
ภาพที่ 1 แสดง Time Frame และการเคลื่อนไหวของราคา ใน Time Frame

Time Frame เล็กไปใหญ่หรือใหญ่ไปเล็กดี

คำถามแบบนี้ส่วนใหญ่จะเกิดกับเรื่องของ indicator ประเภท Overbought หรือ Oversold เป็นหลัก ที่ใช้หลักการแกว่งตัว ถามว่าทำไม คำถาม 2 คำถามมันถึงเกิดขึ้น มันมีที่มาอยู่ 2 คำตอบเช่นเดียวกันครับ เพราะว่า

  1. เพราะเราอยากจะเข้าที่จุดต่ำสุดและออกที่จุดสูงสุดครับ
  2. เพราะว่าเราคิดว่า indicator ชี้นำราคา แต่จริงๆ แล้วมันคือตัววัดระดับราคาเพราะมันคำนวณมาจากราคา

จากข้อเท็จจริงทั้ง 2 ข้อเบื้องต้นนั้น ข้อ 1 เพราะเราอยากได้ที่มันสุดทาง พอเราทำกำไรแล้วมันขึ้นต่อ ก็เราคิดว่าเราน่าจะได้กำไรเพิ่มอีกนั่นแหละครับ ปัญหาข้อนี้มันคือ เราโลภ และอยากได้อยากได้กำไรมาก ๆ ทั้งที่ความจริงอย่างหนึ่งที่ต้องยอมรับกันเลยคือ เราไม่รู้อนาคตครัรบ!!! ก็ขอแค่รู้อนาคตก่อนสัก 1 นาทีนี่ก็รวยกันมหาศาลแล้วล่ะครับ

ในความเป็นจริง indicator นำราคาปิด – ราคาเปิด หรือ High-Low มาคำนวณ นั่นคือ การเกิดปรากฏการณ์ของราคาก่อนมันถึงจะกำหนด indicator ได้ ถ้าหากไม่มีราคาก่อน indicator ก็จะไม่มี สิ่งที่เราทำได้คือ การไปเปรียบเทียบกับการเคลื่อนไหวในอดีตเท่านั้น เราก็รู้อยู่ว่า อดีตกับอนาคตแม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงกันบางประการ แต่มันไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด ผลสุดท้ายของเราหน่ะหรอ? สับสนสิครับ ว่าจะต้องใช้อะไรนำตัวไหน

เพราะฉะนั้น การตอบคำถามทั้ง 2 ข้อ ต้องตอบให้ถูกที่  ปัญหาแรก คือ การที่เราต้องการให้เราได้กำไรสุดทาง ซึ่งในความเป็นจริงเราจะไม่รู้ว่าระยะทางที่มันจะวิ่งเท่ากับเท่าไหร่ สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดคือ การเลือกระยะที่แน่นอน หรือ การเลือกระยะขั้นต่ำไว้ ก็จะแก้ปัญหาได้ ซึ่งก็จะจบปัญหาข้อที่ 1 ไป อย่างไรก็ตามแล้ว ข้อที่ 2 หล่ะ ข้อที่ 2 สามารถแก้ง่าย ๆ ด้วยมุมมอง

จากสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วว่าใน Time Frame เล็กถ้าหากว่าจะมีการกลับตัว มันจะเกิดการกลับตัวก่อนหน้านั้นอยู่แล้ว  สิ่งที่เราต้องทำก็เพียงแค่ ใช้ Time Frame เล็กในการกำหนดจุดเข้าเทรด เพราะว่า มันเปลี่ยนทิศทางก่อนอยู่แล้ว แต่แล้ว Time Frame ใหญ่ๆ หล่ะจะทำอย่างไรครับ ก็ต้องเปลี่ยนให้มันใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ เพราะว่าเมื่อกี๊เราบอกว่า อ๋อ Time Frame ใหญ่เพิ่งเปลี่ยนเทรนด์เอง เราก็ใช้ Time Frame ใหญ่ในการกำหนดทิศทางครับ แค่นี้ก็จะแก้ปัญหาทั้งหมดที่ว่ามาได้

ตัวอย่างการวิเคราะห์ Time Frame

เรามาดูตัวอย่างกัน ผมจะกำหนดในช่วงเวลาเดียวกันก่อน โดยเราจะทำการกำหนด เทรนด์ ว่าเทรนด์หลักเป็นแบบนี้แล้วเราจะไปหาจุดเข้าเทรด ใน Time Frame เล็กได้อย่างไร

Time Frame 4H
ภาพที่ 2 แสดงการใช้ MT4 กำหนดเป็นเทรนด์ขาลงหลัก

ในภาพข้างต้นจะเห็นว่า ผมกำหนดเป็นเทรดขาลงใน Time Frame 4H เพราะว่า เราจะเลือกใช้เทรนด์นี้ผมได้ทำการกำกับเส้นสีแดงขนาบไว้ เพื่อที่จะให้เห็นว่า มันคือการเลือกในกรอบนั้น แล้วในกรอบนั้นจะมีสัญญาณให้เราเทรด Sell หรือไม่ใน Time Frame เล็กกว่า ซึ่งจะใช้ Time Frame 15 นาทีดังภาพต่อไปนี้

Time Frame 15M
ภาพที่ 3 แสดงการใช้ Time Frame 15M ในการกำหนดจุดเข้าจากเทรนด์ใหญ่

ในภาพผมได้ทำการวงกลมไว้ เพื่อแสดง Time Frame ที่บอกจุดกลับตัวใน Time Frame เล็กให้สอดคล้องและเทรดทิศทางเดียวกับทิศทางหลักของเทรนด์ครับ

สรุป

ปัญหาในการใช้ Time Frame ในการเทรด Forex สิ่งแรกที่ต้องแก้เลยก็คือ ความคาดหวังว่ามันจะต้องขึ้นจุดสุดลงจนสุดและเราก็ต้องเก็บกำไรทำได้ทุก pip ที่มันเคลื่อนไหว เรื่องนั้นมันเป็นไปไม่ได้ครับ อย่างที่ 2 เราควรจะใช้ Time Frame ใหญ่ในการกำหนดทิศทาง เพื่อสร้างความมั่นใจเพราะว่า Time Frame ใหญ่มันเคลื่อนไหวช้ากว่า การเคลื่อนไหวของ Time Frame ใหญ่กว่าจะเปลี่ยนกินเวลานาน และใช้ Time Frame เล็กกำหนดจุดเข้าเทรดทำให้เราทำกำไรได้ง่ายกว่า