เข้าใจ Market session

เส้น

เข้าใจ Market session

                เนื่องจากตลาดฟอเรกเป็นตลาดที่เทรดแบบต้องมีออเดอร์ตรงข้ามเสมอ อาจได้ยินคำว่า OTC (over-the-counter) นั้นหมายความว่าไม่มี centralized exchange แบบ พวก Futures หรือ Opitons หรือพวกตลาดหุ้น คนที่เข้าเทรด สามารถเทรด ตรงกับฝั่งตรงข้ามได้เลยผ่านโบรกเกอร หรือบางที่โบรกเกอร์ก็เป็นฝั่งตรงข้ามเอง ที่จะเห็นคำว่า Market Maker ใช้กับโบรก เพราะเป็นการทำงานของออเดอร์เลยทำให้ตลาดฟอเรกสามารถเทรดได้ตลอดเวลาเว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเทรดได้ตลอด แต่ความเป็นไปได้สูงก็จะมีตลอด เพราะเมื่อเข้าใจตลาดและการทำงานเวลาเทรดท่านต้องการให้ liquidity มาก ถ้าน้อยราคาก็จะเคลื่อนไหวยาก

                เพราะเป็นตลาดที่เทรดแบบ OTC เราจึงจำเป็นต้องรู้ว่าช่วงไหนที่มีฝั่งตรงข้ามมากสุดหรือมีแต่ละฝั่งมากสุด หรือเรียกได้ว่าช่วงไหนที่เป็น Most Active Times สำหรับตลาดฟอเรก  ถ้าช่วงไหนมีเทรดแดอร์เข้าเยอะ (activity) ก็จะทำให้มี liquidity  และ volatility เยอะตามมา สิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณาเพราะเมื่อตลาดมี liquidity น้อย ถ้าขาใหญ่เปิดเทรดก็จะทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนจากจุดที่ต้องการเทรดเยอะ (slippage) หรือท่านอาจจะสังเกตุเห็นว่ามีการถ่างสเปรดเยอะ

                Market sessions ของฟอเรกหลักที่น่าสนใจก็เป็นตามศูนย์การเงินใหญ่ๆ ของโลก เช่น ช่วงตลาด New York, London, Paris, Frankfurt, Moscow, Tokyo, Singapore และ Sydney  แต่จะกล่าวที่เป็นหลักๆ ตามที่เสนอแนะที่ forexfactoy.com ตรงส่วน market นำเสนอช่วงๆหลัก คือ Sdyney, Tokyo, London และ New York

ภาพ sessions จาก forexfactory เทียบเวลาไทย

                จากตลาดด้านบนพอ New York ปิดก็มาเป็น Sydney เปิดนั่นเลยทำให้ตลาดฟอเรกเทรดได้ตลอดเวลา  แต่ต้องไม่ลืมว่าแต่ละตลาดมีลักษณะต่างกันออกไป liquidity มากน้อยต่างกันออกไป เนื่องจากการเทรดถ้าเราเปิดทางไหนต้องมีออเดอร์ตรงข้ามให้ fill และต้องมีออเดอร์ที่ตามมาในทางที่เราเทรดถึงจะได้กำไร ถ้าตอนที่เปิดเทรดเป็นตอนที่มีแต่เทรดเดอร์อยากเทรด และเทรดเดรอที่ติดลบก็อยากออก เลยทำให้ออเดอร์เข้า-ออกตลาดเยอะ พอมี liquidity สูงก็เลยทำให้ราคาเคลื่อนได้ง่าย เลยต้องมาดูว่าศูนย์การเงินใหญ่ๆ ของโลกคือที่ไหนและเปิดช่วงใด ก็จะได้ช่วงตลาดยุโรปและช่วงตลาดอเมริกา

                ดูจากชาร์ต 4 วันที่ใช้อินดิเคเตอร์ช่วยกำหนดกรอบ market sessions แบ่งออกเป็นแค่ 3 ส่วนหลักๆ คือ Asia Session, London Session และ US  session ท่านจะพบว่า ช่วงที่เป็น London และ US sessions ราคาส่วนมากวิ่งเยอะจากกรอบสีเขียวและที่ติดกันสูงกว่าช่วง Asia session เยอะ หมายความว่าเทรดเดอร์เข้าเทรดหรือมีการจัดการออเดอร์ 2 ช่วงเวลานี้เยอะ

                เมื่อเราสามารถรู้ว่าช่วงไหนที่ตลาดมี activity, volatility และ liquidity เยอะ เราก็สามารถกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมการเทรดได้ หรือแม้แต่การมอง price levels ต่างๆ เช่น demand/supply, support/resistance เป็นต้น ถ้าเกิดขึ้นหรือราคามีการโต้ตอบและเปิดเผยใน 2 ช่วงตลาดนี้  price levels นั้นๆ จะโต้ตอบดีและเป็น price level ที่ค่อนข้างจะแข็งเพราะเกิดช่วงที่เทรดเดอร์จากสถาบันการเงินใหญ่ๆ ของโลกเข้าเทรด เลยทำให้เมื่อเราเห็นร่องรอยที่เปิดเผย นั่นเป็นร่องรอยที่เกิดขึ้นด้วยเงื่อนไขที่เป็นขาใหญ่เทรด การเทรดด้วยวอลลุมที่เยอะ และต้องพยายามรักษาตำแหน่งที่ตัวเองเทรด เลยทำให้ price levels นั้นๆ แข็ง ปริยาย ยิ่งเป็นช่วงที่ ตลาด London และ US คาบเกี่ยวกันยิ่งดี

                จากเลข 1 จะเห็นว่า demand ใหม่เกิดขึ้นหลังจากที่ราคา spike เกิด high ของ Asia session  เป็นการลด sell orders และสุดท้าย เบรกขึ้นไปด้วยบาร์แรงยาวๆ ในช่วง Europe session ที่เป็นช่วงตลาดการเงินหลักทางยุโรปเปิด (เราพอเข้าใจเรื่องช่วงตลาด) และจาก price chart ที่เปิดเผยบอกว่าเป็นการเปิดเทรด placing trades  มาจากขาใหญ่ที่ต้องการเข้าตลาด พอผ่านไปถึงช่วงตลาด US session เปิดราคาลงมาเพื่อเปิดโอกาสให้เทรดเดอร์ที่มาจากช่วง US session เพิ่มออเดอร์เข้าไปหรือเข้าตลาดได้ตรงเลข 2 ด้วยเลยได้ 2 กลุ่มเทรดเดอร์ที่มาจากช่วงตลาดหลักๆ ของโลกที่เป็นขาใหญ่ซะส่วนมาก เทรดเดอร์พวกที่ trapped traders การเปลี่ยนข้อมูลจาก 2 กลุ่มนี้ก็เลยยิ่งต้องจัดการออเดอร์ ดูอย่างเลข 3 ที่ตามมาพอราคาเบรค พื้นที่เลข 3 ขาใหญ่จาก Europe และ US ก็ใช้พวก trapped traders เร่งราคาให้ไปต่อได้แบบไม่ยาก จนจบวันก็สูงพอที่จะปิดทำกำไร ช่วงจะหมด US session จะเห็นเป็นการปิดทำกำไรราคาไม่ไปต่อ

                ตลาดเปิดมาวันที่ 3 เข้าช่วง Asia session ราคาก็ไม่ไปไหน อยู่ในกรอบหลังจากช่วง Europe session วันที่ 2 ปิด แต่พอถึงช่วง Europe session ของวันที่ 3 ราคาเบรคลงสร้าง supply ที่เลข 5 ขาใหญ่ช่วง Europe เห็น trapped positions เลยเปิดโอกาสให้เข้าตลาดอีกที่เลข 6 แต่ราคาไม่ไปไหนมาก แต่พอมาที่เลข 7 เกิด breakodown ลงไปอีก สร้าง supply ที่เลข 7 สังเกตุได้ว่า supply 2 พื้นที่ล่าสุดเกิดในช่วง Europe session และ US session เป็นช่วงที่ตลาดการเงินหลักๆ ของโลกเปิดทำการ และจะพบว่าราคายังคงไปในทางที่ร่อยรอยขาใหญ่พวกนี้เปิดเทรด

                ดังนั้น price level ที่เกิดหรือราคากลับมาแล้วโต้ตอบ 2 ช่วงหลัก Europe session และ US session จึงมีผลค่อนข้างเยอะ เพราะเทรดเดอร์ประเภทที่เป็นขาใหญ่หรือสถาบันการเงินใหญ่ๆ ก็จะเทรดหรือจัดการออเดอร์ช่วงนี้เป็นหลัก ยิ่งตอนที่ช่วงเวลาคาบเกี่ยวกันด้วย ยิ่งจะเห็นราคาไปทางที่พวกขาใหญ่พวกนี้เปิดเผยร่องรอยการเทรดผ่านทางชาร์ต

 

ทีมงาน  www. .com

เส้น