สัญญานดูว่าเทรนเปลี่ยน

สัญญานดูว่าเทรนเปลี่ยน

                จากเทรดพอผ่านมาสักระยะ อ่านชาร์ตเป็น เริ่มเข้าใจ technical analysis ถ้าบอกว่า Highs และ Lows มีส่วนสำคัญมากในการวิเคราะห์ น่าจะไม่ผิด อย่างการดูพัฒนาการของเทรดก็ใช้ดู highs และ lows ประกอบกัน เช่นถ้าเป็นเทรนขึ้นท่านก็จะเห็นป็น Higher Highs ตามด้วย Higher Lows หรือถ้าเป็นเทรนลงท่านก็จะเห็น Lower Lows และ Lower Highs ท่านจะเห็นชัดช่วงขาใหญ่เข้าเทรดแล้วดันราคาไปสักระยะเพื่อให้ถึงจุดที่ต้องการ แต่ถ้าความต่อเนื่องของการทำ high และ low ต่างกันออกไปต้องระวัง

                อธิบายหลักการก่อน เช่นอย่างในภาพ (A) ด้านซ้ายบนหลังจากราคาทำ Higher Highs และ High Lows อย่างต่อเนื่องมาเรื่อยๆ แต่ราคาไม่สามารถทำ Higher High หลังจาก High ที่เลข 2 แม้ราคาลงมาทำ High Low ได้ แต่ตามมาเป็น Lower High ที่เลข 3 และค่อยทำ Lower Low ที่เลข 4 เป็นการยืนยันเทรน

                ภาพล่าง (B) ด้านซ้ายก็แบบเดียวกัน แค่ประยุกต์เข้ากับเทรนลง คือราคาทำ Lower Lows ตาม ด้วย Lower highs มาเรื่อยๆ จนถึงจุดแบบเดียวกันด้านบน ราคาทำ Higher Low และตามด้วย Higher High เป็นการยืนยันเทรน

                ส่วน 2 ภาพที่อยู้ด้านขวา ถ้ามองเป็น chart pattern จะเป็น Head and shoulders ท่านจะพบจุดต่างกัน คือ การที่ราคาจะเปลี่ยนเทรน ท่านจะเห็นคือภาพ C เปลี่ยนจากขาขึ้นเป็นขาลง ท่านจะเห็นว่าราคาสามารถทำ Lower Low ได้ก่อน Lower High ต่างจากชุดแรกที่อยู่ช้ายมือ ราคาจะทำ Lower High ก่อน Lower Low หรือ ภาพ D เปลี่ยนจากขาลงเป็นขาขึ้น ท่านจะเห็นว่าราคาสามารถทำ Higher High ได้ก่อน Higher Low พอท่านมองดูชาร์ตย้อนหลังท่านเลยจะพบว่า ตรงที่จุดราคาเปลี่ยนเป็นเทรนยาวนั้นเป็นโครงสร้างของ head and shoulder บ่อยๆ

ภาพด้านบน จะตรงกับหลักการ C ราคาสามารถทำ Lower Low ได้ก่อนค่อย ทำ Lower High กลายเป็น head and should พอดีที่เทรดเดอร์ส่วนมากสนใจเพราะสามารถดึงออเดอร์เข้าตลาดได้เยอะ

ภาพนี้ราคาทำ Lower High ได้ก่อนค่อยตามด้วย Lower Low

                ทำไมถึงต้องย้ำให้เห็นความต่าง เช่น กรณีเทรนขึ้นจากการทำ higher highs, higher lows มาอย่างต่อเนื่อง การที่ราคาทำ Lower Low ได้ก่อน Lower high และ ราคาทำ Lower High ได้ก่อนทำ Lower Low  ต้องอธิบายเกี่ยวเรื่องออเดอร์และ liquidity ที่เกิดขึ้นกับ price level หรือจุดที่เป็น Highs และ Lows ทั่วๆ ไปแล้วท่านจะพบว่า พื้นที่ราคาทำ high หรือ low ต่อเนื่องกันมาพวกนี้เป็นพื้นที่ที่มีการเข้าเทรด ด้วยการตัดใจใจเปิดออเดอร์อาจต่างกันออกไปตามจุดอ้างอิง เช่น เป็นพื้นที่ demand/supply, fibo retracement levels หรือ ส่วนสัมพันธ์กับ technical analysis อื่นๆ ถ้ายิ่งสัมพันธ์กันมากก็ดึงดูดเทรดเดอร์ได้มาก ถ้าราคาสามารถทำ lower low ได้ก่อน lower high หมายความว่าราคาชนะพื้นที่นั้นๆ ข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้นจะทำให้เทรดเดอร์ที่รอเข้า เข้าเทรดกันเยอะ และเทรดเดอร์พวกที่ติดต้องออกเพราะความกดดันพวกที่ติดในตลาดมีเยอะ  ต้องไม่ลืมการทำงานของออเดอร์ พวกเทรดเดอร์ติดลบจัดการออเดอร์เพื่อออกจากตลาด ต้องทำได้ด้วยออเดอร์ตรงข้าม ถ้าออเดอร์พวกนี้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่มีเทรดเดอร์รอเข้าเทรดใหม่อีกด้วย แหล่งที่มาออเดอร์ก็จะกลายเป็นว่ามา 2 แหล่ง

                แต่ถ้าราคาทำ Lower High ได้ก่อน สะท้อนแค่ว่ามีออเดอรเริ่มเข้ามาทางนี้เยอะ แต่ข้อมูลใหม่ยังไม่สามารถดึงดูดให้เทรดเดอร์ที่รอเข้าสนใจมาก และกลุ่มเทรดเดอร์ที่มีออเดอร์เปิดอยู่ในตลาดยังไม่ได้กดดันมากเลยยังไม่ถึงจุดที่ต้อง liquidate ออเดอร์ที่ติดลบเพื่อจำกัดความเสี่ยง

                หรืออาจใช้ trendline เข้าประกอบ เมื่อเป็นการทำ high และ low เปลี่ยนอย่างที่อธิบายมา

จะเห็นว่าราคา เบรคเส้น trendline และลงไปอย่างรวดเร็ว อย่าลืมว่าเทรดเดอรใช้ technical analysis ต่างกันออกไป

ดังนั้นเมื่อดูพัฒนาการ ของ higher highs ตามด้วย higher lows สำหรับเทรนที่กำลังขึ้น และการทำ Lower Lows และ Lower Highs สำหรับการทำเทรนลงถ้าไม่ต่อเนื่องต้องระวัง และดูระยะห่างจากจุด highs และ lows ประกอบไปด้วยว่าห่างมากหรือเปล่า ถ้าไม่มากแสดงว่า market orders เข้ามาน้อย นั้นหมายความว่าราคาวิ่งมาเยอะ ไม่ดึงดูดเทรดเดอร์ที่รอเข้าตลาดให้อยากเปิดออเดอร์ และไม่ได้กดดันเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดให้จำต้องออก

อีกอย่างจะพบว่าราคาไม่ได้วิ่งทางเดียว ตลาดราคาเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเพราะวิธีการทำกำไร การเข้าตลาด และการปิดออเดอร์ของขาใหญ่

                การเทรดจริงๆ จะพบว่าภาพราคาเปลี่ยนแปลงตลอด แม้ว่าการอ่าน การทำ higher highs และ higher lows สำหรับเทรนขึ้น หรือ lower highs และ lower lows สำหรับเทรนลง ต้องให้ความสำคัญแต่ละจุดเป็น เช่นสำหรับเทรนขึ้น ต้องให้น้ำหนักที่ higher lows มากกว่า higher highs ก่อน  ถ้าราคาเบรด หรือปิดต่ำกว่า higher lows อาจสื่อความหมายใหม่ อย่างตัวอย่างล่าสุด หลังจากราคาเกิน left shoulder และไปทำ new high ล่า stop เพื่อเข้าตลาดในราคาที่ดีกว่า ตามด้วย 3-4 บาร์เด้งพื้นที่เดียวกัน จนกว่าทำ HL ที่เลข 2 ราคาเด้งกลับไม่สามารถทำ new high ได้ เพราะราคาอยู่พื้นที่เดียวกันกับ เลข 1 และ เลข 3 มี new high low หรือ demand ใหม่เกิดขึ้นแถวนั้น แล้วขาใหญ่เปิดเทรดอีก จนสร้าง Lower Low ได้ที่เลข 4 สำเร็จ พอราคากลับไป ที่เลข 5 ตำแหน่ง ที่ราคาชนะ demand จาก demand กลายเป็น supply มี trapped traders พร้อม ตรงหางบาร์ที่เป็นพี้นที่ Higher Low เลข 2 บอกว่ามีการลดออเดอร์ออกไปให้แล้วด้วย ความต้านทานน้อยราคาน่าจะลงได้ง่าย

ต้องไม่ลืมใส่ใจโครงสร้างใหม่ที่เกิดขึ้นว่าจะมีออเดอร์ใหม่มาต่อเองได้หรือเปล่า ทั้งจากเทรดเดอร์ที่รอเข้าและเทรดเดอร์ที่ต้องออก

 

ทีมงาน  www. .com