วิเคราะห์ฟอเร็กซ์ อย่างไร

วิเคราะห์ฟอเร็กซ์ อย่างไร

ก่อนจะเปิดการเทรดแต่ละครั้ง เพื่อจะหาเงื่อนไขการเทรดหรือ trade setup การวิเคราะห์ตลาดเพื่อหาความเป็นไปได้ของแต่ละเทรดที่กำหนดจะมาก่อนด้วยการิเคราะห์จะมีแบบการวิเคราะห์แบบข้อมูลพื้นฐาน (fundamental analysis) ของค่าเงินนั้นๆ และการวิเคราะห์แบบ Technical analysis  โดยการวิเคราะห์แบบข้อมูลพื้นฐานเพื่อเทรดบางทีเรียกว่าเทรดข่าว เพราะเป็นการศึกษาข่าว ตัวเลขทางเศรษฐกิจ เพื่อหาโอกาสการเทรด แต่การเทรด Technical analysis จะเป็นการวิเคราะห์ทางเทคนิคดูข้อมูลจาก price charts ที่เกิดขึ้นมาให้ความสำคัญที่ราคาและการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น

การวิเคราะห์แบบ Fundamental analysis

เทรดเดอร์ก็จะให้ความสำคัญข้อมูลที่เป็นตัวกระทบต่อค่าเงินนั้นๆ เช่นข้อมูลทางเศรษฐกิจ เหตุการณ์การเมือง หรือความสัมพันธ์กันระหว่างเศรษฐกิจและการเมืองเช่น ข้อมูลที่ทำให้เศรษฐกิจที่เกี่ยวกับค่าเงินนั้นๆ เปลี่ยนไปเช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราการจ้างงาน หรือภาวะเงินลอยตัวเป็นต้น ซึ่งข้อมูลพวกนี้เมื่อมีประกาศผลออกมาก็จะกระทบต่อค่าเงินที่เกี่ยวข้อง เลยทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงราคาที่เกี่ยวกับค่าเงินนั้นๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นปกติ  ผลกระทบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลพื้นฐานสำคัญมากขนาดไหน อย่างที่เห็นได้ชัดเช่นข่าว Non-Farm Payrolls ที่เป็นดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐ ที่ประกาศทุกวันศุกร์แรกของแต่ละเดือน เป็นตัวเลขสถิติการจ้างงาน การก่อสร้าง อุตสาหกรรม ไม่รวมการจ้างงานในภาคการเกษตร ในครัวเรือน และในองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยตัวเลขที่รายงานออกมาจะเป็นปริมาณการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน

ตัวอย่างข่าว Non-Farm มีผลกระทบต่อการวิ่งของราคา ในศุกร์แรกของเดือนกรกฏาคม 2562 จะเห็นว่าเมื่อข่าวเกิดขึ้นจะทำให้เกิด high volatility ทำให้ราคาวิ่งขึ้นหรือลงเร็วเมื่อมองเทียบกับสัดส่วนแท่งเทียนก่อนนี้ เทรดเดอร์ที่เทรดเพราะข้อมูลสำคัญพวกนี้ก็จะวิเคราะห์ว่าข่าวนี้กระทบอย่างไร ขึ้นหรือลง ทำให้ราคาฟอเร็กซ์วิ่งไปทางไหน และก็จะดูเทียบกับเดือนก่อนๆ ข้อมูลหรือข่าวสำคัญที่กระทบต่อการเคลื่อนไหวของแต่ละค่าเงินก็จะหาดูได้จาก forexfactory.com และเว็บอื่นๆ อีกแต่ข้อดีของ forexfactory คือให้ข้อมูลระดับความกระทบต่อค่าเงิน ให้ข้อมูลเบื้องต้นเรื่องการกระทบว่ามีผลทางไหนเป็นต้น

เทรดข้อมูลพื้นฐาน เข้าใจเรื่อง volatility และความอดทน

แม้ว่าถ้าช่วงที่มีข้อมูลพื้นฐานที่กระทบต่อค่าเงินนั้นๆ ออกมา เพราะตอนที่มีการประกาศเทรดเดอร์ต่างๆ ก็จะสนใจมาก ทั้งที่รอเข้าและเทรดเดอร์ที่รอออก เลยทำให้เกิด high volatility เกิดขึ้นประจำและมากด้วย ทำให้ราคาขึ้นหรือลงเร็วในช่วงไม่กี่นาทีแรก แล้วกว่าที่ราคาจะไปทางที่ข้อมูลพื้นฐานเปิดออกมาต้องใช้เวลา และราคาก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงง่ายด้วย ยกเว้นที่ราคามีการ stop hunt เกิดขึ้นก่อนอย่างรวดเร็ว แล้วราคาไปทางตามข้อมูลพื้นฐานเปิดเผย ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ถ้าเข้าใจเรื่องการทำงานของออเดอร์และเทรดเดอร์ที่เทรดอยู่ด้วยกันในตลาด เพราะต้องไม่ลืมว่าข้อมูลพื้นฐานพวกนี้ทำให้ราคาขึ้นหรือลงเร็ว หรือทำให้เกิด high volatility แต่เรื่องออเดอร์ทำงานแบบเดิมแต่มีจำนวนทั้งเข้าและออกตลาดช่วงแรกๆ มาก เพราะเรื่องความกลัวและความโลภที่คาดการณ์จากตัวเลขพวกนั้น แต่พอเวลาผ่านไป volatility ก็ไม่มากขนาดนั้น ทำให้ตลาดวิ่งไปนิ่งกว่า

Fundamental Analysis และ Technical Analysis

โดยการวิเคราะห์ฟอเร็กซ์แบบ Fundamental หรือข้อมูลพื้นฐานก็จะเน้นข้อมูลที่มาจากที่ข่าว หรือ setiment ของค่าเงิน หรือตัวเลขทางเศรษฐกิจเป็นหลักแต่ techincal analysis เป็นการวิเคราะห์ราคาและการเคลื่อนไหวที่เกิดจากราคาที่เปิดเผยออกมาเป็นหลัก  นำมาสู่รูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การใช้อินดิเคเตอร์ การใช้ chart patterns การใช้เรื่องของการมองพัฒนาการของเทรนแบบ Fibonacci retracement, แนวรับแนวต้านหรือ supply/demand เป็นต้น ข้อดีของการวิคราะห์แบบ technical analysis คือเมื่อการวิเคราะห์ได้เงื่อนไข ก็จะเปิดโอกาสเทรดได้ตลอด ไม่เหมือนแบบ Fundamental ที่ต้องรอให้ทำงานและ technical analysis ยังเป็นเครื่องมือที่ดีในการเทรดแบบระยะสั้นด้วย

แต่ข้อเสียของการวิเคราะห์ฟอเร็กซ์แบบ technical analysis ก็มี คือเทรดเดอร์ส่วนมากเมื่อมองที่คู่เงินสำหรับเทรดตัวเดียวกันเช่น EURUSD ถ้าใช้หลักการพื้นฐานการวิเคราะห์แบบเดียวกัน ก็จะทำให้ขาใหญ่รู้ว่ารายย่อยเทรดอย่างไร มีการ stop hunt เกิดขึ้นประจำ หรือแม้กระทั่งเรื่อง chart patterns ที่ไม่ได้เป็นอย่างที่คาดการณ์ที่จะเทรดเพราะขาใหญ่ก็รู้เช่นกัน แต่การที่เทรดเดอร์จะทำกำไร ต้องมีออเดอร์ฝั่งตรงข้ามเมื่อเปิดเทรด และเมื่อจะทำกำไรได้เทรดเดอร์ที่เปิดเทรดตรงข้ามต้องเสียค่อยจะได้กำไร และการออกจากการเทรดของเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดเท่ากับการเปิดออเดอร์ตรงข้ามกับที่พวกเขาเปิดเทรดออเดอร์นั้น รูปแบบ chart patterns ที่ไม่เกิดขึ้นถือว่าเป็นตัวอย่างเห็นได้ชัดเรื่องนี้

วิเคราะห์ฟอเร็กซ์แบบ Fundamental analysis ส่วนมากจะใช้สำหรับกลยุทธ์การเทรดระยะยาวเพราะต้องรอให้ ข้อมูลทำงาน แต่อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ก็ใช้กลยุทธ์การเทรดข่าวในเวลาอันสั้น เพราะเรื่องของ high volatility ที่เกิดขึ้นตอนมีการประกาศข้อมูล ก็จะมีการใช้ผสมกับ technical analysis เช่นอย่างการเทรด support/resistance, หรือ support/demand ตอนที่เกิดขึ้น จะทำให้ไม่ต้องถือ positions ที่เปิดเทรดนานและยังได้ volatility มาเป็นตัวเร่งราคาให้เร็วขึ้นด้วย

การวิเคระห์แบบ Technical analysis ราคาและการเคลื่อนไหว

เนื่องจากการวิเคราะห์แบบนี้ อาศัยราคาที่เกิดขึ้นแล้ว หรือที่มีการเทรดจบไปแล้วเพื่อหาร่องรอยเพื่อจะเทรดตามอีก และการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเพื่อหาว่า trade setup น่าจะเกิดขึ้นตรงไหนอีกก็จะมีวิธีการต่างกันออกไป เช่นใช้อินดิเคเตอร์ หรือแบบดูแนวรับแนวต้าน เทรดแบบ supply/demand เทรดแบบ Elliot Waves เทรดแบบ Fibonacci retracement เทรดแบบ chart patterns หรือ Harmonic patterns ก็จะหลากหลายต่างกันออกไปแล้วแต่เทรดเดอร์จะเลือกใช้เครื่องมืออะไร และวิเคราะห์ตลาดอย่างไรจากข้อมูลที่เปิดเผยออกมา สิ่งที่ตามมาคือโอกาสการเปิดเทรดก็จะเกิดบ่อยขึ้นเมื่อเทียบกับการวิเคราะห์แบบข้อมูลพื้นฐาน

นอกจากนั้นการวิเคราะห์แบบ technical analysis ยังมองว่าเมื่อมีเรื่องของข่าวที่เกี่ยวกับ Fundamental information ที่ทำให้เกิด high volatility กลับเป็นตัวเร่งราคาให้วิ่งเร็วกว่าเดิมด้วย และก็จะมีการใช้ข้อมูลจาก fundamental news ประกอบ trade setup ถ้าเกิดขึ้นช่วงเดียวกัน อย่างตัวอย่างภาพที่แสดงเรื่องของ Non-Farm สำหรับเทรดเดอร์ที่เทรด technical analysis ก็จะมองว่าราคาเพิ่งเบรคตรงกรอบสีแดง เป็นไปได้ว่าเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดตรงนั้น เพราะเรื่องข่าว Non-Farm ก็จะส่งผลต่ออารมณ์ของเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ ทั้งเทรดเดอร์ที่รอเข้าก็จะคาดหวังเยอะด้วยเพราะจะหาโอกาสเทรดตามข่าวเลยทำให้เกิด volatility สูงและเพราะมาจากเทรดเดอร์ที่เปิด positions อยู่ในตลาดด้วย เลยทำให้ trapped traders ที่อยู่ในกรอบจำต้องออก เลยทำให้ราคาวิ่งง่ายขึ้นไปทางเดียวกันด้วย ยิ่งพอเห็นการ false break หางบาร์เกิดขึ้นตอนที่มีข่าวมา แล้วราคาวิ่งสวนกลับไป ยิ่งทำให้ต้องรีบออก

การวิเคราะห์แบบ Fundamental analysis และ Technical analysis ผสมกัน

ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์รูปแบบไหน สำคัญที่ต้องมี trading plan ล้วนสามารถทำกำไรได้หมด แต่การบริหาร positions อาจต่างกันออกไปเพราะถ้าเป็นเทรดตามการวิเคราะห์แบบ Fundamental เป็นหลักก็เทรดตามข้อมูลที่เปิดเผยออกมาจะเน้นการถือ postions นาน แต่ถ้าเป็น technical analysis ก็จะหา trade setup จากราคาและการเคลื่อนที่ก่อนที่เปิดเผยออกมา และยังใช้ประกอบกับ Fundamental analysis ถ้าเป็นช่วงที่เกิด trade setup ก็จะทำตัวเร่งให้ราคาวิ่งเร็วขึ้น ขณะเดียวกันทาง Fundamental Analysis ก็จะใช้ technical analysis เพื่อหาว่าจะเข้าเทรดตรงไหนและราคาน่าจะดันไปถึงตรงไหน เมื่อเข้าใจเรื่องออเดอร์หรือการทำงานของแนวรับแนวต้านก็จะหาจุดเข้าออกง่าย เป็นต้น

 

ทีมงาน  www.thaibrokerforex.com

เส้น