รู้ว่าเข้าเทรดที่ไหนและเมื่อไร

เส้น

รู้ว่าเข้าเทรดที่ไหนและเมื่อไร

                ตลาดเปิดเผยหลายอย่างที่มาหลังจากการเข้าเทรดของขาใหญ่ เพราะเมื่อขาใหญ่เข้าเทรดจะไม่สามารถปกปิดร่องรอยได้แบบที่พวกเขาทำตอนสะสม positions ในกรณีที่เห็นบ่อยในช่วงที่เกิด consolidation หรือเป็นช่วงที่เรียกว่า accumulation สำหรับเรื่องออเดอร์เพราะในการสะสมของขาใหญ่สามารถทยอยหรือปกปิดด้วยการทำให้ราคาวิ่งอยู่ในกรอบได้ แต่เมื่อมีร่องรอยเปิดเผยว่าพวกเขาเข้าเทรดทางไหน สถานการณ์จะต่างกันออกไป เพราะเขาต้องรีบดันต่อให้จบตามเป้าหมายเพื่อสะสมกำไร

                วิธีการง่ายๆ ที่สุดในการมองชาร์ตเปล่าว่าเป็นผลจากการเทรดของขาใหญ่หรือเปล่า คือหาความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์จะเห็นได้ชัด ความไม่สมดุลย์ระหว่าง buy และ sell ออเดอร์ที่เกินกันจะมองเห็นเป็นบาร์ยาวๆ ไปทางใดทางหนึ่ง ตามด้วยราคาปิดก็จะไปทางนั้นสักระยะ ถ้าท่านเห็นแบบนั้นบนชาร์ตเปล่านั่นคือร่องรอยความไม่สมดุลย์ที่เกิดขึ้น บอกได้เลยว่าขาใหญ่ต้องมีส่วนทำให้เกิดแน่นอน

                อย่างแรกคือต้องบอกว่าความไม่สมดุลย์บนชาร์ตเป็นอย่างไร เป็นอีกอย่างที่ถือว่าเป็นพื้นฐานเมื่อมีการทำเทรนว่าเป็นอย่างไร  ยกตัวอย่างการทำเทรนลง

                ดูภาพที่วาดประกอบ Lower low ตามด้วย lower high ตามด้วย Lower low จะเป็นหลักการโครงสร้างทั่วๆ ไป สิ่งสำคัญคือลักษณะที่ราคาเบรค lower low เป็นอย่างไร และไปไกลได้หรือเปล่านั้นสำคัญ เพราะบอกว่ามีเทรดเดอร์อยากเทรดไปทางนั้นต่อหรือเปล่า ในที่นี้คือต้องเห็น market orders ผ่านตรงที่เบรคด้วยบาร์ยาวๆ เร็วและปิดล่างได้ แทบไม่มีหางบาร์ยิ่งดี ดังนั้นเมื่อท่านดูว่าขาใหญ่เข้าเทรดหรือเปล่า ก็ให้ดูตรงที่ราคากลับไปทำ Lower high แล้วเบรค lower low ลงมาก็จะบอกว่าเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่หรือเปล่า ตรงนี้ยังเรียกว่าเป็นส่วนของ Impulsive move ด้วย

                จากที่อธิบายมาเรื่องการเข้าเทรดขาใหญ่ ในการมองชาร์ตเปล่า มองเทรน มองบาร์ยาวๆ ที่บอกว่าเป็น impulsive move ความสำคัญอยู่ที่ว่าราคาที่เปิดเผยออกมาอยากลงไปต่อหรือเปล่า เช่นถ้าเปลี่ยน impulsive move ไปล่ะเทรนท่านก็จะเปลี่ยน เพราะราคาไม่สามารถเบรค Low ลงไปต่อได้ นั่นเป็นสัญญาณแรกที่ท่านต้องใส่ใจว่าเทรนจะเปลี่ยนทาง

                ภาพต่อมาท่านจะเห็นว่าราคาขึ้นไปทำ Lower High เหมือน 3 ครั้งก่อน แต่ที่ตามมาคือราคาไม่สามารถเบรค lower low ลงไปต่อได้แต่กลับเป็น Higher Low  แล้วก็ตามมาด้วยการเบรคขึ้นไปทำ Higher High กลายเป็น impulsive move ทันที

                ความรู้เรื่องการทำเทรนและการเข้าเทรดแต่ละจุดที่เกิดเทรน ทำให้เรารู้ว่าขาใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมแน่นอน ดังนั้นท่านพอจะมองออกว่าขาใหญ่เทรดตอนไหน ที่ตามมาคือว่าจะเข้าเทรดอีกรอบพร้อมพวกเขาได้อย่างไร เมื่อเขาดันราคาไปต่อเนื่องจากการมอง 2 จุดนี้ไม่ยากเกินไป เพราะดูพื้นที่ๆ เปิดเผยความไม่สมดุลย์และเข้าใจหลักการทำเทรน ท่านก็พอจะหาได้บนชาร์ตปล่า ท่านก็อาจใช้ทูลที่มากับ Metatrader คือ Fibonacci Retracements และ CCI ประกอบกันเพราะหาว่าจะเข้าเทรดที่ไหนและเมื่อไร

                หลักการใช้ Fibonacci Retracements ง่ายๆ คือเมื่อท่านมองหา Impulsive move เป็นท่านก็จะมองออกว่าใช้อย่างไร Fibo เป็นเครื่องมือในการหาจุดเข้าเทรดต่อตามเทรนที่เกิดจาก impulsive move

                ตัวอย่างที่ A จะเห็นกรอบสีแดงที่ตีใต้ Fibonacci Retracment บอกว่าเป็นการเข้าเทรด impulsive move ราคามีการเอาชนะและลงแรงและปิดล่างพื้นที่เอาชนะด้วย Retracements หลัก 23.6 38.2 50.0 61.8 เป็นพื้นที่ที่นิยมเทรดกันว่าจะเข้าตรงไหน แต่ท่านจะพบว่ามี 4 ตัวเลือก ถ้าท่านเปิดที่ละ 1 ออเดอร์ ที่จะเปิดมีถึง 4 ออเดอร์และไม่แน่ว่าราคาจะกลับมานานหรือเปล่าเพราะราคายังไม่เปิดเผย แต่เมื่อท่านมอง CCI ที่เป็นอินดิเคเตอร์บอกการเร่งของราคา ท่านจะรู้ว่าท่านควรเปิดเทรดที่ตรงไหนและเวลาไหน  หรือดูที่ตัวอย่าง เกิดหลังจากที่ราคาไม่สามารถเบรค lower low ลงไปต่อได้ แต่กลับมาทำ Higher low ตรงพื้นที่ที่ส่วนประกอบการสร้าง Fibonacci Retracements ที่จุด B ท่านก็พิจารณาชาร์ตแบบเดียวด้วยเรื่อง เทรน (หลักการพัฒนา swing highs/lows ที่อธิบายด้านบน เช่นเทรนลง) แต่ชาร์ตยังไม่เปิดเผยร่องรอยการเข้าเทรดของขาใหญ่จนกว่าจะเกิด impulisve move ที่จุด B เกิดขึ้นเพราะราคาเบรค High ก่อน ผลเพราะการเข้าเทรดของขาใหญ่ที่ต้องการดันราคาให้ไปต่อทางนั้น   จุดที่เข้าเทรดก็ให้ท่านใช้ Fibonacci Retracements ประกอบแล้วดูว่าราคาเด้งที่ CCI ที่ Fibonacci เลขตัวไหน เรื่อง stop loss กำหนดไปที่ต้นตอที่ทำให้เกิด impulsive move และ take profit จุดที่ high/low ที่ราคาทำ impulsive move เกิด

                จากตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นว่าไม่ยาก หาจุดเทรดและที่ไหนและเวลาสำหรับการเข้าเทรด เมื่อเข้าใจหลักการ เทรน และ impulsive move แล้วใช้ทูลที่มากับ Metatrader เป็นตัวช่วยในการกำหนด Fibonacci Retracements ก็ช่วยในการหาจุด retracement หรือ pullback ที่ราคาน่าจะไปต่อตามเทรนที่เกิดเพราะการเข้าเทรดจริงจาก Impulsive move ส่วน CCI หรือ Commodity Channel Index ใช้เป็นตัวยืนยันว่าจะเข้าเทรดตรงไหนเวลาไหน              

                               

ทีมงาน .com

เส้น