ทฤษฎีพฤติกรรมราคา ทฤษฎี Dow

เส้น

ทฤษฎีพฤติกรรมราคา ทฤษฎี Dow

รูปที่  1 Dow Theory
ที่มา https //www.marketwatch.com/story/dont-dis-the-dow-theory-just-because-its-over-100-years-old-2018-03-27

ในบรรดาทฤษฎีทั้งหมดที่จะกล่าวเกี่ยวกับพฤติกรรมราคา ทฤษฎี Dow อาจจะเป็นทฤษฎีที่มีเหตุมีผลมากที่สุดก็เป็นได้ ทฤษฎี Dow เกิดจากประสบการณ์ การสังเกตุและเรียนรู้ ทฤษฎี Dow หรือ Dow Theory ถือกำเนิด นักเขียนและบรรณาธิกการ ชื่อ Charles H. Dow เขามีชีวิตช่วงปี ค.ศ. 1851-1902 เป็นผู้ก่อตั้งวารสาร The Wall Street Journal ทฤษฎี Dow จะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของราคา ซึ่ง ทฤษฎี Dow จะมีองค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบ ได้แก่

  1. The market discounts everything
  2. There are three kinds of market trends
  3. Primary trends have three phases
  4. Indices must confirm each other
  5. Volume must confirm the trend
  6. Trend persist until a clear reversal

 

The market discounts everything

ทฤษฎี Dow จะใช้ได้บนสมมุติฐานตลาดที่มีประสิทธิภาพ (efficient markets hypothesis) ตลาดมีประสิทธิภาพ คือ ภาวะที่ไม่มีใครใช้ประโยชน์จากข่าวสาร จากข่าววงใน และตลาดสะท้อนผลของกิจการออกมาหมดแล้ว ตัวอย่างเช่น ผู้บริหาร นักลงทุนรายย่อย รายใหญ่นั้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายปันผลของหุ้น การประกาศผลกำไรนั้นแทบจะพร้อมกัน ทำให้ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบทำให้ราคานี้ไม่มีผลกับการเคลื่อนไหวของราคา

There are three kinds of market trends

ทฤษฎี Dow บอกว่าเทรนด์ในตลาดมีอยู่ 3 ประเภท คือ เทรนด์ใหญ่ และในเทรนด์ใหญ่จะมีเทรนด์เล็ก กว่าเรียกว่า Secondary trend ถ้าจะตีความว่าเป็นเทรนด์รองก็ไม่ผิด หรือการพักฐาน เช่น ถ้าราคาขึ้น การพักฐานลงก็ถือเป็นเทรนด์รอง แต่หลักการนับเทรนด์หลักเทรนด์รองใน Dow Theory นั้นใช้ระยะเวลาเป็นหลัก เทรนด์หลักใช้เวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป ส่วนเทรนด์รองใช้เวลา 2 – 3 สัปดาห์ไปจนถึง 3 เดือน ขณะที่เทรนด์ประเภทสุดท้ายนั้นจะเป็นการแกว่งตัวสั้น ๆ ที่กินเวลาน้อยกว่า 3 สัปดาห์ การตีความเหล่านี้ที่ค่อนข้างตายตัวทำให้มันประสบปัญหาเป็นส่วนใหญ่

Primary trends have three phases

เทรนด์หลัก หรือ Primary trend ยังแบ่งออกเป็นอีก 3 เฟส ดังนี้ แบ่งเป็นดังนี้คือ การสะสมกำลัง (accumulation)  คนเข้ามามีส่วนร่วม เป็นช่วงที่ 2 นั่นคือมีการที่ราคาเคลื่อนไวหขึ้นทำให้ดึงความสนใจของคนอื่นได้ ช่วงที่ 3 คือ excess phase ก็คือช่วงที่เทรนด์ใกล้ถึงจุดจบ จริง ๆ แล้วหลักการข้อนี้เป็นหลักการที่มีเหตุผลอยู่เบื้องหลังที่ค่อนข้างชัดเจนและนำไปใช้ได้ ปัญหาของมันมีอย่างเดียวคือ ไม่รู้ว่าตอนนี้เราอยู่ในเฟสไหนเนี่ยแหละ

Indices must confirm each other

ตัวดัชนีอื่น ๆ ต้องสามารถยืนยันการเกิดเทรนด์ได้ ตัวอย่างของทฤษฎี Dow คือ Dow Jones Industrial Average และ Dow Jones Transportation Average (DJTA) ถ้ามันขึ้นทั้งคู่ก็หมายความว่าเทรนด์ขาขึ้นกำลังมาและเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน หลักการข้อนี้เป็นจริงในกรณีที่ตลาดยังให้อารมณ์ตลาดที่สอดคล้องกันเท่านั้น ซึ่งมีบางเหตุการณ์ที่ตลาดไม่ได้เคลื่อนไหวสอดคล้องกัน นั่นคือ ตลาดที่แข่งขันสมบูรณ์มาก ๆ แต่ว่าหลักการนี้ทฤษฎีราคาของผมนั้นสามารถอธิบายได้ นั่นทำให้ผมกล้าพูดได้ว่าทำไมทฤษฎี Dow ถึงเป็นทฤษฎีที่ใกล้เคียงความเป็นจริงทฤษฎีหนึ่ง

 

Volume must confirm the trend

ต้องมีปริมาณการซื้อขายยืนยันเทรนด์เป็นเหตุผลที่ข้าง ๆ คู  ๆ มากสำหรับคนที่จะใช้ปริมาณการซื้อขายในการยืนยันเทรนด์ เพราะมันเป็นสิ่งที่ต้องเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว เมื่อเวลาราคาขึ้นปริมาณการซื้อขายก็สูงขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าวันถัดไปมันจะสูงขึ้นด้วย ปริมาณการซื้อขายอาจจะขึ้น ๆ ลง ๆ ก็ได้ แต่ถ้าเรารอสังเกตุว่าให้มันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน ทุกวัน หมายความว่าเราก็คงได้นั่งเฝ้ามองดูเทรนด์มันขึ้นมาแล้วระยะหนึ่ง แล้วเราจะไม่มีคำถามหรือว่า “นี่เราจะเข้าซื้อที่จุดที่แพงที่มันขึ้นมาหลายวันแล้วหรือเปล่า” นี่แหละปัญหาของคนที่ใช้ Volume ในการยืนยันเทรนด์

Trend persist until a clear reversal

เทรนด์จะยังคงเกิดต่อไปจนเกิดรูปแบบการกลับตัวที่ชัดเจน แน่นอนว่า มันก็ต้องเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว แต่เราเห็นรูปแบบการกลับตัวแล้วมันจะเกิดประโยชน์อะไรหล่ะ เพราะเราไม่สามารถเข้าเทรดได้อยู่ดีเพราะว่าเทรนด์มันก็จบไปแล้ว ครั้นจะไปเข้าเทรดจุดกลับตัว หรือพักฐานมันก็ไม่รู้จะกินเวลานานมากเท่าไหร่ ทำให้เราเสี่ยงที่จะตัดสินใจ

 

เป็นไปได้ไหมที่จะใช้มันในการเทรด

รูปที่ 2 ผลกระทบจาก Dow Theory ต่อตลาด
ที่มา https //blog.tradesmartonline.in/have-you-ever-heard-about-dow-theory-in-stock-market-have-a-glimpse-of-it-on-our-blog/

จากหลักการของทฤษฎี Dow ข้างต้นทั้งหมด 6 ข้อ เป็นไปได้ไหมที่จะใช้มันในการเทรด ก็เป็นอย่างที่ได้อธิบายไปว่า ทฤษฎีบางข้อมันดูสวยหรูแต่มันสังเกตุได้หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นไปแล้ว เมื่อเรารู้ว่ามันเกิดขึ้นไปแล้วเราจะใช้ประโยชน์จากมันยังไง คนที่ดูดวงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต จะว่ายังไงก็ได้มันเกิดไปแล้ว แต่พอเรานำมาใช้ในอนาคต มันก็เป็นปัญหาอยู่วันยังค่ำ

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎี Dow มีบางข้อที่มีสมมุติฐานน่าสนใจในการนำไปใช้ แม้ผู้เขียนจะไม่ได้พัฒนาวิธีการเทรดจากทฤษฎีนี้ แต่วิธีการคิดกลับมีความใกล้เคียงกัน ถ้าหากติดตามบทความไปเรื่อย ๆ จะได้เห็นทฤษฎีราคาที่ผมใช้ ซึ่งสามารถประมาณการได้และสอดคล้องกับความเป็นจริงมากกว่า สามารถนำมาใช้ตามหลักการได้มากกว่าที่มีนำเสนออยู่ในตลาด  ในส่วนของทฤษฎี Dow คงบอกได้ว่าเป็นทฤษฎีที่มีความเป็นไปได้สูงในบางข้อขององค์ประกอบแต่จะให้ใช้หลักการนี้ไปเสียหมดคงไม่ดีเท่าไหร่ เพราะตลาด Forex แตกต่างจากตลาดหุ้นตรงที่ตลาดมีความเป็นอิสระสูงปราศจากการแทรกแซงเพราะว่า มันมีขนาดใหญ่มาก ๆ นั่นเอง

Keywords Dow Theory  หลักการของทฤษฎี Dow การใช้ทฤษฎี Dow ใน Forex

ทีมงาน  www. .com

เส้น