ทฤษฎีพฤติกรรมราคา  การสร้างอาวุธของตัวเอง 2

ทฤษฎีพฤติกรรมราคา  การสร้างอาวุธของตัวเอง 2

จากบทความของการใช้ Equidistance ทำให้เกิดสมมุติฐานของการใช้งานเครื่องมือว่าการใช้งาน Equidistance นั้นเป็นอย่างไรใช้ได้อย่างไร สมมุติฐานว่า ทำไม Equidistance ถึงใช้งานได้ มาจาก
1. อารมณ์ตลาดนั้นมีอยู่จริง 
2. ทิศทางของตลาดนั้นกำหนดมาจากคนกลุ่มเดียว  
3. แยกเหตุการณ์ร้ายออกจากทิศทาง

 ทำไมการใช้งาน Equidistance นั้นถึงบอกว่าอารมณ์ตลาดนั้นมีอยู่จริง นั่นเพราะว่า ถ้าอารมณ์ตลาดไม่มี ราคาก็จะไม่เคลื่อนไหว ไม่มีเคลื่อนไหวขึ้น และไม่มีเคลื่อนไหวลง ราคาขึ้นเพราะว่าคนเชื่อว่ามันจะขึ้นก็เลยคิดว่าจะต้องเข้ามาถือครอง ส่วนราคาลงก็เพราะว่าคนคิดว่าราคามันจะลง คนส่วนใหญ๋ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นคนตัดสินใจราคา แต่คนที่มีปริมาณสินทรัพย์ส่วนใหญ่สิ ถ้าคนที่ปริมาณสินทรัพย์ส่วนใหญ่เชื่อว่าราคาจะขึ้นเขาก็จะเข้าซื้อและถือ ทำให้สินทรัพย์ในตลาดมีน้อยลงมาก เพราะว่า คนที่มีปริมาณสินทรัพย์ส่วนใหญ่ไม่ได้หมายความว่าจะมีหลายคน  ฉะนั้นเมื่อเกิดการตัดสินใจของคน ๆ เดียวแต่มีของเยอะ ย่อมทำได้ง่ายกว่า คนที่มีของน้อยแต่มีหลายคนที่อาจจะเสียงแตกได้

ฉะนั้น การที่อารมณ์ตลาดกำหนดปริมาณสินทรัพย์และทิศทางราคา ย่อมต้องดูทิศทางอื่นประกอบด้วย ไม่ใช่ว่ารายย่อยคิดว่าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ แต่เราทำให้ราคาขึ้นเมื่อมันไม่สะท้อนความเป็นจริง คนอยู่ในความกลัว เขาก็จะเก็บเงิน การชักนำราคาในช่วงนี้จึงไม่ได้ผลทำให้รายย่อยหรือพวกในกลุ่ม 5 – 6 เข้ามาในตลาดด้วยความหวาดระแวง เขาจึงรอรอให้ตลาดนั้นมีสภาพที่เอื้อ ต่อการที่รายย่อยจะเข้ามาในตลาด

แล้วจริงหรือไม่อย่างที่ผมได้กล่าวไปว่า บทความนี้จะเป็นการพิสูจน์ว่าเรื่องนี้จริงหรือไม่ ท่านสามารถพิสูจน์ได้และหาหลักฐานได้ง่ายมาก

 

อารมณ์ตลาดต้องสอดคล้องกัน

การจะดูว่าอารมณ์ตลาดจะสอดคล้องกันหรือไม่นั้นไม่ยากเลย ลองดูราคาสินทรัพย์ที่แตกต่างกันกันสิ เช่น ทองคำ ค่าเงิน น้ำมัน หรือตลาดหลักทรัพย์ จะเห็นได้ชัดว่ามันเป็นทิศทางเดียวกันหมด จะว่ามันเป็นผลของปัจจัยเศรษฐกิจก็ได้ หรือใครจะอ้างอย่างอื่นก็ได้ แต่เคยถามแม่ค้าร้านตลาดหรือเปล่าว่า ตอนนี้เศรษฐกิจดีหรือเปล่า เขาก็จะตอบว่าเศรษฐกิจไม่ดี ไม่ว่าจะตอนไหนก็ตามอยู่ดีนั่นแหละ ฉะนั้นผมพยายามจะบอกว่า อารมณ์ตลาดไม่ได้สนใจสภาพเศรษฐกิจเลย ลองมาดูกัน

รูปที่ 1 แสดงกราฟราคารายเดือน ของสินทรัพย์ 4 ประเภท

ในรูปที่ 1 แสดงกราฟราคารายเดือนของสินทรัพย์  4 ประเภทได้แก่ ทองคำ  น้ำมัน ค่าเงิน EURUSD และ AUDUSD สิ่งที่ผมใส่ลงไปก็คือ ภาวะของตลาดตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 – 2008 นั่นคือก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐฯ สิ่งที่เห็นในกรอบสี่เหลี่ยมคือ พฤติกรรมราคาที่ขึ้นพร้อมกันหมด

ราคาทองคำ ราคาน้ำมัน ราคาเงินยูโร ราคาเงินออสเตรเลีย ขึ้น มันหมายความว่าไง ทำไมขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน เนี่ยแหละเรียกว่าอารมณ์ตลาด ตลาดมีความเชื่อมั่น คนที่เขาลงทุน ขาใหญ่เข้าก็กล้าลงทุนพร้อม ๆ กัน เพราะว่านักลงทุนรายย่อยก็กล้าเอาเงิน กู้มาลงทุนเช่นกันเพื่อที่จะหวังกำไรจากตรงนั้น เมื่อทุกคนมองบวก็เป็นโอกาสที่ทุกคนจะพลาดได้ง่ายมาก ราคาก็ต้องยกขึ้น เพราะก่อนหน้านั้น กลุ่มที่ 1 เขาก็ได้เก็บของมาก่อนพอสมควรแล้ว ไม่ได้พึ่งมาเก็บอย่างที่ทุกคนเข้าใจ เมื่อเฉลี่ยราคากับการยกราคาขึ้น ต้นทุนเขาก็ยังต่ำกว่า ต้นทุนที่รายย่อยเข้าซื้อปัจจุบันอยู่ ทิศทางตลาดโลกจึงเป็นไปในทิศทางเดียวกันอยู่อย่างนี้ ท่านไม่เชื่อท่านก็ไปดูสินทรัพย์ที่มีลักษณะของการลงทุนได้อย่างนี้ก็ได้ เช่น ราคาข้าวโพด ราคาฝ้าย ราคากาแฟ

รายยุ่ยอย่างเรา ๆ มองว่า อ๊ะ ระหว่างที่เราเทรดค่าเงิน EURUSD เราต้องรอจังหวะ เราไปเทรด AUDUSD ก่อนก็แล้วกัน นั่นเพราะคุณไม่มีความรู้เป็นของตัวเองเลยไปเชื่อคนอื่นสะเปะสะปะ เทรดแบบ Basket Trading กว้านซื้อหมดแล้ว Buy buy Sell sell จับคู่มั่วกันไปหมด ไม่รู้ว่าจริงๆ  แล้วสินทรัพย์บางประเภทมันวิ่งทิศทางเดียวกัน หลายคนก็เถียงว่า แต่กองทุนใหญ่ ๆ เขาก็กระจายความเสี่ยงออกไปแตกต่างกันนะ  คือ ไม่รู้จะพูดอย่างไร กองทุนใหญ่เขากระจายไม่ได้กระจายลงไปในสินทรัพย์พวกนี้ เขากระจายออกไปที่ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร รัฐบาล ตราสารหนี้ อะไรนู่น มันเรียกว่า Asset Class ในการลงทุน เขาไม่ได้มากระจายมั่วซั่วในกราฟที่มีลักษณะเหมือนกันแบบนี้หรอก ซึ่งเรียกภาษาสถิติให้สวยหรือว่า ค่า Correlation สูง ๆ นั่นแหละ

ในบทความถัด ๆ ไปผมจะอธิบายเรื่องของ Asset Class หรือเรื่อง Correlation ที่เราใช้ในการวิเคราะห์สินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากจะชี้ให้เห็นนี้คือ การพิสูจน์สมมุติฐานว่า อารมณ์ตลาดนั้น เป็นเหมือนกับทิศทางลง ของนักเดินเรือ นักเดินเรือต้องอ่านลม อ่านพายุ อ่านอะไรต่าง ๆ ให้ออก คุณอ่านลมไม่ออกแล้วไม่รู้ว่าพายุจะมาตรงไหน จะอยู่ตรงไหน ออกทะเลไปก็ตายเปล่า อารมณ์ตลาดจึงกำหนดชี้เป็นชี้ตายได้ และบทความนี้ผมขอพิสูจน์ว่ามันมีอยู่จริง

Keywords Market Sentiment อารมณ์ตลาด Asset Class

 

ทีมงาน .com

เส้น