ATR (Average True Range) เทคนิคการเล่นด้วยอินดิเคเตอร์

 ATR (Average True Range) เทคนิคการเล่นด้วยอินดิเคเตอร์

           นักลงทุนหลายคนจึงมีคำถามเกิดขึ้นว่าจะสามารถที่จะจัดการความผันผวนของตลาดที่เพิ่มขึ้นได้อย่างไร ในบทความฉบับนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอไอเดียในการรับมือกับความผันผวนของตลาดผ่านอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคตัวหนึ่งที่ชื่อ Average True Range หรือ ATR

ATR คืออะไร

Average True Range หรือ ATR เป็นอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคตัวหนึ่ง ซึ่งใช้วัดระดับความผันผวนของราคา แตกต่างจากอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคอื่นๆ เช่น Moving Average , MACD , RSI , Stochastic ที่มักใช้บอกแนวโน้มของราคา หรือระดับราคาการซื้อขายสุดโต่ง Overbought หรือ Oversold นั่นคือ  ATR ไม่สามารถใช้ในการบอกทิศทางของราคาได้ แต่จะเป็นตัวบอกระดับความผันผวนหรือ Volatility ของตลาด ส่วนมากแล้ว ATR มักจะถูกนำไปใช้อ้างอิงร่วมกับอินดิเคเตอร์ที่ใช้บอกแนวโน้มของราคา เพื่อยืนยันแนวโน้มให้ถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น

เทคนิคการเล่นด้วยอินดิเคเตอร์ ATR (Average True Range) 2

ที่มาของค่า ATR

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับที่มาหรือวิธีการได้มาของตัวเลข Average True Range หรือ ATR กันก่อน ATR นั้นจะคำนวณมาจาก การนำค่าที่มากที่สุด (Max) ระหว่าง

  1. l ราคาสูงสุดของวันนี้ – ราคาปิดของวันก่อนหน้า l
  2. l ราคาปิดของวันก่อนหน้า – ราคาต่ำสุดของวันนี้ l
  3. l ราคาสูงสุดของวันนี้ – ราคาต่ำสุดของวันนี้ l

* การใส่ Absolute ทำให้ค่าเป็น บวก เสมอ

ของแต่ละวันมาค่าเฉลี่ย ปกติมักใช้ค่ามาตรฐานกันที่ 14 วัน หรือ ATR(14) เนื่องจากในบทความฉบับนี้เน้นที่นำไปประยุกต์ใช้ หากนักลงทุนต้องการข้อมูลเกี่ยวกับวิธีคำนวณค่า ATR ละเอียด สามารถหาอ่านได้จาก Website การลงทุนทั่วไป

การนำ ATR ไปใช้

การตีความหมายของค่า Average True Range หรือ ATR นั้นสามารถทำได้ ง่าย ยกตัวอย่างเช่น ทองคำมีค่า ATR(14) ในปัจจุบันเท่ากับ 25 แสดงว่า ค่าความผันผวน เฉลี่ยของราคาทองคำใน 1 วัน เมื่อคำนวนจาก ATR(14) เท่ากับ 25 USD ต่อออนซ์ หากค่า ATR(14) มีค่าเพิ่มขึ้นแปลว่า ตลาดมีความผันผวนเพิ่มมากขึ้น และหากค่า ATR(14) มีค่าลดลงแปลว่า ตลาดมีความผันผวนลดลง

เทคนิคการเล่นด้วยอินดิเคเตอร์ ATR (Average True Range) 1

จากค่า ATR ข้างต้นเราจะสามารถแบ่ง Zone ของ ATR ง่ายๆได้เป็น 3 Zone คือ

  1. ATR > 30 High Volatility หรือ ความผันผวนสูง
  2. 20 < ATR < 30   Moderate Volatility หรือความผันผวนปานกลาง
  3. ATR < 20 Low Volatility หรือความผันผวนต่ำ

ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของการลงทุนจะแปรผกผันกับค่าความผันผวนของตลาดหรือ ATR เช่น ความผันผวนหรือ ATR เพิ่มมากขึ้น ขนาดของการลงทุนควรลดลง หรือ ความผันผวนหรือ ATR ลดลง ขนาดของการลงทุนควรจะเพิ่มขึ้นตาม

ตัวอย่างเช่น ในช่วงต้นปี นักลงทุนพบว่า ATR(14) อยู่ที่ระดับ 20 USD ต่อออนซ์ เขาได้คำนวณขนาดของการลงทุนในทองคำจากความเสี่ยงที่ระดับได้ไว้ที่ 6 สัญญาต่อการซื้อขายหนึ่งครั้ง ต่อมาในช่วงครึ่งปีหลัง ATR(14) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 30 USD ต่อออนซ์ ทำให้นักลงทุนคนดังกล่าวต้องลดขนาดของการลงทุนของทองคำมาที่ 4 สัญญาต่อการซื้อขายหนึ่งครั้ง เพื่อรักษาระดับความเสี่ยงต่อวันไว้ที่ระดับเดิม ดังตารางด้านล่าง

ATR(14) จำนวนสัญญา ระดับความเสี่ยงต่อวัน
20 6 120
30 4 120

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า ระดับความเสี่ยงต่อวันของพอร์ทการลงทุนของนักลงทุนคนดังกล่าวยังมีค่าเท่าเดิม ถึงแม้ว่าระดับความผันผวน (ATR) ของตลาดทองคำจะเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากการที่เขาได้ทำการลดจำนวนสัญญาการซื้อขายลงเมื่อระดับความผันผวนเพิ่มมากขึ้น

ทีมงาน .com