ขั้นตอนมุมมองชาร์ตเปล่าเพื่อหาโอกาสเข้าเทรด

เส้น

ขั้นตอนมุมมองชาร์ตเปล่าเพื่อหาโอกาสเข้าเทรด

                ทองน่าจะเป็นสินค้าที่เทรดเดอร์เทรดกันมากเพราะ price movement แต่ละวันๆ เยอะ การขยับแต่ละครั้ง ถ้าถูกทางก็เพียงพอที่จะทำกำไรในแต่ละวัน แต่ถ้าผิดทางก็จะเสียเยอะ แต่ด้วยเงื่อนไขของการเทรดฟอเรกถ้าผิดทางอาจใช้ วิธีการเฮดเข้าไปประกอบได้ เพื่อรอให้ราคากลับมาเข้าข้างที่มองไว้แล้วค่อยจัดการและเทรดต่อ หรือถ้าผิดทางด้วยความที่ทองวิ่งเยอะในแต่ละวัน ก็จะเป็นการเฮดด้วยจำนวนเทรดที่มากขึ้นก็ได้

                อันดับแรกต้องเปิดดูเทียบเทียบ price structure ก่อนว่าเห็นร่องรอยการเข้าเทรดชัดเจนใน timeframes

ท่านจะพบว่า ชาร์ต W1 ชัดเจนกว่า D1 ว่าราคาวิ่งอย่างไร เรื่องออเดอร์ยังตอบโจทย์ที่เราถามเพื่อหาจุดเทรดทองได้หรือเปล่า ท่านจะพบคำตอบว่าเหมือนกันเพราะตลาดทำงานแบบเดียวกัน แค่มาดูลักษณะของแต่ละสินค้าที่เราจะเทรด เนื่องจากทองเป็นสินค้าที่เทรดเดอร์เทรดเยอะ ท่านจะพบว่าวันๆ หนึ่งราคาวิ่งเยอะมากซึ่งหมายถึงมี liquidity เยอะ มีเทรดเดอร์จะรอเข้าเทรดเยอะ และมีพวก trapped traders เยอะด้วย

                จากจุดที่มาร์คไว้ทั้ง 8 จุดก็จะพบว่าหลักการออเดอร์สามารถตอบโจทย์ได้หมด ราคาเปิดเผยการเข้าเทรดของขาใหญ่ด้วย momentum และบาร์ปิดต่ำกว่า levels สำคัญ  พร้อมกับมีพวก trapped traders อยู่ในโครงสร้าง มีการปิดทำกำไร เพราะรายย่อยเปิดเทรดตามออเดอร์มากพอ และมีร่องร่อยให้เห็นการเข้าเทรดอีก รอบๆ ตรงจุดที่ราคาเบรค เป็นที่ๆ มีพวก trapped traders อยู่  แต่โครงสร้างที่เป็นนี้อยู่ที่ชาร์ต W1 นั้นแสดงว่าเมื่อเราเปิดเทรด เช่น Day trading ต้องอิงข้อมูลพวกนี้ประกอบ

พอมาดู ชาร์ต D1 ถ้าท่านดูชาร์ต W1 เป็นไกด์ก่อนท่านจะพบว่าเห็นรายละเอียดจุดที่เข้าเทรด filled orders  มีการเปิดเทรดตรงไหนเยอะสุด หมายความว่ามี open positions แล้วเราก็มาดูเปรียบเทียบกับ momentum ที่เกิดจากการเข้าเทรดของขาใหญ่ แต่ท่านจะพบอย่างหนึ่งว่าจากชาร์ต D1 ราคาหลายๆ บาร์วิ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกันเยอะ ดังนั้นความอดทนและการยืนกรานว่าถ้าโครงสร้างราคายังไม่เปลี่ยนเราก็จะไม่ จึงจำเป็นมากสำหรับการเทรด แต่ต้องไม่เพิ่มออเดอร์ถ้าราคาไม่เปิดเผยเพิ่มอีก ดูราคาเพื่อจำกัดความเสี่ยงช่วงราคาวิ่งในกรอบหรือพื้นที่เดียวกัน การบริหารออเดอร์ที่เปิดอยู่ในตลาด ดูความเสี่ยง ดูทุนประกอบ ท่านต้องไม่ลืมว่าขาใหญ่จะขยับก็ต่อเมื่อพวกเขามั่นใจว่าออเดอร์ตรงข้ามมากพอ ถ้าพวกเขาเปิดเทรดเพื่อเข้าตลาดจริงตรงจุดที่เปิดเผยร่องรอย พวกเขาจะพยามไม่ให้ราคาเบรกไปได้ นั่นทำไมเราเลยจำเป็นต้องหาร่องรอยการเข้าตลาดให้เจอก่อนเป็นอันดับแรก เพราะจะช่วยป้องกันหลายๆ อย่างที่ไม่คาดคิดตามมาได้ อยู่ใต้ร่มขาใหญ่ย่อมได้เปรียบ

                เนื่องจาก ตัวอย่าง โฟกัสแค่ Day trading หลังจากมองภาพรวมจากชาร์ต W1 ก็มาเปิดชาร์ต D1 ลงรายละเอียดต่อเพื่อหาโอกาสการเทรดจากชาร์ตเปล่าอย่างไร จุดที่ยกเป็นตัวอย่างคือพื้นที่เลข 7 ที่มาจากชาร์ต W1 ที่ราคาเอาชนะ supply ที่อ้างอิงเลข 4 หลังจากราคากลับมา ราคาลงไปไม่สามารถเอาชนะ demand ที่เลข 6 ได้ ที่บอกเปิดเผยว่าเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่ล่าสุดก่อนถึงจุดนี้ ถ้ามองจากมุมมอง W1 จะเห็นว่าเป็นราคาต่อเนื่องมาจาก Head and Shoulder pattern

                ท่านจะพบว่า ราคา consolidation พื้นที่เลข 7 นานกว่าจะเอาชนะได้ หาที่ราคาเบรก พื้นที่ consolidaiton ทำให้เกิด trapped traders และตรงพื้นที่ consolidation มาจาก D1 จะมีการเปิด position สะสมเรื่อยๆ จนกว่าเกิดเบรก พอเห็นราคาเบรกที่ D1 ท่านก็ได้ข้อมูลชัดเจนที่จะหาโอกาสเทรดให้สัมพันธ์กับ W1 ท่านก็เปิดชาร์ต D1 และ H1 ประกอบ H1 จะช่วยดูโครงสร้างหลักๆ ที่จะเป็นจุดอ้างอิงเข้าเทรด ก็มาไล่รายละเอียดการทำงาน ดูพัฒนาการโครงสร้าง เช่น เลข 1 ท่านจะพบกว่า นอกจากราคาจะเบรกขึ้นมายังทำ Higher High ด้วย ตรงเลข 1 ถ้าเทรดเดอร์ที่ไม่เข้าใจเรื่องการทำงานของออเดอร์อาจไม่มั่นใจในการเปิดเทรดเพราะราคายังไม่เบรก แต่ถ้าท่านมีความรู้เรื่อง order liquidation ที่จะต้องเกิดจากกลุ่มพวก trapped traders จะพบว่าจุดก่อนราคาจะทำการเบรกขึ้นมาเป็นผลจากการเข้าเทรดอีกรอบของขาใหญ่ที่เลข 6  ท่านจะกล้าเปิด เพราะราคาจะวิ่งหา liquidity เสมอเพราะเป็นหลักการทำกำไรของการเทรด เช่น ท่านเปิดบายที่เลข 6 พอราคามาแล้วเกินเลข 6 เป็น stop orders มันจะทำงานเองแค่ดันราคามาให้ถึงราคาก็จะขึ้นเองอัตโนมัติ

                หลักการทำงานของ stop orders ทำให้เรารู้ว่า ออเดอร์ที่เกินกันทำให้ราคาขึ้นหรือลง ไม่ใช้มาแค่จากการเปิดออเดอร์เข้าตลาด (placing trades)  แต่มาจาก stop loss ด้วย เพราะ stop loss เมื่อราคาไปถึงและแตะก็จะกลายเป็น market orders ทันที – ดังนั้นจึงบอกว่าออเดอร์ที่ทำให้ราคาขึ้นลงคือ market orders – หรืออาจกล่าวได้ว่าราคาขึ้นหรือลง นั้นนอกจากการเปิดออเดอร์เข้าเทรดแล้ว ยังมาจากการที่ออเดอร์ออกจากตลาดอีกด้วย

                หลังจาก breakout มา พอราคามาที่เลข 2 ท่านจะพบความเป็นไปได้ง่ายขึ้น เพราะนอกจากได้ trapped traders ที่ชัดเจนแล้ว ตลาดยังเปลี่ยนข้อมูลใหม่ให้เทรดเดอร์ที่รอเข้าด้วย ก็ดู price action ประกอบการการเข้า หรือยิ่งมาจุดที่เลข 3 ก็ยิ่งชัดเจนขึ้นอีก ส่วนที่เลข 4 ก็หลักการเดียวกันกับที่เลข 2 และ 3 แต่อ้างอิงข้อมูลจาก D1 ประกอบ

                จากตัวอย่างที่ยกมา มองชาร์ตปล่าเพื่อสร้าง traidng plan และหาความเป็นไปได้ในการเทรด การดูภาพรวมก่อนและการอ่าน price structure เป็นสิ่งจำเป็น ดูว่าชาร์ตชัดเจนอย่างไร แต่ความเป็นไปได้สูงจะชัดเจนขึ้นเมื่อประกอบการวิเคราะห์หลายๆ timeframes แบบที่ยกตัวอย่างมา การเข้าใจตลาดและออเดอร์ทำงานอย่างไร เทรดเดอร์ประเภทต่างๆ โต้ตอบอย่างไร ชาร์ตเปิดเผยที่ไหน ประกอบกันก็จะสามารถประยุกต์การมองชาร์ตเปล่ากับคู่เงินไหนก็ตามที่ต้องการเทรดได้

 

ทีมงาน  www. .com

เส้น