การเทรด Forex ผิดกฏหมายหรือไม่

เส้น

เป็นคำถามคาใจหลาย ๆ คน ทั้งเทรดเดอร์ ทั้งมือใหม่ที่ยังไม่ได้เข้ามาในตลาดว่า การเทรด Forex นั้นถูกกฏหมายหรือไม่ ก่อนที่อื่นที่เราจะไปคุยกันเรื่องว่า Forex ถูกหรือผิดกฏหมาย สิ่งหนึ่งที่ต้องสนใจก่อนเลยก็คือ การเทรด Forex นั้นมีลักษณะอย่างไร?  ลักษณะการเทรด Forex หมายความว่า เราฝากเงินเข้า Broker และเราส่งคำสั่งซื้อขาย โดยเราจะมีสัญญาณซื้อขายที่ต้องยอมรับข้อตกลงกับโบรคเกอร์ เหมือนกับโบรคเกอร์หุ้น ซึ่งการซื้อขายนั้นต้องเกิดขึ้นจริง หรือพูดง่าย ๆ ว่า ถ้าเราไม่ใช้ Leverage เลย แล้วส่งคำสั่งซื้อขาย  1 Lot  ในค่าเงิน EURUSD เราจะได้เงิน EURO มา 1 แสนยูโร อย่างนี้เรียกว่าซื้อขาย Forex จริงครับ แต่!!!!

 

ถ้าหากว่าการซื้อขายค่าเงินโดยการเปิดบัญชี แล้วทำการใช้ หรือ ไม่ใช้ Leverage แล้วปรากฏว่าไม่ได้ทำการเชื่อมต่อเข้ากับระบบธนาคารกลาง นั่นหมายความว่าจริง ๆ แล้วไม่มีการส่งเงินจำนวนนั้นเข้าสู่ระบบของธนาคารกลาง เอาพูดง่าย ๆ ก็คือแบบที่โบรคเกอร์รายย่อยของแต่ละที่กำลังทำกันนี้ ไม่ได้เรียกว่าการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน มันคือการพนันที่เอาการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นจุดอ้างอิง โบรคเกอร์ก็คือบ่อน เพียงแต่ว่าเกมส์การพนันประเภทนี้ มีอัตราการแพ้การชนะที่สามารถกำหนดได้เท่านั้นเอง อย่างนี้เขาเรียกว่าไม่ใช่การเทรด Forex ครับ ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน

 

เปรียบเทียบกับตลาดหุ้น

ตัวอย่างในการพิจารณาง่าย ๆ อย่างหนึ่ง เช่น เมื่อก่อนโบรคเกอร์ E…Ness ได้อนุญาตให้มีการซื้อขายราคาของตลาดหุ้นไทย หุ้นของตลาดหุ้นไทยจะสามารถซื้อขายผ่านโปรแกรม MT4 ได้ แต่ว่าการซื้อขายจะไม่ได้ตัวหุ้นมาจริง ๆ

 

ในกรณีของตลาดหุ้น เราจะไปซื้อขายที่บริษัทในตลาดหุ้น โดยเราจะได้หุ้นมา ถ้าหากราคาเปลี่ยนแปลงเราจะได้รับส่วนต่างราคา เช่น กำไร หรือ ขาดทุน แต่ว่าหุ้นในกรณีที่มีปันผล เมื่อผลประกอบการดี เราจะได้รับสิทธินั้นด้วย การซื้อขายอย่างนี้จึงเรียกว่าเป็นการซื้อขายในตลาดหุ้นที่เกิดขึ้นจริง แต่การที่เราซื้อหุ้นตลาด Broker Forex สิ่งที่เราได้รับคือ ราคาและปริมาณเท่านั้น เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาเกิดเงินปันผล เราจะไม่ได้รับเงินปันผลแต่อย่างใด การที่เราไม่ได้รับเงินปันผลนี้ เป็นเพราะว่าเราไม่ได้ถือครองหุ้นจริง ๆ อย่างที่เป็น

 

ถ้าหากเราเปรียบเทียบกรณีเดียวกัน การที่เราจะซื้อเงิน USD dollar เราต้องไปที่ธนาคาร อย่างนี้เรียกว่าเป็นการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง การซื้อขายดังกล่าวมีผลต่อเศรษฐกิจจริง ๆ นี่ถึงเรียกว่า เป็นการ Trade Forex  โดยหลักฐานยืนยันมีดังนี้

ภาพที่ 1 แสดงคำตอบของเจ้าหน้าที่

จากภาพจะเห็นว่าสิ่งที่เขาระบบคือ “การลงทุนเพื่อ เก็งกำไรดังกล่าวไม่ได้มีการซื้อ – ขายเงินตราต่างประเทศโดยตรง แต่เป็นเพียงกระบวนการที่เกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีแม่ข่ายอยู่ในต่างประเทศ และผลการดำเนินการจะมีการชำระบัญชีของส่วนต่างที่เป็นผลกำไรขาดทุนเท่านั้น” จากข้อความนี้กล่าวง่าย ๆ เลย คือ การเทรด Forex ของโบรคเกอร์รายย่อยเป็นเรื่องที่ยังไม่ผิดกฏหมาย แต่จะว่าถูกกฏหมายหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า ยังไม่ถูกกฏหมายเช่นกัน เพราะว่า มันยังไม่มีกฏหมายรองรับเรื่องนี้ ถ้าหากจะให้จัดประเภทมันอาจจะเข้าข่ายการพนัน ซึ่งการพนันก็ไม่ได้ระบุว่าการลงทุนลักษณะนี้เป็นการพนัน มันจึงอยู่ในพื้นที่สีเทาที่ไม่มีผิดไม่มีถูก

 

อย่างไรก็ตาม การเทรด Forex เป็นเรื่องยากและได้ผลตอบแทนและขาดทุนในจำนวนมหาศาล ซึ่งความยากและผลตอบแทนที่น่าเย้ายวนใจนี้ทำให้คน ทำสิ่งที่เรียกว่า การระดมทุน เพื่อการลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทน โดยการบอกว่าตัวเองเทรดได้กำไรและนำเงินไปลงทุนใน Forex นั่นผิดกฏหมายการระดมทุนในประเทศไทยอย่างแน่นอน นอกจากนี้ กลุ่มพวกนี้ยังมีการระดมทุนแบบแชร์ลูกโซ่ โดยการให้ผลตอบแทนที่สูงและจ่ายจริงในช่วงแรก เสร็จแล้วให้คนไปชวนเพื่อน ๆ มาลงทุนในจำนวนมาก เมื่อก้อนเงินใหญ่พอแล้วก็จะหายเข้ากลีบเมฆไป การกระทำแบบนี้ก็เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายเช่นกัน

 

แล้วกฏหมายกล่าวไว้ว่าอย่างไร?

“ มาตรา ๔ ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไปผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

ผู้ใดไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ดำเนินการ หรือให้พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลใดดำเนินการโฆษณาประกาศหรือชักชวนประชาชนให้ลงทุน โดย

 

(๑) ซื้อหรือขายเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งหรือหลายสกุล หรือ

(๒) เก็งกำไรหรืออาจจะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย”

นั่นคือผู้ที่ไม่ได้มีคุณสมบัติตามข้อกฏหมายในมาตราดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย

 

ทีมงาน  www.thaibrokerforex.com

เส้น