การเทรดโดยใช้ Trend Line

การเทรดโดยใช้ trend line

เส้น

การเทรดโดยใช้ Trend Line

นาน ๆ ครั้งผมจะเขียนเรื่องเคล็ดลับการใช้เครื่องมือสักทีหนึ่ง เพราะว่ามันไม่ได้ช่วยให้การเทรดดีขึ้นเท่าไหร่ การเทรดไม่ได้อยู่ที่ indicator หรือการวิเคราะห์ทั้งหมด มันมีอีกหลายส่วนที่จะต้องเรียนรู้ เช่น การจัดการการเงิน การจัดการสภาวะจิตใจ การทำบันทึกการเทรด การบริหารหน้าตัก และการวิเคราะห์ความเสี่ยง ซึ่งการเข้าเทรดเป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ ของโลกการเทรดเท่านั้นเอง  หลายคนอาจจะไม่เชื่อ แต่ให้ท่านลองพิจารณา ถ้าหากว่าท่านซื้อ หน้าจอคอมพิวเตอร์ มาแล้วและบอกว่าจะใช้ประโยชน์จากมัน มันคงไม่มีประโยชน์อะไรนอกจากจอเปล่า ๆ การที่มันจะใช้ได้ก็เหมือนกัน คอมพิวเตอร์ก็ต้องประกอบด้วย Hard Disk , CPU , RAM, และเครื่องมืออื่น ๆ ถึงจะสร้างประโยชน์ได้ การใช้คอมพิวเตอร์พิมงานแม้จะทำได้เร็วแต่ถ้าไม่มีเครื่องปริ้นท์ ก็ไม่สามารถนำงานนั้นออกมาได้ การเทรดก็เช่นกัน หากเรามัวแต่ Focus การเข้าเทรดจึงไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งที่ผมพยายามชี้ให้เห็นคือ แม้การใช้ indicator จะสำคัญแต่ก็ไม่ใช่คำตอบทั้งหมด

ในบทความนี้ผมแนะนำการใช้เทรนด์ไลน์ในการวิเคราะห์รูปแบบต่างๆ  เพื่อใช้ในการเทรด ซึ่งเป็นเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการส่งคำสั่งที่ผมนิยมใช้ดังต่อไปนี้

การใช้ภาพใหญ่

ในการเทรด ภาพใหญ่เป็นภาพที่สำคัญ คนส่วนใหญ่จะใช้การวิเคราะห์โดยใช้ Time Frame ใหญ่เสร็จแล้วก็ทำการ Zoom มาวิเคราะห์ใน Time Frame เล็ก เทคนิคนี้เป็นที่นิยม และการใช้ Trend Line ก็สามารถทำแบบนั้นได้เช่นเดียวกัน โดยเราต้องทำขั้นตอนดังต่อไปนี้

ภาพที่ 1 กรอบ Trend Line EURUSD 4H

จากภาพเป็นกรอบค่าเงิน EURUSD ใน Time Frame 4H ซึ่งการตีกรอบจะทำให้เรารู้ว่าตอนนี้ถูกหรือแพงได้ หลังจากนั้นเราจะทำการขยายกรอบ Time Frame เพราะว่าการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ จะทำให้เราเห็นภาพชัด ซึ่ง ณ ส่วนปลายสุดยังไม่เกิดเทรนด์แต่ว่าราคาอยู่ในจุดที่ต่ำ ดังนั้นเราจะขยายกรอบเล็กก่อนดังภาพต่อไปนี้ เสร็จแล้วท่านสามารถนำไปปรับใช้กับเหตุการณ์ข้างหน้าได้ ดังภาพต่อไปนี้

ภาพที่ 2 กรอบของเทรนด์ในกรอบสีแดง

กรอบของเทรนด์ที่เราจะใช้ในการเทรดคือกรอบสีแดง ซึ่งกรอบสีแดงจะมีขนาดเล็กกว่า และมองอะไรยากกว่าหน่อยหนึ่ง ซึ่งถ้าหากว่ามันเกิดรูปแบบที่ชัดเจนหลังจากกราฟที่เกิดขึ้นปัจจุบัน เราก็จะทำการตีกรอบเทรนด์สีแดงซึ่งเป็นเทรนด์เล็กกว่าในกรอบเช่นเดียวกัน โดยทำกับเหตุการณ์ปัจจุบันมากกว่าทำกับเหตุการณ์ในอดีต

เมื่อเราได้กรอบมาแล้วเราก็จะซูมลงไปดูใน เพื่อดูจังหวะเทรดดังภาพต่อไปนี้

ภาพที่ 3 กรอบเทรนด์สีแดง 1H

จากภาพ จะเห็นว่าเมื่อเราขยายกรอบของ Time Frame เพิ่มขึ้น ทำให้เราเห็นจังหวะสวิงขึ้นลงของราคาใน Time Frame 1H ซึ่งการสวิงแบบนี้ทำให้เราหาจังหวะเทรดได้ง่ายกว่า ในกรอบสีเหลืองซึ่งการแตะเส้นขอบสีแดงด้านล่าง คือ การเกิดสัญญาณ Buy ขณะที่การแตะเส้นขอบสีแดงด้านบนคือ การให้สัญญาณ Sell อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเป็นผม ผมจะเลือกเทรด Short Only เพราะว่า เทรนด์ใหญ่ (กรอบสีน้ำเงิน) เป็นเทรนด์ขาลง ซึ่งเราสามารถเทรดขาลงได้ดีกว่า เพราะว่าไม่เป็นการสวนเทรนด์ใหญ่ เมื่อถึงจังหวะกลับตัวใหญ่ ทำให้เราได้กำไรมหาศาล

เทรนด์ไลน์ร่วมกับ Indicator

นอกจากการใช้ Trend Line ในการวิเคราะห์แล้ว เรายังใช้ indicator ในการวิเคราะห์ร่วมกับ Trend Line ได้อีกด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ภาพที่ 4 Trend Line กับ Stochastic

ในภาพที่ 4 เป็นสัญญาณเดิม แต่ว่าเพิ่ม indicator เข้าไปโดยใช้วัดสัญญาณเฉพาะ ฝั่ง Short เท่านั้น สัญญาณฝั่ง Short ในการเทรด นั้นเราสามารถตั้ง Take Profit หรือไม่ตั้ง Take Profit ก็ได้เพราะว่า มันเป็นทิศทางเดียวกับเทรนด์ เพื่อที่จะฉวยจังหวะของการที่กราฟเคลื่อนไหวรุนแรงและทำกำไรได้มหาศาล แม้เราไม่ใส่ Take Profit แต่เราก็ยังต้องใส่ Stop loss ในการเทรด อยู่ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝัน หรือช่วงข่าวแรง ๆ ทำให้การเทรดนั้นสร้างความเสียหายต่อพอร์ทลงทุนได้ใหญ่หลวง

นอกจากการใส่ Stop loss แล้ว ผมจะเลือกใส่ Trailing Stop เพื่อป้องกันออเดอร์ที่กำไรอยู่แล้วกลายเป็นออเดอร์ขาดทุน แต่สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงการใส่ Trailing Stop คือระยะห่างจาก Trailing Stop เพราะว่าวัตถุประสงค์ของการใส่ Trailing Stop คือ การป้องกันไม่ให้ออเดอร์กำไรกลับไปเป็นออเดอร์ที่ขาดทุน ไม่ได้ต้องการให้ออเดอร์ที่กำไรปิดก่อนเวลาอันควร เราจึงต้องทำการศึกษาระยะห่างของ Trailing Stop กับการแกว่งของราคาที่จะไม่ทำให้มันชนก่อนที่จะทำกำไรได้ ในช่วงท้าย ๆ ของกราฟ เกิดการลดลงของราคาจำนวนมาก นี่เป็นเหตุว่าทำไมผมถึงชอบตั้ง Trailing Stop มากกว่าการตั้ง Take Profit ถ้าเรามีเวลาอยู่หน้าจอในการปิดมือ ก็ทำการปิดมือครับ

สำหรับวันนี้เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็คิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่ชอบใช้เทรนด์ไลน์ในการเทรดครับ

 

ทีมงาน thaibrokerforex.com

เส้น