การสร้าง Model เทรดที่สามารถทำกำไรได้ ตอนที่ 6 จุดเข้าเทรด Equidistance

ก่อนหน้านี้ เราได้รู้จัก Trend และ การ Swing ของราคาในกรอบเทรนด์ ถ้าเรารู้จักเทรนด์แบบนี้และจุด Swing ของราคาแบบนี้จะทำให้เราได้ Indicator มาใช้ด้วยเช่นกัน การเทรดส่วนมากมักจะใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน แต่จริง ๆ แล้วมันค่อนข้างผิดหลักการอยู่ไม่น้อย เนื่องจากเครื่องมือทางคณิตศาสตร์นั้นถูกออกแบบมาให้มันใช้ได้เฉพาะสถานการณ์เท่านั้น ทำให้มันมีข้อจำกัด เมื่อถึงจุดนี้เทรดเดอร์หลายคนใช้มันเป็นเครื่องมือที่รับมือได้กับทุก ๆ สถานการณ์ทั้งที่จริง ๆ แล้วมันทำได้เฉพาะสถานการณ์เท่านั้น

ในตอนบทความนี้เราจะกล่าวถึงจุดเข้าเทรด ซึ่งหมายความว่า จากกระบวนการทั้งหมดเราจะได้จุดเข้าเทรดมาจากเครื่องมือทางเทคนิคที่สร้างขึ้นเพื่อวัดเทรนด์ ฉะนั้นเครื่องมือที่มีประสิทธิที่ภาพสูงสุดนั้นอยู่ใน MT4 อยู่แล้วคือ Chanel นั่นเอง

รูปที่ 1 แสดง Equidistance Chanel

ในวงกลมสีแดงคือเครื่องมือ Equidistant Chanel ซึ่งแค่เราใส่กรอบเข้าไปก็จะสามารถทำให้มันบอกได้ว่าจุดไหนควรเข้าเทรดจุดไหนไม่ควรเข้าเทรด อย่างไรก็ตามเมื่อเรารู้วิธีการระบุเทรนด์จะทำให้การเทรดง่ายก็จริง แต่การระบุเทรนด์ไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิด เพราะอย่าลืม ในบทความก่อนหน้า เราได้เตือนไปแล้วว่า

  • เราไม่ทราบว่าเทรนด์นั้นมีระยะทางยาวเท่าไหร่?
  • เราไม่รู้ว่าเทรนด์นั้นมีจุดสิ้นสุดที่เท่าไหร่?
  • เราไม่รู้ว่าเทรนด์นั้นมีจุดเริ่มต้นที่เท่าไหร่?

เพราะว่าจุดจบของอีกเทรนด์หนึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นของอีกเทรนด์หนึ่งเช่นกัน ดังนั้น ครั้งนี้เราก็จะมาใช้เครื่องมือ Equidistance ในการระบุกรอบเทรนด์ก่อนนั่นเอง

 

การใช้ Equidistance ระบุเทรนด์

การใช้ Equidistance ไม่ได้หมายความว่าจะเอาไปวางใจชอบเมื่อไหร่ก็ได้ แต่อย่างที่ได้บอกข้างต้น เราต้องรู้ก่อนว่าเทรนด์นั้นสิ้นสุดที่ไหน การจะรู้ว่าสิ้นสุดที่ไหนก็ต้องรู้ก่อนว่ามันเริ่มที่ไหน? เพราะว่ามันเป็นจุดเดียวกันอย่างไรหล่ะ!

ปรกติการสร้างความรู้ต้องอาศัยทฤษฎีมาก่อน ทฤษฎีที่ว่านั้นคือ สมมุติฐาน เช่นตัวอย่างของการล่มสลายของยุคไดโนเสาร์เกิดจากอุกาบาต เนื่องจากหลักฐานที่ว่ามีฟอสซิลแสดงว่า มีการล้มตายอย่างเฉียบพลันและเกิดการทับถมของซากในทันทีแทนที่จะตายและเน่ากองรวมกันบนดินและสลายไปแต่เกิด fossil นั่นหมายความว่าน่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรบางอย่างขึ้นมา จึงสัณนิษฐานว่า มีอุกาบาตมาชนโลก สิ่งเหล่านี้เรียกว่า ทฤษฎี จะเห็นว่าทฤษฎีไม่ใช่เรื่องจริง แต่เป็นสิ่งที่คาดการณ์ขึ้นมาอย่างมีเหตุมีผล แล้ว

ทฤษฎีของการใช้ Equidistance หล่ะ?

ทฤษฎีการใช้ Equidistance นั้นไม่ได้มาจากตัว Equidistance ตรงแต่มาจากเทรนด์ก่อน จากการที่สังเกตุว่าราคาจะวิ่งเป็นเส้นตรงเป็นกรอบและมีหลุดกรอบบ้าง แสดงว่า เทรนด์นั้นวิ่งป็นกรอบราคาในระยะความกว้างของกรอบที่ใกล้เคียงจุดคงที่จุดหนึ่ง ที่สำคัญมีจุดหมุน และมีความชัน ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฎีกราฟของผู้เขียนนั้นเป็นคนคิดค้นขึ้นเองเนื่องจากผู้เขียนเป็นนักวิจัย จึงไม่มีปรากฏในหนังสือเล่มใด จึงไม่ขออ้างอิง จะกล่าวเรื่องทฤษฎีกราฟภายหลัง หลังจากบทความการสร้างโมเดล แต่ขอกล่าวสั้น ๆ แค่นี้ไปก่อนมาพูดถึงวิธีการใช้เพียงอย่างเดียวก็พอ

การใช้ Equidistance

จากทฤษฎีกราฟ เราจะต้องใช้อย่างน้อย 3 จุด ในการระบุเทรนด์ นั่นคือ เราต้องระบุจุดจบของเทรนด์ เราต้องระบุจุดหักเหแรกของมัน และจุดดีดกลับของราคา ซึ่งจะแสดงดังตัวอย่างในภาพต่อไปนี้

รูปที่ 2 การนับจุดคาน 123

การจะตีกรอบเทรนด์ได้ต้องให้เทรนด์เก่าจบก่อน นั่นก็คือกรอบเทรนด์ขาขึ้นสีเหลือ ซึ่งมันจะจบก็ต่อเมื่อมัน Break กรอบเทรนด์สีเหลืองออกชัดเจน ในเหตุการณ์วงกลมสีฟ้า หมายเลข 2 แต่เวลาเรานับคลื่น ความแรงของคล่นจะเป็นผลมาจากจุดสวิงของแต่ละจุดนั่นคือ วงกลมที่ 1 ซึ่งอยู่ในเทรนด์เดิม และวงกลมที่ 3 ที่เกิดใหม่ ถ้าเกิดไม่เกิดเหตุการณ์สามอย่างนี้เราจะไม่สามารถตีกรอบ Equidistance ได้  หลายคนอาจจะสงสัยว่า เราจะใช้ จุดก่อนหน้าวงกลมที่ 1 คือจุดสวิง 2 ช่วงก่อนหน้าได้หรือไม่ คงต้องตอบว่าไม่ได้ เพราะจุด 2 จุดนั้นมีความไม่แน่นอนสูง ต้องรอการเกิดจุดที่ 3 อย่างเดียวเท่านั้น เมื่อเรากำหนด 3 จุดได้มันคือเทรนด์ขาลงแล้ว เราจะเทรดได้ก็ต่อเมื่อราคามันดีดขึ้นมาอีกทีหนึ่งเท่านั้น

ข้อโต้แย้ง

หลายคนแย้งว่า อย่างนี้จังหวะเทรดก็ไม่ได้แม่นมากขึ้น เพราะว่าเมื่อระยะเวลาผ่านไปจะทำให้มันเกิดโอกาสกลับตัวได้ง่าย แต่แน่นอนมันมีรายละเอียดส่วนอื่น ๆ อีกในการระบุเทรนด์แต่เราแค่ใช้จุดนี้เป็นจุดเข้าเทรดเฉย ๆ เท่านั้น และที่สำคัญอย่าลืมว่านี่เป็นแค่แบบจำลองที่ทำให้ความน่าจะเป็นของเราสูง เราไม่จำเป็นต้องเทรดบ่อย ขอแค่เข้าเป้าจัง ๆ ก็พอ ในนี้เป็นกราฟ 1H ซึ่งมีโอกาสหลายครั้งมาก ทำให้เราสามารถเลือกโอกาสเทรดได้เต็มที่เลย แค่กำไรครั้งเดียวที่เหลือก็สบายแล้วแค่ต้องการ 833 point เท่านั้น การเทรดยังมีส่วนอื่น ๆ อีกมากที่ทำให้ความน่าจะเป็นสูงขึ้น

Keywords Equidistance Chanel, ทฤษฎีกราฟ,  การเลือกจุด Swing