การจัดการการเงินในการเทรด Forex

เส้น

การจัดการการเงินในการเทรด Forex

การจัดการการเงิน หรือ Money Management เป็นเทคนิคที่มีส่วนสำคัญในองค์ประกอบของการเทรดให้ประสบความสำเร็จ ในการเทรด Forex  การจัดการการเงินถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จที่เรียกว่า 3 M คือ Mind Money Method ซึ่งคำว่า Method ก็รวมถึงการจัดการการเงินด้วย คือวิธีการที่จะจัดการกับปัญหาเรื่องความเสี่ยง

ความหมายโดยกว้างของ การจัดการการเงิน หรือ Money management คือ กระบวนการในการติดตามเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น การติดตามการลงทุน การตรวจสอบงบประมาณ การประเมินภาษี ซึ่งทั้งหมดรวมกันนี้เรียกว่า การจัดการการลงทุน

ความหมายโดยแคบของการจัดการการเงิน คือ เทคนิค กลยุทธ์ที่ใช้ทำกำไร สร้างผลตอบแทน ให้ได้มากที่สุดจากเงินที่เราใช้ลงทุน แนวคิดของเทคนิคการจัดการการเงินได้ถูกพัฒนามาเพื่อลดจำนวนต้นทุนที่เกิดขึ้นกับหน่วยผลิตภัณฑ์ที่บริษัท หรือว่าสถาบันนั้นได้ใช้จ่ายไป โดยไม่ไปกระทบกับมูลค่า หรือ คุณค่าของมัน

จะเห็นว่า ความหมายของการจัดการการเงิน จริง ๆ แล้วไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเทรด Forex เพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการบริษัทให้ได้กำไร โดยไม่ได้แยกว่า จะเป็นบริษัทที่ดำเนินการเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ หรือให้บริการสินค้าหรือบริการ ทีนี้เรามาลองดูกันในทาง Forex กันบ้างว่า เกี่ยวกับอะไรบ้าง

การจัดการการเงินใน Forex

การจัดการการเงินใน Forex  เกี่ยวข้องกับเทคนิค ในการจัดการกับปัญหา ซึ่งปัญหาของการเทรด เกี่ยวข้องกับ ความเสี่ยงและผลตอบแทน ต้นทุนที่เกิดขึ้นกับ Forex เพื่อที่จะทำให้ต้นทุนลดลง แต่คุณค่าของมันไม่เปลี่ยน ดังนั้นมันจึงเกี่ยวข้องกับ Portfolio ที่ใช้ในการลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เพื่อที่จะให้มูลค่าของพอร์ทลงทุนนั้นมากขึ้นหรือลดลงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าหากเราพิจารณาจำนวนตัวเลขเหล่านี้จะเห็นความสำคัญของการจัดการการเงินมากขึ้นในการจัดการพอร์ทลงทุนใน Forex

Money Management

การจัดการการเงินคืออะไร – ตารางผลตอบแทนและความเสี่ยง

จากภาพที่ 1 สิ่งที่ตารางจะพยายามให้เห็นคือ ถ้าหากว่าเรามีเงินลงทุน 100 บาทและเราขาดทุน 10 บาท หลายคนอาจจะบอกว่า เราขาดทุน 10 % เพราะเดิมเรามีอยู่ 100 บาทเมื่อหายไป 10 บาทจึงคิดเป็น 10 percent ซึ่งถูกต้องครับไม่ผิดแต่อย่างใด และถ้าหากว่าเราขาดทุน 20 บาท ก็คิดเป็นเงิน 20 percent ของเงินทุนทั้งหมดเช่นกัน ทีนี้เราลองมองมุมใหม่ เช่น แล้วต้องทำผลตอบแทนให้ได้กี่เปอร์เซ็นต์ ถึงจะได้เงินเท่ากับที่เราเสียไปคืนมากันหล่ะ

ถ้าหากว่าเราขาดทุน 10 บาทจากเงิน 100 บาท หมายความว่า เราขาดทุน 10 % ถ้าเราทำกำไรได้ 10 บาทจากเงิน 100 บาทเราจะได้กำไรเท่ากับ 10 % แล้วถ้าเราเหลือเงินแค่ 90 บาทหล่ะ แล้วเราต้องทำให้ได้ 100 บาท ก็คิดเป็นเงิน 10 บาทจากเงิน 90 บาท ซึ่ง 10/90 มันไม่ใช่ 10 % นะครับ มันคิดเป็น 11 % อย่างนี้ยังอาจจะดูไม่รุนแรงถูกไหมครับ แล้วถ้าหากผมบอกว่า เราขาดทุน 50 บาทจากเงิน 100 บาท เราจะเหลือเงิน 50 บาทแล้วเราจะต้องทำกี่ เปอร์เซ็นต์ถึงจะกลับไปมีเงิน เท่ากับ 100 บาทเท่าเดิมกันหล่ะครับ คำตอบคือ ต้องทำ 1 เท่าตัวเลยหล่ะครับ คือ 100 %

นั่นหมายความว่า จริง ๆ แล้ว ถ้าเราสามารถทำผลตอบแทน 100 % ได้ เราก็คงทำเงิน 100 บาทเป็น 200 บาทได้จริงไหมครับ และไม่ต้องมาทนดักดานขาดทุนจนมันเหลือ 50 บาทหรอกครับ นั่นหมายความว่า ในการลงทุนจริง ๆ สิ่งที่คุณควรจะต้องระวังให้ดีคือ การขาดทุน ถ้าคุณขาดทุน คุณจะต้องเหนื่อยเป็นสองเท่าเลยหล่ะ ขณะที่คุณทำกำไรได้ คุณก็จะเหนื่อยน้อยลงเช่นเดียวกัน เพราะว่าจำนวนเงินที่คุณสร้างขึ้นมามันจะช่วยคุณสร้างผลตอบแทนแบบทบต้นไปเรื่อย ๆ เรื่องนี้ถึงขั้นที่ว่า Albert Einstein บอกว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกเลยทีเดียว มันคือพลังทวีคูณและพลังของการลดลงของดอกเบี้ยนั่นเอง

เมื่อเห็นความสำคัญที่ว่า อ้าวแล้วอย่างนี้ ถ้าเราลงทุนแล้วผิดพลาดสุ่มสี่สุ่มห้า เราย่อมเจอกับความยากลำบากในการกู้สถานการณ์ที่จะนำเงินกลับมาเท่าเดิมจริงไหมครับ นี่แหละครับ จุดเร่มต้นของการจัดการการเงินในการลงทุน หรือ Forex มันเกี่ยวข้องกับ Port ลงทุนของเราที่เราได้ลงทุนไว้

แล้วรูปแบบการจัดการการลงทุนมีกี่แบบ

ถ้าหากเรา Focus ที่รูปแบบการลงทุน เราจะพบว่ามันมีหลายรูปแบบ รูปแบบที่เรายกตัวอย่างไปเมื่อกี๊คือการ Fixed จำนวนขาดทุนไว้ โดยในตัวอย่างต่อไปนี้ผมจะใช้ยกตัวอย่างตั้งแต่ตัวอย่างแรก ถึง ตัวอย่างสุดท้าย โดยที่เริ่มจากเงินลงทุนจำนวน 1,000 เหรียญ ใช้สำหรับการยกตัวอย่างในเทคนิคของการจัดการการเงินทุกเทคนิคดังนี้

  1. การจัดการการเงินแบบ Fixed Value หรือ ค่าคงที่ เช่น เราบอกว่า เราจะลงทุนในอัตราส่วนที่เท่ากันทุกครั้ง เช่น ถ้าหากว่าพอร์ทขาดทุนครบ 10 เหรียญ ก็จะตัดขาดทุน (1% ) เมื่อจังหวะที่ 2 คือ เงินพอร์ทลงทุนเหลือ 990 จำนวนเปอร์เซ็นต์ที่เราขาดทุนมันจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น สมมุติว่า เราขาดทุนไปเรื่อย ๆ จนเหลือ 10 บาท นั่นคือ ตานั้นเราจะขาดทุน 100 % เลยทีเดียว ซึ่งรูปแบบนี้ก็คือรูปแบบที่เรากล่าวในตัวอย่าง

การจัดการการเงินใน Forex – ความชันของการลดลงของเงินแบบ Fixed Value

  1. การจัดการการเงินแบบ Fixed Percent หรือลดลงเป็นเปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีเงินลงทุน 1,000 บาท และเราขาดทุนที่ 1 % ต่อครั่ง นั่นคือ ครั้งนั้นเราจะขาดทุนเท่ากับ 10 บาท และทำให้เราเหลือพอร์ทลงทุนมูลค่า 990 บาท ครั้งต่อไปเมื่อเราเทรด เราจะขาดทุนได้ที่ 9 บาท ซึ่งเป็นการลดขนาดการขาดทุนให้คงที่ตามสัดส่วนทุนที่เรามี เมื่อเรามีขนาดการขาดทุนเรื่อย ๆ มันก็จะขนาดการลงทุนลงเรื่อย ๆ วิธีการนี้ก็จะทำให้พอร์ทของเราไม่มีทางหมดไป เพราะว่าก็จะลดขนาดการลงทุนไปเรื่อย  ๆ เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การที่จะกลับมาได้ก็ยากเช่นเดียวกัน เพราะว่า ยิ่งเงินลดลง จำนวนเงินที่ใช้ในการลงทุนก็จะลดลงด้วย

การจัดการการเงินใน Forex – ความชันของการลดลงของเงินทุนในแบบ Fixed Ratio

  1. การจัดการการเงินแบบ Rate of Decreasing หรือการลดลงตามอัตราส่วน ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างข้อ 1 กับข้อ 2 เช่น ถ้าเรามีเงิน 1000 เหรียญ ถ้าหากว่า เราขาดทุนและมี Balance ต่ำกว่า 1000 เหรียญ แต่มากกว่า 900 เหรียญ เราจะตัดขาดทุนจำนวนหนึ่ง หรือใช้ความเสี่ยงอีกเปอร์เซ็นต์หนึ่ง แต่ถ้าหากว่า เรามียอดต่ำกว่า 900 เหรียญ เราจะใช้ความเสี่ยงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้พอร์ทไม่ขาดทุนเร็วมาก แต่ก็ไม่ช้าเท่ากับ Fixed Ratio และเวลาที่พอร์ทเพิ่มขึ้นก็จะเป็นช่วงเช่นกัน วิธีลูกผสมนี้จะเป็นเทคนิคที่ใช้ได้ดีพอสมควร และนิยมใช้เป็นอย่างมากเช่นกัน

การจัดการการเงินใน Forex – ความชันของการลดลงของเงินลงทุนในแบบ Rate of Change

  1. นอกจากการจัดการการเงินของทั้ง 3 แบบที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการจัดการการเงินตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เช่น ถ้าหากเราคาดการณ์ว่า มันมีความเสี่ยงมาก เราก็จะทำการเทรดในจำนวน Lot ที่น้อย ขณะที่ถ้าหากว่า มีโอกาสสูงที่มันจะทำให้เราทำกำไรได้ เราก็จะเทรดขนาดที่ใหญ่มากเช่นกัน ซึ่งการเทรดแบบนี้มันแทบจะเป็นการเทรดในอุดมคติและคิดว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเทรด ก็ได้ แต่ ปัญหาของมันคือ แล้วเราจะรู้หรือว่า ตอนนี้มันเสี่ยงมากหรือเสี่ยงน้อยกว่าครั้งใด ๆ ในการเทรด ซึ่งนี้เป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ในการเทรด เพราะว่า ไม่มีใครที่จะสามารถบอกอนาคตได้

การจัดการการเงินใน forex – ความชันในการลดลงของพอร์ทลงทุนในรูปแบบของตามสัดส่วนความเสี่ยง

เทคนิคการบริหารจัดการพอร์ทลงทุนใน Forex ทั้ง 4 วิธีสามารถหาอ่านได้ในหนังสือ Trading Game Playing by the Numbers to Make MILLIONS ของ Ryan Jones ซึ่งถือว่า เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และสามารถนำไปใช้ในการลงทุนได้เป็นอย่างดี นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แล้ว ไม่ได้หมายความว่า เทคนิคที่กล่าวทั้งหมดเป็นการจัดการการเงินใน Forex การจัดการการเงินใน Forex ยังรวมถึง การลดต้นทุนต่าง ๆ หรือการเลือกผลิตภัณฑ์การเงินก็เกี่ยวข้องกับการจัดการการเงินใน Forex ทั้งสิ้น

เส้น